เรือดำน้ำชั้นดอลฟิน
ดอลฟิน เรือของกองทัพเรืออิสราเอล (ค.ศ. 2010)
| |
ภาพรวมชั้น | |
---|---|
ผู้สร้าง: | โฮวัลด์ทสแวร์เค-ด็อยท์เชอแวฟท์ (HDW) |
ผู้ใช้งาน: | กองทัพเรืออิสราเอล |
ก่อนหน้าโดย: | ชั้นแกล |
ราคา: | 600 ล้านยูโร (ค.ศ. 2016) ต่อหน่วย |
เสร็จแล้ว: | |
ใช้การอยู่: | 5 ลำ (ติดตั้งอีก 1 ลำ) (สั่งเพิ่ม 3 ลำ)[1][2] |
ลักษณะเฉพาะ | |
ประเภท: | เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): |
|
ความยาว: |
|
ความกว้าง: | 6.8 ม. (22 ฟุต) |
กินน้ำลึก: | 6.2 ม. (20 ฟุต) |
ระบบขับเคลื่อน: | ดีเซลไฟฟ้า, 3 ดีเซล, 1 เพลา, 4,243 แรงม้าเพลา (3,164 กิโลวัตต์) |
ความเร็ว: |
|
ทดสอบความลึก: | อย่างน้อย 350 ม. (1,150 ฟุต) |
อัตราเต็มที่: | เพิ่มเติม 35 + 10 นาย |
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: | ระบบการรบเอสทีเอ็น แอตลัส ไอเอสยูเอส 90-55 |
ยุทโธปกรณ์: |
|
หมายเหตุ: | เว้นแต่จะระบุไว้ คุณสมบัติที่ระบุไว้เป็นของรุ่นดั้งเดิมที่ไม่รองรับระบบขับเคลื่อนที่ไม่ใช้อากาศจากภายนอกในคริสต์ทศวรรษ 1990 |
เรือดำน้ำชั้นดอลฟิน (ฮีบรู: הצוללות מסדרת דולפין; อังกฤษ: Dolphin-class submarine) เป็นเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าที่สร้างโดยโฮวัลด์ทสแวร์เค-ด็อยท์เชอแวฟท์ อาเก (HDW) ในคีล ประเทศเยอรมนี สำหรับกองทัพเรืออิสราเอล[4] เรือลำแรกของชั้นนี้มีพื้นฐานมาจากเรือดำน้ำชั้น 209 ของเยอรมันที่ส่งออกเท่านั้น แต่มีการปรับเปลี่ยนและขยายขนาด ซึ่งเรือดำน้ำชั้นย่อยอย่างดอลฟิน 1 มีขนาดใหญ่กว่าแบบ 212 ของกองทัพเรือเยอรมันเล็กน้อยในด้านความยาวและขนาด เรือดำน้ำที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนที่ไม่ใช้อากาศจากภายนอก (AIP) รุ่นใหม่สามลำมีลักษณะคล้ายกับเรือดำน้ำแบบ 212 ในด้านความทนทานใต้น้ำ แต่ยาวกว่า 12 เมตร (39 ฟุต) หนักเกือบ 500 ตันในการทำให้เคลื่อนที่ใต้น้ำ และมีลูกเรือที่มากกว่าทั้งแบบ 212 หรือแบบ 214
ส่วนชั้นดอลฟิน 2 เป็นเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดที่สร้างขึ้นในประเทศเยอรมนี นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[3] ซึ่งเรือดำน้ำชั้นดอลฟินเป็นยานพาหนะเดี่ยวที่ราคาแพงที่สุดในกองกำลังป้องกันอิสราเอล[5] เรือดำน้ำชั้นดอลฟินได้เข้ามาแทนที่เรือดำน้ำชั้นแกลรุ่นเก่า ซึ่งเข้าประจำการในกองทัพเรืออิสราเอลตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เรือดำน้ำชั้นดอลฟินแต่ละลำสามารถบรรทุกตอร์ปิโดและขีปนาวุธร่อนติดเรือดำน้ำ (SLCM) ป๊อปอายเทอร์โบรวมกันได้มากถึง 16 ลูก[6] ขีปนาวุธร่อนมีระยะอย่างน้อย 1,500 กม. (930 ไมล์)[7] และเชื่อกันอย่างแพร่หลาย[8][9] ว่าได้ติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ 200 กิโลตันที่บรรจุพลูโทเนียมได้ถึง 6 กิโลกรัม (13 ปอนด์)[10][11] หากเป็นจริงอย่างหลังนี้ ก็จะช่วยให้อิสราเอลสามารถใช้การตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ไกลฝั่งได้[12][13][14][15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Eshel, Tamir (6 May 2011). "Israel to Receive a Third Enhanced Dolphin Submarine". Defense Update. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
- ↑ "Sixth Submarine: "The Contract Continues"". israeldefense.com. 31 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2013. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Cavas, Christopher P. (15 August 2014). "Israel's Deadliest Submarines Are Nearly Ready". Intercepts. Defense News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2014. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ "Israel's Navy Receives the Fifth Dolphin Submarine". Defense-Update.com. 29 April 2013. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ "'Spy tool': Commander touts strategic role of new Israeli submarines". World Tribune. 5 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2014. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ Friedman, Norman (2006). The Naval Institute guide to world naval weapon systems. Naval Institute Press. p. 505.
- ↑ Bergman, Ronen (3 June 2012). "Report: Dolphin subs equipped with nuclear weapons". ynetnews.com. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ "International and Professional Press about the new Dolphin Submarines". สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ "Popeye Turbo". GlobalSecurity.org. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ Mahnaimi, Uzi; Campbell, Matthew (18 June 2000). "Israel Makes Nuclear Waves With Submarine Missile Test". Sunday Times. London.
- ↑ Cirincione, Joseph; Wolfsthal, Jon B.; Rajkumar, Miriam (2005). Deadly arsenals: nuclear, biological, and chemical threats. Carnegie Endowment. pp. 263–4.
- ↑ Plushnick-Masti, Ramit (25 August 2006). "Israel Buys 2 Nuclear-Capable Submarines". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ Ben-David, Alon (1 October 2009). "Israel seeks sixth Dolphin in light of Iranian 'threat'". Jane's Defence Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
- ↑ Mahnaimi, Uzi (30 May 2010). "Israel stations nuclear missile subs off Iran". The Sunday Times. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2011. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- FAS: Israel: Submarines