เท้ายายม่อมตัวเมีย
หน้าตา
เท้ายายม่อมตัวเมีย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Lamiaceae |
สกุล: | Clerodendrum |
สปีชีส์: | C. petasites |
ชื่อทวินาม | |
Clerodendrum petasites' |
ระวังสับสนกับ เท้ายายม่อม
เท้ายายม่อมตัวเมีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Clerodendrum petasites S. Moore) มีชื่ออื่น ๆ ว่า เท้ายายม่อม, เท้ายายม่อมดอกขาว, พญารากเดียว, ไม้เท้าฤๅษี, ปู้เจ้าหายใจไม่รู้ขาด หรือไม้เท้ายายม่อม เป็นพืชในวงศ์กะเพรา (Lamiaceae) ลำต้นตรง ไม่ค่อยมีกิ่งก้าน ใบเดี่ยว ออกตามข้อ ดอกออกเป็นช่อ โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด สีขาว ผลกลม สุกเป็นสีดำ พืชชนิดนี้ เป็นพืชคนละชนิดกับเท้ายายม่อม (Tacca leontopetaloides) ที่มีหัวซึ่งนำไปทำเป็นแป้งเท้ายายม่อม แต่รากของพืชชนิดนี้มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้และถอนพิษ และใบสามารถนำไปสูบแทนกัญชาได้[1]
อ้างอิง
[แก้]- ชยันต์ พิเชียรสุนทร และวิเชียร จีรวงส์. คู่มือเภสัชกรรมไทยเล่ม ๕ คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม.อมรินทร์. 2548. หน้า 28