เตโตรมิโน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตโตรมิโนอิสระทั้งห้ารูป

เตโตรมิโน (อังกฤษ: Tetromino) เป็นรูปเรขาคณิตจากรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสี่รูปติดต่อกัน[1][2] เป็นโพลิโอมิโนชนิดหนึ่ง มีทั้งหมด 7 เตโตรมิโน ถ้าไม่นับรูปที่เกิดจากการหมุน โพลิคิวบ์หรือทรงที่เกิดจากลูกบาศก์ติดต่อกันสี่ลูกจะเรียกว่า เตตระคิวบ์ (อังกฤษ: Tetracube) ซึ่งจะเพิ่มเติมจากเตโตรมิโนสามอัน ซึ่งทั้งสามเกิดจากหนึ่งลูกบาศก์บนไตรโอมิโนหัก

เตโตรมิโนชนิดข้างเดียวได้ถูกใช้ในวิดีโอเกมเตตริส ซึ่งในเกมจะเรียกว่า tetrimino[3]

เตโตรมิโน[แก้]

อิสระ[แก้]

จะมีทั้งหมดห้าเตโตรมิโนอิสระ คือเตโตรมิฌนที่หมุน, ย้าย และสะท้อนได้ ได้แก่รูป I, O, Z, T และ L

ข้างเดียว[แก้]

คือเตโตรมิโนที่หมุนและย้ายได้เท่านั้น มีทั้งหมด 7 รูปแบ่งเป็น

เตโตรมิโนที่สมมาตร
  • รูป I
  • รูป O
  • รูป T
เตโตรมิโนจากการสะท้อน
  • รูป Z
  • รูป S เกิดจากการสะท้อนรูป Z
  • รูป L
  • รูป J เกิดจากการสะท้อนรูป L

คงที่[แก้]

คือเตโตรมิโนที่เคลื่อนย้ายได้อย่างเดียว รวมทั้งหมด 19 ชิ้น ได้แก่หนึ่งชิ้นจากการหมุนรูป O, สองชิ้นจากการหมุนรูป I, S, Z, และสี่ชิ้นจากการหมุนรูป T, J, L

เตตระคิวบ์[แก้]

จะเพิ่มอีกสามอันคือ

  • Right screw
  • Left screw
  • Branch

อ้างอิง[แก้]

  1. Golomb, Solomon W. (1994). Polyominoes (2nd ed.). Princeton, New Jersey: Princeton University Press. ISBN 0-691-02444-8.
  2. Redelmeier, D. Hugh (1981). "Counting polyominoes: yet another attack". Discrete Mathematics. 36: 191–203. doi:10.1016/0012-365X(81)90237-5.
  3. "About Tetris", Tetris.com. Retrieved 2014-04-19.