เซนต์แอนดรูส์ (สนามกีฬา)
พิกัด | 52°28′32.53″N 1°52′05.48″W / 52.4757028°N 1.8681889°W |
---|---|
ความจุ |
|
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | 1906 |
ปรับปรุง | 1993–1999 |
เซนต์แอนดรูส์ (อังกฤษ: St. Andrews) เป็นสนามฟุตบอลในเขตบอร์เดสลีย์ของเมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมซิตีมากว่าศตวรรษ ในปี 2018 ถึง 2021 สนามแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ St. Andrew's Trillion Trophy Stadium[2]
สร้างขึ้นและเปิดในปี 1906 เพื่อแทนที่สนาม มันตซ์ สทรีท์ ซึ่งมีขนาดเล็กเกินไปที่จะตอบสนองความต้องการของสโมสร สนามเซนต์แอนดรูส์ดั้งเดิมสามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 75,000 คน แต่ในระหว่างปี 1906 ถึง 1939 มีการก่อสร้างจำนวนมากเกิดขึ้นภายในสนาม และความจุอย่างเป็นทางการกำหนดไว้ที่ 68,000 คน เมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 1938-39 ในศึกเอฟเอคัพปี 1939 ที่เสมอกับเอฟเวอร์ตัน มีการบันทึกการเข้าชมซึ่งบันทึกไว้หลากหลาย เช่น ผู้ชม 66,844 คน หรือ 67,341 คน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เซนต์แอนดรูส์ได้รับความเสียหายจากระเบิด[3] ในคริสต์ทศวรรษ 1950 สโมสรได้ติดตั้งไฟฟลัดไลต์ และมีหลังคาเหนือระเบียงที่เปิดโล่ง แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
ประวัติ
[แก้]อดีตสนาม
[แก้]ในอดีต สมอลล์ฮีธอัลลิอันซ์ เป็นชื่อเดิมของสโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมซิตี พวกเขาเล่นในบ้านนัดแรกในสนาม Arthur Street ในย่าน Bordesley Green ของเมืองเบอร์มิงแฮม ใกล้กับสถานที่ที่จะสร้างเซนต์แอนดรูส์ ในปี 1876 สโมสรได้ย้ายไปสนามที่มีรั้วกั้นบนถนนเลดีพูล เขตสปาร์กบรูค เป็นการชั่วคราวโดยจุผู้ชมได้ประมาณ 3,000 คน เนื่องจากสนามถูกปิด จึงต้องเสียค่าเข้าชม ทำให้ความสนใจในทีมมีเพิ่มขึ้น และอีกหนึ่งปีต่อมาพวกเขาก็ย้ายสนามอีกครั้ง คราวนี้ไปที่สนามเช่าในสมอลล์ฮีธ ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของถนนสายหลักสู่คอเวนทรี[4] สนามแห่งนี้ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ Muntz Street เมื่อเปิดครั้งแรกสามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 10,000 คน[4][5] ในช่วงหลายปีผ่านไปมีการยกพื้นระเบียงให้สูงขึ้น ซึ่งเพิ่มความจุให้จุผู้ชมได้ประมาณ 30,000 คน แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
คริสต์ศตวรรษที่ 21
[แก้]ด้วยเหตุผลด้านผู้สนับสนุน สนามจึงเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น St. Andrew's Trillion Trophy Stadium ในเดือนมิถุนายน 2018[2]
แหล่งข้อมูล
[แก้]- Adams, Duncan (2007). A fan's guide to football grounds: England and Wales. Hersham: Ian Allan. ISBN 978-0-7110-3268-2.
- Inglis, Simon (1996) [1985]. Football Grounds of Britain (3rd ed.). London: CollinsWillow. ISBN 0-00-218426-5.
- Jawad, Hyder (2006). Keep Right On: The Official Centenary of St. Andrew's. Liverpool: Trinity Mirror Sport Media. ISBN 978-1-905266-16-6.
- Lewis, Peter, บ.ก. (2000). Keeping right on since 1875. The Official History of Birmingham City Football Club. Lytham: Arrow. ISBN 1-900722-12-7.
- Matthews, Tony (1995). Birmingham City: A Complete Record. Derby: Breedon Books. ISBN 978-1-85983-010-9.
- Matthews, Tony (October 2000). The Encyclopedia of Birmingham City Football Club 1875–2000. Cradley Heath: Britespot. ISBN 978-0-9539288-0-4.
- Rippon, Anton (2005). Gas Masks for Goal Posts. Football in Britain during the Second World War. Stroud: Sutton. ISBN 0-7509-4030-1.
- Rollin, Jack (2005). Soccer at War 1939–45. London: Headline. ISBN 978-0-7553-1431-7.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "New to St. Andrew's?". Birmingham City F.C. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
- ↑ 2.0 2.1 "St. Andrew's and Wast Hills naming rights". Birmingham City F.C. 14 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 7 April 2020.
"Birmingham City: St Andrew's renamed 'St Andrew's Trillion Trophy Stadium'". BBC Sport. 14 June 2018. สืบค้นเมื่อ 14 July 2018. - ↑ Inglis (1996), p. 45.
- ↑ 4.0 4.1 Beauchampé, Steve (26 December 2006). "100 years of St. Andrews – Part One". The Stirrer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2008. สืบค้นเมื่อ 1 December 2008.
- ↑ Matthews (1995), p. 57.