เกาะมีเกอลง
ชื่อท้องถิ่น: Île Miquelon | |
---|---|
เกาะมีเกอลงตอนกลาง ทางใต้ของเกาะเลอกัป และทางเหนือของเกาะล็องกลาด | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | มหาสมุทรแอตแลนติก |
พิกัด | 47°03′26.1″N 56°20′19.2″W / 47.057250°N 56.338667°W |
กลุ่มเกาะ | แซ็งปีแยร์และมีเกอลง |
แหล่งน้ำใกล้เคียง | อ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์ |
พื้นที่ | 110 ตารางกิโลเมตร (42 ตารางไมล์) |
จุดสูงสุด | มอร์นเดอลากร็องด์มงตาญ (240 ม. (790 ฟุต)) |
การปกครอง | |
อาณานิคมโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส | แซ็งปีแยร์และมีเกอลง |
เทศบาลใหญ่สุด | มีเกอลง-ล็องกลาด |
ประชากรศาสตร์ | |
เดมะนิม | ชาวมีเกอลง |
ประชากร | 626 คน (ค.ศ. 2012) |
ภาษา | ฝรั่งเศส |
ข้อมูลอื่น ๆ | |
เว็บไซต์ทางการ | http://www.miquelon-langlade.com |
มีเกอลง (ฝรั่งเศส: Île Miquelon) หรือที่รู้จักในชื่อ กร็องด์มีเกอลง (ฝรั่งเศส: Grande Miquelon) เป็นหนึ่งในหมู่เกาะของกลุ่มเกาะแซ็งปีแยร์และมีเกอลง ซึ่งเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ห่างจากเกาะนิวฟันด์แลนด์ 22 กม. (14 ไมล์) ทั้งนี้ มีเกอลงตั้งอยู่ระหว่างเกาะเลอกัปทางทิศเหนือ และเกาะล็องกลาด (เรียกอีกอย่างว่าเปอติตมีเกอลง) ทางทิศใต้[2]
ภูมินามวิทยา
[แก้]ชื่อมีเกอลงได้รับการอ้างว่าแผลงมาจากชื่อเล่นของชื่อ "มิเกล" (Mikel) ในภาษาบาสก์ ใน ค.ศ. 1579 ชื่อ มีเกอตง และ มีแกล ได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกตามการระบุโดยนักบินทางทะเลที่ชื่อมาร์แต็ง เดอ โอยาร์ซาบาล ซึ่งเป็นชาวบาสก์เชื้อสายฝรั่งเศส โดยชื่อนี้ค่อย ๆ วิวัฒนาการขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเป็น มีกลง และในที่สุดเป็น มีเกอลง (มิเกลูเน ในภาษาบาสก์)[1][3]
ภูมิศาสตร์
[แก้]แนวชายฝั่งของมิเกอลงมีทั้งหาดทรายและกรวดจำนวนมากที่ล้อมรอบลากูน เช่นเดียวกับหน้าผาหินสูงตระหง่านถึง 25 ม. (82 ฟุต) บนชายฝั่งตะวันออก ในทางธรณีวิทยาของมันประกอบด้วยหินภูเขาไฟยุคหลังยุคออร์โดวิเชียนที่เปลี่ยนรูปเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นหินไรโอไลต์ที่มีหินกรวดเหลี่ยม, หินแอนดีไซต์ และหินบะซอลต์ ส่วนทางตอนใต้ของเกาะมีเกอลงคือกร็องบาราชัว ที่เป็นลากูนขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของแมวน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพอื่น ๆ ตลอดจนเกาะมีเกอลงยังเป็นจุดหมายปลายทางที่รู้จักกันดีสำหรับการดูนกเช่นกัน[2]
เกาะมีเกอลงเชื่อมต่อกับเกาะเลอกัปด้วยสันดอนเชื่อมเกาะยาว 3 กม. (1.9 ไมล์) และกว้างน้อยกว่า 100 ม. (330 ฟุต) ส่วนเกาะมีเกอลงทางใต้เชื่อมต่อกับเกาะล็องกลาดด้วยคอคอดที่ก่อตัวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งมีความยาว 12 กม. (7.5 ไมล์) และกว้าง 6 ถึง 100 ม. (20 ถึง 328 ฟุต)[1]
ขณะที่เกาะแซ็งปีแยร์อยู่ตรงข้ามช่องแคบที่อันตรายและมีหมอกยาว 6 กม. (3.7 ไมล์) ซึ่งชาวประมงเรียกว่า "ปากนรก" (ฝรั่งเศส: La Gueule de L'Enfer) ซึ่งเป็นที่ตั้งของซากเรืออับปางกว่า 600 ลำ[1][4]
ภูมิอากาศ
[แก้]สภาพภูมิอากาศเป็นแบบฉบับของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและกระแสน้ำแลบราดอร์โดยมีพายุและลมแรงกว่า 60 กม./ชม. (37 ไมล์/ชม.) บ่อยครั้งเป็นเวลาเกือบหกเดือนของปี ส่วนฤดูร้อนมีอากาศเย็นและมีหมอกหนา อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 5.5 องศาเซลเซียส (41.9 องศาฟาเรนไฮต์)[2]
ประชากร
[แก้]เกาะมีเกอลงประกอบด้วยเทศบาลมีเกอลง-ล็องกลาด ซึ่งมีประชากร 626 คนใน ค.ศ. 2012 ส่วนท่าอากาศยานมีเกอลงให้บริการประชาชนด้วยเครื่องบินเทอร์โบหรือเครื่องบินไอพ่นขนาดเล็ก ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองที่เรียกว่ามีเกอลง ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะใกล้กับเกาะเลอกัป ผู้อยู่อาศัยรู้จักกันในฐานะชาวมีเกอลง และเป็นพลเมืองของฝรั่งเศส[5]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ชายทะเลมีเกอลง
-
ชายฝั่งทางเหนือของเกาะมีเกอลง ใกล้กับเกาะเลอกัป
-
หมู่บ้านมีเกอลงที่มองจากทิศตะวันตก
-
บ้านในหมู่บ้าน
-
หลักไมล์สู่มีเกอลง
-
ท่าเรือมีเกอลง
-
อนุสรณ์สถานอคาเดีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 St. Pierre & Miquelon Business Law Handbook: Strategic Information and Laws (ภาษาอังกฤษ). International Business Publications. p. 26. ISBN 9781438771090. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Bird, Eric. Encyclopedia of the World's Coastal Landforms (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. pp. 163–165. ISBN 9781402086380. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
- ↑ "1579 – Voyages Avantureux, Martin de Hoyarçabal". Grand Colombier. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
- ↑ Les Français peints par eux-mêmes: encyclopédie morale du dix-neuvième siècle (ภาษาฝรั่งเศส). L. Curmer. 1840. p. 640. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
- ↑ Edward, David A. O.; Lane, Robert (2013). Edward and Lane on European Union Law (ภาษาอังกฤษ). Edward Elgar Publishing. p. 81. ISBN 9780857931054. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.