เกลาดิอุสประกาศเป็นจักรพรรดิ
เกลาดิอุสประกาศเป็นจักรพรรดิ | |
---|---|
ศิลปิน | ชาร์ล เลอแบล |
ปี | ค.ศ. 1886 |
สื่อ | ภาพวาดสีน้ำมัน |
มิติ | 146.5 cm × 113.4 cm (57.7 นิ้ว × 44.6 นิ้ว) |
สถานที่ | เอกอลเดโบซาร์ ปารีส |
เกลาดิอุสประกาศเป็นจักรพรรดิ (ฝรั่งเศส: Claude proclamé empereur) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนผ้าใบวาดโดยชาร์ล เลอแบล ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่เอกอลเดโบซาร์หรือโรงเรียนวิจิตรศิลป์ชั้นสูงแห่งชาติในกรุงปารีส
เรื่องกำหนดไว้สำหรับพรีเดอรอมใน ค.ศ. 1886 เป็นเหตุการณ์ที่มีการประกาศให้เกลาดิอุสเป็นจักรพรรดิในคริสตศักราชที่ 41 ตามที่ได้รับการบรรยายไว้ในชีวิตของซีซาร์ (เกลาดิอุส, 10) ของซุเอโตนิอุส[1] เลอแบลชนะผลงานนี้ ทำให้เขาได้รับรางวัลพักที่วิลลาเมดีชีในโรม
บริบททางประวัติศาสตร์
[แก้]เรื่องที่กำหนดให้ผู้เข้าแข่งขันวาดคือ การประกาศเป็นจักรพรรดิโรมันของเกลาดิอุส ในวันที่ 24 มกราคม ปีที่ 41 ก่อนคริสต์ศักราช อ้างตามคำบรรยายของซุเอโตนิอุส[2] หลังเหตุการณ์ปลงพระชนม์จักรพรรดิกาลิกุลาโดยฝีมือของกองทหารไปรโตริอานี ทหารคนหนึ่งพบเกลาดิอุส สมเด็จอาของจักรพรรดิซ่อนตัวอยู่หลังผ้าม่านโดยเห็นพระบาทของพระองค์ยื่นออกมาจึงดึงตัวพระองค์ออกมา และจำพระองค์ได้ ขณะที่เกลาดิอุสทรงร้องขอชีวิต แต่ทหารก็ประกาศให้พระองค์เป็นจักรพรรดิ[3]
เรื่องช่วงนี้ในมุมมองของโยเซพุสมีความแตกต่างจากซุเอโตนิอุส ที่เย้ยหยันเกลาดิอุสว่าพยายามซ่อนตัวแต่พระบาทยื่นออกมา ในตอนนั้นกาลิกุลาเพิ่งถูกลอบปลงพระชนม์โดยไปรโตริอานีและกำลังเดินทางไปสู่พระราชวังของพระองค์ ท่ามกลางความสับสนวุ่นวาย ชาวเยอรมันซึ่งเป็นราชองครักษ์ของจักรพรรดิกาลิกุลาทราบข่าวการสวรรคตของพระองค์และไม่ได้มีส่วนร่วมในแผนการดังกล่าว ได้บุกเข้ามาและสังหารวุฒิสมาชิกที่เดินเข้ามาในสถานที่เกิดเหตุอย่างไม่เลือกหน้า ในช่วงนี้ เกลาดิอุสยืนอยู่บนที่สูงไม่กี่ขั้นและซ่อนพระองค์เองในความมืด กราตุสหนึ่งในทหารประจำพระราชวังเห็นพระองค์และไม่รู้ว่าเป็นใครเพราะเงามืด ได้จับกุมพระองค์และจำพระองค์ได้"นั่น แกร์มานิกุส"[4] เขาพูดต่อหน้าทหารที่ตามเขามา "ตั้งเขาเป็นประมุขของพวกเรากันเถอะ" เกลาดิอุสหวาดกลัวว่าจะต้องถูกสังหารเหมือนกาลิกุลา พระราชนัดดา จึงร้องขอชีวิต กราตุสจับพระหัตถ์ขวาของพระองค์ไว้ และประกาศต่อพระพักตร์ว่า จักรวรรดิจะกลับมาสู่พระองค์[5]
คำอธิบายงานจิตรกรรม
[แก้]ชาร์ล เลอแบลจำถึงเหตุการณ์ตามที่ซุเอโตนิอุสกล่าวว่า เกลาดิอุสซ่อนตัวในผ้าม่านไม่มิดชิด ซึ่งเป็นฉากที่ลอว์เรนซ์ อัลมา-ทาเดอมาจิตรกรชาวอังกฤษเคยบรรยายไว้ โดยบรรยายถึงกราตุสที่จำเกลาดิอุสได้และจับพระหัตถ์ของพระองค์ มือที่กำแน่นของพวกเขาวางอยู่บนแกนแนวตั้งตรงกลางของภาพวาด ซึ่งแยก กราตุสกับเกลาดิอุส ออกจากกันเป็นสองทัศนคติที่ตรงกันข้าม ทางด้านขวา เกลาดิอุสหน้าซีดและอ่อนเปลี้ยด้วยความกลัว และดันตัวเองเข้ากับผนัง เสื้อคลุมตอกาถูกปลดออกครึ่งหนึ่งตอกย้ำถึงความหวาดกลัว สายตาเขาเบือนหน้าหนีจากทหาร ทางด้านซ้าย กราตุสกระตือรือร้นและยกแขนขึ้น ตะโกนเรียกทหารคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นชาวเยอรมันตัวสูงอยู่เบื้องหน้า และเบื้องหลังมีกลุ่มคนที่สับสนสวมหมวกเกราะเหล็กและมือ ทหารที่นั่งอยู่ที่พื้นขั้นบันไดหันหน้าไปหาเกลาดิอุส โดยวางไว้ที่มุมขวาล่างเพื่อปรับสมดุลองค์ประกอบของภาพวาด การจัดองค์ประกอบแนวตั้งนี้เป็นเรื่องปกติของฉากฆาตกรรมในกรังด์ปรีซ์[6] ตามคำบรรยายของอเล็กซิส เลอไมสเตร์ ระบุว่าตัวแบบของเกลาดิอุสคือ เกอลอน ผู้มีชื่อเสียงจากการสวมเสื้อคลุมตอกา[7]
เช่นเดียวกับภาพวาดประวัติศาสตร์อื่น ๆ การค้นหาความถูกต้องแม่นยำอยู่ที่การนำเสนอเครื่องแต่งกายและอาวุธอย่างระมัดระวัง เกลาดิอุสสวมเสื้อคลุมตอกาแบบของวุฒิสมาชิก สีขาวแถบสีม่วง เกอลอนเป็นคนที่เลอแบลเอามาเป็นแบบ มีชื่อเสียงด้านการสวมตอกา แต่บางส่วนก็ถูกเอาออกจากภาพวาด[7] กราตุสสวมเสื้อเกราะส่วนบนที่มีเกล็ด (ลอริคา สควอมาตา) และดาบที่สะโพกขวา (การสวมดาบทางด้านซ้ายถือเป็นข้อผิดพลาดทั่วไปในการออกแบบสมัยใหม่) ทหารที่นั่งสวมคาลิกาที่ทำจากแถบหนังและสวมเกราะแบ่งส่วน (ลอริคา เซ็กเมนตาตา) ชาวเยอรมันมีภาพลักษณ์แบบเหมารวมของชาวอนารยชน: ผมยาวสีแดงมัดเป็นหางม้า ลำตัวเปลือยเปล่า ผ้าเตี่ยวหนังสัตว์ ดาบยาวและขวาน
ผลตอบรับ
[แก้]ผลงานนี้สร้างขึ้นเพื่อชิงรางวัลพรีเดอรอมในการวาดภาพและได้รับรางวัลชนะเลิศ[1] เลอแบลชนะผลงานนี้ ทำให้เขาได้รับรางวัลพักที่วิลลาเมดีชีในโรม
การจัดแสดงนิทรรศการ
[แก้]ภาพวาดถูกนำเสนอในนิทรรศการ
- ธันวาคม ค.ศ. 2018 – มีนาคม ค.ศ. 2019 พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ลียง - ภายใต้ชื่อ "เกลาดิอุส จักรพรรดิผู้มีโชคชะตาอันเป็นเอกลักษณ์"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Base Joconde: อ้างอิงหมายเลข. 50510011499, กระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส. (ในภาษาฝรั่งเศส)
- ↑ ข้อผิดพลาด Lua ใน package.lua บรรทัดที่ 80: module 'Module:month translator/data' not found
- ↑ Suétone, Claude, 10
- ↑ พระนามต่อท้ายของเกลาดิอุส ซึ่งพระนามเหมือนกับพระเชษฐา
- ↑ โยเซพุส, Antiquités judaïques, XIX, 217 et suiv.
- ↑ François Chausson, Geneviève Galliano et Ferrante Ferranti (Photographe), Claude, Lyon, 10 avant J.-C. - Rome, 54 après J.-C., un empereur au destin singulier, Lienart / Musée des beaux-arts de Lyon, 2018, p. 113
- ↑ 7.0 7.1 Alexis Lemaistre, L'Ecole des Beaux-Arts, dessinée et racontée par un élève, Paris, Firmin_Didot, 1889, p. 308