ข้ามไปเนื้อหา

อาร์เธอร์ โอคลีย์ โคลท์แมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตเดโกบนอาคารโอเรียนทอลในกัวลาลัมเปอร์ ผลงานออกแบบของโคลท์แมน

อาร์เธอร์ โอคลีย์ โคลท์แมน (อังกฤษ: Arthur Oakley Coltman หรือ A.O. Coltman, 1894 – 1961)[1][2] เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษที่ทำงานในมาลายา เป็นเวลา 32 ปี ในฐานะผู้จัดการสำนักงานสถาปนิก บูที เอ็ดเวิร์ดส์ แอนด์ พาร์ทเนอส์ เขาเดินทางถึงมาลายาในปี 1925 และเกษียณอายุงานในปี 1957[3]

เขาเป็นผู้ออกแบบสิ่งปลูกสร้างสถาปัตยกรรมอาร์ตเดโกชิ้นสำคัญหลายชิ้นในกัวลาลัมเปอร์ เช่นหอนาฬิกา, อาคาร OCBC, อาคารโอเรียนทอล, อาคารอังโกล-โอเรียนทอลใกล้กับจัตุรัสเมอร์เดกา, อาคารลีรับเบอร์, อาคารศูนย์วิจัยยางมาลายา, และโรงภาพยนตร์โอเดียน ทั้งหมดอยู่ในกัวลาลัมเปอร์[4]

ผลงาน

[แก้]

ผลงานอาคารที่เขาออกแบบ เช่น

อาคารโอเรียนทอล

[แก้]

อาคารโอเรียนทอล (อังกฤษ: Oriental Building) เป็นอาคารสูงห้าชั้น ความสูง 82 ฟุต ตั้งอยู่บนถนนตูนเปอรักหรือชื่อเดิม ถนนชวา ในอดีตเคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในกัวลาลัมเปอร์[5] ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของเรดีโอมาลายาถึงปี 1968[6][7] ตามด้วยเป็นสถานกงสุลใหญ่อินเดีย (High Commissioner of India),[8] สำนักงานของรัฐบาล,[9] และสำนักงานมาเลเซียของบริษัท Life Insurance Corporation of India[10][11]

ในวันที่ 19 กันยายน 1936 เกิดแผ่นดินไหวในสุมาตราเหนือ ที่ซึ่งแรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงใน FMS และก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคาร มีรายงานผนังของชั้นสามมีรอยแตกร้าว[12]

อาคารลีรับเบอร์

[แก้]

อาคารลีรับเบอร์ (อังกฤษ: Lee Rubber Building) หรือ อาคารนันยี (อังกฤษ: Nan Yi Building; จีน: 南益大厦) ตั้งอยู่ในย่านไชน่าทาวน์ของกัวลาลัมเปอร์ มีความสูงสี่ชั้นและสร้างขึ้นในต้นทศวรรษ 1930 ให้กับบริษัทยางลี (Lee Rubber Company) บริษัทมูลค่าหลายล้านดอลล่าร์ของ ลี กง เชียน (1893–1967) นักธุรกิจชาวจีนจากโยโฮร์

อาคารตั้งอยู่บนหัวมุมถนนตุน เอช เอส ลี (Jalan Tun H. S. Lee) กับ ถนนฮัง เลอกีร์ (Jalan Hang Lekir) ในกัวลาลัมเปอร์[13] เมื่อสร้างเสร็จ อาคารเป็นอาคารที่สูงที่สุดในกัวลาลัมเปอร์[14]

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อาคารถูกใช้เป็นสำนักงานของ Kempeitai (ตำรวจลับญี่ปุ่น) หลังสิ้นสุดสงคราม อาคารถูกใช้งานเป็นสำนักงานของโอซีบีซี และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของร้านสาขาของพ็อพพูพาร์บุ๊กสตอร์, ร้านพีเทอร์ เฮอ (Peter Hoe shop) และสถาบันกวดวิชาคัสทูรี (Kasturi Tuition Centre)[15]

โรงภาพยนตร์โอเดียน

[แก้]

โรงภาพยนตร์โอเดียน (Odeon Cinema, จีน: 奥迪安戏院) ตั้งอยู่บนหัวมุมถนนตวนกู อับดุล รามัน กับถนนดังวังงี (Jalan Dang Wangi) ในกัวลาลัมเปอร์[16] โรงภาพยนตร์โอเดียนสร้างขึ้นในปี 1936 โดยองค์การคาเตย์ (Cathay Organization) ปัจจุบันเป็นอาคารยุคอาณานิคมไม่กี่หลังที่ยังหลงเหลือถึงปัจจุบันในกัวลาลัมเปอร์ ในปี 2011 อันเตนนาเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (Antenna Entertainments) เข้าใช้งานพื้นที่และเปิดเป็นโรงภาพยนตร์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2011 ถึง มีนาคม 2015[17][18]

หอนาฬิกาที่เมดันปาซาร์เบซาร์

[แก้]

หอนาฬิกาที่จัตุรัสตลาดเก่า (เมดันปาซาร์เบซาร์) ใกล้สถานีมัสยิดจาเม็กของ LRT สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าจอร์จที่หก กษัตริย์แห่งอังกฤษ ป้ายที่ระบุถึงโอกาสการระลึกนี้ถูกถอดออกจากหอนาฬิกาหลังมาเลเซียได้รับเอกราช[19]

อาคารอังโกล-โอเรียนทอล

[แก้]

อาคารอังโกล-โอเรียนทอล (Anglo-Oriental Building) สร้างขึ้นในปี 1937 เพื่อเป็นสำนักงานของ Anglo-Oriental (Malaya) Ltd. บริษัทลูกของ Anglo-Oriental Mining Corporation (ต่อมาคือ London Tin Corporation) บริษัทที่ดูแลจัดการกิจการขุดแร่ดีบุกส่วนใหญ่ในมาลายา[20] อาคารตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนตังซี (Jalan Tangsi) กับถนนปาร์ลีเมน (Jalan Parlimen) ในกัวลาลัมเปอร์[21] สร้างขึ้นบนจุดที่อดีตเป็นเอมไปร์แฟลต (Empire Flats) อดีตที่อยู่อาศัยของชาวยุโรปในมาลายา[22]

ในระวห่างการรุกรานของญี่ปุ่นในปี 1941 อาคารถูกใช้งานเป็นสถานีตำรวจ ในปี 1986 ถึง 1988 สถาปนิก Chen Voon Fee ทำการบูรณะอาคารและใช้งานเป็นวิทยาลัยมะห์โกตา (Mahkota College)[23] วิทยาลัยเอกชนที่ลงนามร่วมกับมหาวิทยาลัยบอสตัน[24][25] ในปี 1995 ถึง 2005 อาคารตกเป็นของเบอร์ฮัดเอกรัน (Ekran Berhad) และใช้งานเป็นสำนักงานใหญ่ของเบอร์ฮัดจนถึง 1 มกราคม 2005 อีกชื่อหนึ่งของอาคารที่เรียกในปัจจุบัน คือ วิสมาเอกรัน (Wisma Ekran, บ้านเอกรัน) มาจากการใช้งานในช่วงนี้[26][27]

สถาบันวิจัยยางมาลายา (R.R.I.M)

[แก้]

ในปี 1926 รัฐบาลสหพันธรัฐมาเลย์ได้มีความต้องการจะตั้งสถสบันบนบังซาร์เอสเตท (Bungsar Estate หรือสะกดแบบปัจจุบันว่า Bangsar) บนถนนดามันซารา (Damansara Road) ในกัวลาลัมเปอร์ แต่ในปี 1929 พบว่าอาคารที่ทำการของสถาบันมีความคับแคบเกินกว่าจะเป็นที่ตั้งถาวรของสถาบัน ต่อมาจึงย้ายที่ทำการมาที่เลขที่ 260 ถนนอัมปัง (Jalan Ampang) ในวันที่ 14 พฤษภาคม 1937[28] The new building is the property of the Institute and was erected at the cost of around $200,000.[29] อาคารมีลักษณะคล้ายมากกับอิมพีเรียลโฮเทลในโตเกียว ผลงานออกแบบของแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์

อาคารโอซีบีซี

[แก้]

อาคารโอซีบีซี (OCBC Building) สร้างขึ้นในปี 1937 เป็นอาคารสูงสามชั้นและสร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักงานใหญ่ของโอซีบีซี (Oversea-Chinese Banking Corporation Limited) สาขามาเลเซีย ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนฮังกัสตูรี (Jalan Hang Kasturi) กับถนนเลบอฮ์ปาซาร์เบซาร์ (Leboh Pasar Besar)[30]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://search.findmypast.co.uk/results/world-records/england-and-wales-births-1837-2006?firstname=arthur%20oakley%20&lastname=coltman&eventyear=1894&eventyear_offset=0&county=middlesex
  2. http://search.findmypast.co.uk/results/world-records/england-and-wales-deaths-1837-2007?firstname=arthur%20o&lastname=coltman&eventyear=1961&eventyear_offset=0
  3. "Architect dies, aged 67". The Straits Times. 24 December 1961. p. 5. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
  4. "The History and Influence of Art Deco in Malaysia's Architecture". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2014. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
  5. "BIG BUILDING FOR KUALA LUMPUR". The Straits Times. 26 November 1931. p. 18. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  6. Chen, Voon Fee (16 October 2007). "The rise of Modernism: ART DECO". The Encyclopedia of Malaysia Volume 5: Architecture (Hardcover). Didier Millet. p. 101. ISBN 9789813018433.
  7. Moore, Wendy Khadijah (5 July 2007). Malaysia: A Pictorial History 1400 – 2004 (Hardcover). Didier Millet. ISBN 978-9814068772.
  8. "Indian Agent To Come Back". The Straits Times. 25 October 1945. p. 3. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  9. "New address for Govt. offices". The Straits Times. 6 January 1953. p. 7. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  10. "Page 10 Advertisements Column 1". The Straits Times. 31 August 1962. p. 10. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  11. "Page 8 Advertisements Column 2". The Straits Times. 31 August 1964. p. 8. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  12. "Several Kuala Lumpur Buildings Damaged". The Straits Times. 20 September 1936. p. 1. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  13. Southgate, Audrey; Bracken, Gregory Byrne (2014). A Walking Tour Kuala Lumpur (2 ed.). Marshall Cavendish International (Asia) Pte Ltd. ISBN 978-9814516945. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  14. Faculty of Built Environment, University Malaya (3 February 2009). "Final Lee Rubber Assignment". สืบค้นเมื่อ 7 June 2014. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  15. Faculty of Built Environment, University Malaya (3 February 2009). "Final Lee Rubber Assignment". สืบค้นเมื่อ 7 June 2014. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  16. Chen, Voon Fee (16 October 2007). "The rise of Modernism: ART DECO". The Encyclopedia of Malaysia Volume 5: Architecture (Hardcover). Didier Millet. p. 101. ISBN 9789813018433.
  17. "Pawagam Odeon Kuala Lumpur, Kuala Lumpur". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  18. "Odeon Cinema KL closes". สืบค้นเมื่อ 4 April 2017.
  19. Chen, Voon Fee (16 October 2007). "The rise of Modernism: ART DECO". The Encyclopedia of Malaysia Volume 5: Architecture (Hardcover). Didier Millet. p. 101. ISBN 9789813018433.
  20. Yacob, Shakila (27 May 2008). "Mining: Yukon Gold Company to Pacific Tin". The United States and the Malaysian Economy. Routledge. p. 73. ISBN 978-1134084463. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
  21. "Spirit of Tin Embodied in Anglo-Oriental Offices". The Straits Times. 2 October 1937. p. 12. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  22. "MODERN OFFICES FOR ANGLO-ORIENTAL". The Straits Times. 17 June 1937. p. 12. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  23. National Archives of Malaysia. "Encik Chen Voon Fee". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  24. "Page 41 Advertisements Column 1". The Straits Times. 11 November 1988. p. 41. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  25. "Page 20 Advertisements Column 2". The Straits Times. 31 May 1988. p. 20. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  26. EKRAN Berhad (2002). "Annual Report 2001" (PDF): 22, 58. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  27. EKRAN Berhad (18 January 2006). "Disposal of Wisma Ekran" (PDF): 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 July 2014. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  28. Official Portal of the Malaysian Rubber Board. "The Origin and Establishment of RRIM". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  29. "R.R.I. TRANSFER TODAY". The Straits Times. 14 March 1937. p. 6. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
  30. Mohamad Tajuddin Haji Mohamad Rasdi; Badan Warisan Malaysia (1997). Mubin Sheppard Memorial Prize (2 ed.). Badan Warisan Malaysia. p. 7. ISBN 9839955438.