อาการกลัวคณิตศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในลอนดอน

อาการกลัวคณิตศาสตร์ หรือ อาการวิตกกังวลเรื่องคณิตศาสตร์ (อังกฤษ: Mathematical anxiety) เป็นความวิตกกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินการทางคณิตศาสตร์และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หรือการดำเนินการทางพีชคณิต นับเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่ใช้อธิบายปัญหาของเด็ก ๆ ที่ไม่สามารถทำคณิตศาสตร์ได้

มาร์ก เอช. แอชคราฟท์ นิยามอาการกลัวคณิตศาสตร์ไว้ว่าเป็น "ความรู้สึกของความตึงเครียด, กดดัน หรือ กลัว ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการทำเลข" (a feeling of tension, apprehension, or fear that interferes with math performance)[1] ผลการศึกษาเชิงวิชาการของอาการนี้เริ่มต้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 1950 เมื่อแมรี่ ไฟเด็ส กาฮ์ก (Mary Fides Gough) ริเริ่มคำว้า อาการกลัวเลข (Mathemaphobia) เพื่ออธิบายอาการที่คล้ายกับโรคกลัว (phobia) ที่เกิดขึ้นกับคณิตศาสตร์[2] คณะของเฮ็มบรี (Hembree)[3] ในปี ค.ศ. 1990 ได้เริ่มการวิเคราะห์อภิมานผลการศึกษา 151 ชุด และสรุปไว้ว่าอาการกลัวคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำคณิตศาสตร์และการคำนวณ ซึ่งเป็นผลมาจากความทรงจำที่ฝังใจพวกข้อผิดพลาดในอดีตเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น สอบตก ทำคะแนนได้ไม่ดี หรือทำคณิตศาสตร์ง่าย ๆ ได้ไม่ทันคนรอบข้าง ซึ่งทำให้เกิดอคติต่อวิชาคณิตศาสตร์และทำให้เกิดการหลีกหนี

แอชคราฟท์เสริมในปี ค.ศ. 2000 ว่า การหลีกหนีคณิตศาสตร์จะนำไปสู่การหลีกเลี่ยงการคำนวณซึ่งทำให้ความคล่องและความเข้าใจในคณิตศาสตร์หายไป[1] ซึ่งยิ่งทำให้การกลัวคณิตศาสตร์มีมากขึ้น

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Ashcraft, M.H. (2002), "Math anxiety: Personal, educational, and cognitive consequences", Current Directions in Psychological Science, 11: 181–185, doi:10.1111/1467-8721.00196
  2. Suárez-Pellicioni, Macarena; Núñez-Peña, María Isabel; Colomé, Àngels (2016). "Math anxiety: A review of its cognitive consequences, psychophysiological correlates, and brain bases". Cognitive, Affective, & Behavioral Neuroscience (ภาษาอังกฤษ). 16 (1): 3–22. doi:10.3758/s13415-015-0370-7. ISSN 1530-7026.
  3. Hembree, R. (1990), "The nature, effects, and relief of mathematics anxiety", Journal for Research in Mathematics Education, 21: 33–46, doi:10.2307/749455