อัลสตอม
ชื่อเดิม | Alsthom, GEC Alsthom |
---|---|
ประเภท | Société Anonyme |
การซื้อขาย | ยูโรเน็กซต์: ALO CAC 40 Component |
ISIN | FR0010220475 |
อุตสาหกรรม | การขนส่งทางราง |
ก่อตั้ง | 1928 |
สำนักงานใหญ่ | Saint-Ouen-sur-Seine, France |
บุคลากรหลัก | Henri Poupart-Lafarge (Chairman and CEO) |
ผลิตภัณฑ์ | Railway vehicles Signalling |
รายได้ | 8.072 พันล้านยูโร (2018-19) |
รายได้จากการดำเนินงาน | 730 ล้านยูโร (2018-19) |
รายได้สุทธิ | €693 ล้านยูโร (2018-19) |
สินทรัพย์ | 13.410 พันล้านยูโร (2018-19) |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 4.159 พันล้านยูโร (2018-19) |
เจ้าของ | ข้อมูลเมื่อ เมษายน 2021[update]:[1] |
พนักงาน | 75,000 (2021) |
อัลสตอม (ฝรั่งเศส: Alstom) เป็นบริษัทผู้ผลิตระบบรถไฟข้ามชาติสัญชาติฝรั่งเศส โดยมีขอบเขตดำเนินการทั่วโลกในตลาดการขนส่งทางราง และมีบทบาทในสาขาการรับส่งผู้โดยสาร การส่งสัญญาณและรถจักร มีผลิตภัณฑ์อย่างเช่น รถไฟความเร็วสูง AGV, TGV, Eurostar, Avelia และ New Pendolino นอกเหนือไปจากรถไฟส่วนชานเมือง ส่วนภูมิภาคและมหานคร และรถราง Citadis
บริษัทฯ เกิดจากการรวมบริษัทระหว่างบริษัททอมสัน-ฮิวส์ตันอิเล็กทริก และส่วนวิศวกรรมไฟฟ้าของ Société Alsacienne de Constructions Mécaniques ใน ค.ศ. 1928 การเข้าซื้อกิจการในภายหลัง เช่น Constructions Electriques de France (ค.ศ. 1932), บริษัทต่อเรือ Chantiers de l'Atlantique (1976), และบางส่วนของ ACEC (ปลายคริสต์ทศวรรษ 1980) การรวมบริษัทกับบางส่วนของบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก ทำให้เกิด จีอีซีอัลสตอมใน ค.ศ. 1989 ในปีเดียวกัน ยังได้เข้าซื้อบริษัทระบบรถไฟสัญชาติเยอรมัน Linke-Hofmann-Busch และบริษัทที่มีความชำนาญด้านการส่งสัญญาณทางรางสัญชาติอิตาลี Sasib Railways ใน ค.ศ. 1998 ยังได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปารีส
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 บริษัท อัลสตอม ได้ลงนามในหนังสือสัญญาเพื่อซื้อธุรกิจรถไฟของบริษัท บอมบาร์ดิเอร์[2] โดยการควบรวมแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564[3]
อัลสตอมกับประเทศไทย
[แก้]อัลสตอมเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกว่า 40 ปี โดยได้นำโซลูชันระบบปฏิบัติการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ SCADA และขบวนรถของอัลสตอมมาใช้งานร่วมกับระบบรถไฟในประเทศไทยหลายโครงการ ปัจจุบันบริษัทได้ควบรวมหน่วยธุรกิจระบบรางในประเทศไทยของ บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทตามแผนควบรวมธุรกิจ และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท อัลสตอม (ประเทศไทย) จำกัด จนถึงปัจจุบัน โดยสำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่บริเวณถนนพระราม 4 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
ในประเทศไทยมีโครงการที่ใช้โซลูชันอัลสตอมหลายโครงการ ดังต่อไปนี้
- อินโนเวีย โมโนเรล 300 : ใช้ใน รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู และ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง (ตัวรถประกอบที่โรงงานซีอาร์อาร์ซี อัลสตอม ประเทศจีน) โดยใช้ร่วมกับระบบการเดินรถ ซิตี้โฟล 650 จีโอเอ 04 ซึ่งเป็นระบบการเดินรถแบบไร้คนขับสมบูรณ์ และอัลสตอมยังเป็นผู้รับผิดชอบในการบำรุงรักษาโครงการนับจากวันเปิดให้บริการไปอีก 20 ปีด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ALSTOM Shareholders". www.marketscreener.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 5, 2021.
- ↑ อัลสตอม เสนอซื้อธุรกิจรถไฟ บอมบาร์ดิเอร์ หวังต่อกรจีน
- ↑ A transformational step for Alstom: completion of the acquisition of Bombardier Transportation