หวายช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หวายช้าง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
วงศ์ย่อย: Calamoideae
เผ่า: Calameae
สกุล: Calamus
สปีชีส์: C.  ornatus
ชื่อทวินาม
Calamus ornatus'

หวายช้าง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Calamus ornatus) เป็นหวายกอขนาดใหญ่ แยกเพศ ส่วนข้อโป่งพอง ใบขนาดใหญ่ กาบหุ้มลำสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม มีหนามขนาดใหญ่ สีดำ โคนหนามสีเหลือง ปลายหนามชี้ขึ้นด้านบน โคนก้านใบบวมพองชัดเจน หูใบสั้น ขาดเป็นริ้ว ๆ มือเกี่ยวขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม ดอกช่อ ผลกลมรี เปลือกผลเป็นเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองไปจนถึงสีเกือบดำกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ของไทย ไปจนถึงเกาะสุมาตรา ซูลาเวซี บอร์เนียวไปจนถึงฟิลิปปินส์ ใช้ทำเครื่องเรือนและของใช้ต่าง ๆ ในฟิลิปปินส์รับประทานผล ในซาราวักเชื่อว่าพืชชนิดนี้เป็นยา น้ำคั้นจากยอดอ่อนรักษาอาการท้องเสียได้

อ้างอิง[แก้]

  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6: หวาย. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 62 – 63

<br\>