ข้ามไปเนื้อหา

สิงโตขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิงโตขาวเพศผู้
ลูกสิงโตขาว

สิงโตขาว (อังกฤษ: White lion)[1] เป็นสิงโตประเภทหนึ่ง โดยที่ไม่ใช่ชนิดย่อย เป็นสิงโตที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสิงโตปกติหรือชนิดย่อยต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ มีขนสัตว์ขนสีน้ำตาลอ่อนกว่าสิงโตทั่วไป จนคล้ายเป็นสีขาว ซึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรม โดยที่มิใช่ภาวะผิวเผือก (Albino) หากแต่เป็นภาวะที่เรียกว่า "ภาวะด่าง" (Leucism) เช่นเดียวกับเสือโคร่งขาว[2]

นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า การที่สิงโตกลุ่มนี้มีสีขาว เกิดจากยีนที่ตกทอดมาจากยุคน้ำแข็ง ที่สิงโตยังมีการแพร่กระจายในทวีปเอเชียและยุโรปด้วย สิงโตที่มีขนสีขาวสามารถปรับตัวได้ดีในภาวะแวดล้อมที่มีแต่น้ำแข็ง ซึ่งในสิงโตทั่วไปก็มียีนสีขาวอันนี้ และถ้าสิงโตที่มียีนสีขาว 2 ตัวผสมพันธุ์กัน มีโอกาสที่จะเกิดเป็นลูกสิงโตขาว 1 ใน 4[3][4]

สิงโตขาวเป็นสัตว์ที่ปรากฏถึงในนิทานปรัมปราของชนเผ่าพื้นเมืองของแอฟริกาใต้ ที่กล่าวถึง ราชินีนามบี ซึ่งเป็นหญิงชรา วันหนึ่งมีลูกไฟขนาดใหญ่ตกลงมาจากท้องฟ้า เมื่อกระทบถึงพื้นได้เกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่ จะมีเสียงเรียกชื่อของพระนาง เมื่อราชินีนามบีได้เดินเข้าไปหา พระนางได้เปลี่ยนการเป็นหญิงสาวที่งดงาม และสิงโตก็ได้ตกลูกออกมาเป็นสิงโตขาว ในปัจจุบันนี้ชาวพื้นเมืองของแอฟริกาใต้ก็ยังเชื่อว่า สิงโตขาวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณ [5]

สิงโตขาว เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่จะพบได้เฉพาะอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ในประเทศแอฟริกาใต้แห่งเดียวเท่านั้น ปัจจุบันเหลือจำนวนประชากรราว 300 ตัวเท่านั้น ซึ่งในธรรมชาติ โอกาสที่สิงโตขาวจะอยู่รอดได้มีน้อยกว่าสิงโตธรรมดา เนื่องจากสีขนที่เห็นได้ชัดเจน ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะล่าอาหารได้เหมือนสิงโตธรรมดาที่แฝงตัวได้ดีกว่าในธรรมชาติ

เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1970 เหลือจำนวนประชากรสิงโตขาวในธรรมชาติเพียง 3 ตัวเท่านั้น ปริมาณสิงโตขาวที่เพิ่มขึ้น เกิดจากการที่สิงโตธรรมดาผสมพันธุ์กันและตกลูกออกมาเป็นสีขาวจำนวน 3 ตัว และสิงโตขาวในปัจจุบันก็ล้วนแต่เกิดจากลูกสิงโตขาวทั้ง 3 ตัวนี้

ปัจจุบัน สิงโตขาว เป็นสัตว์ที่ได้รับการอนุรักษ์และปกป้องสายพันธุ์จากมนุษย์ มีการก่อตั้งหน่วยงานเพื่อขยายพันธุ์และศึกษาในธรรมชาติรวมถึงสถานที่เลี้ยง และมีการส่งสิงโตขาวไปเลี้ยงตามสวนสัตว์ขนาดใหญ่ ๆ ทั่วโลก เช่น สวนสัตว์ลอนดอน ในประเทศอังกฤษ, สวนสัตว์ฟิลาเดียเฟีย ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสิงโตขาวในสถานที่เลี้ยงเหล่านี้ ได้ตกลูกออกมาหลายตัว[6] สำหรับในประเทศไทย มีจัดแสดงที่สวนสัตว์ขอนแก่น [7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. African Lion
  2. "ซึ้ง!!สุนัขตัวผู้เลี้ยงดูลูก "สิงโตขาว" ในสวนสัตว์เยอรมนี จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-04. สืบค้นเมื่อ 2012-11-06.
  3. HYBRIDS BETWEEN LION SUBSPECIES
  4. Animal Planet Showcase-White Lions King of Kings by Animal Planet
  5. The White Lion in Mythology and Nature
  6. White Lions in Captivity Today
  7. "สิงโตขาวเสี่ยงทายแชมป์บอลโลก". เดลินิวส์. 3 June 2014. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]