สำนักความปลอดภัยและการบังคับใช้ทางสิ่งแวดล้อม
Bureau of Safety and Environmental Enforcement | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 ตุลาคม ค.ศ. 2011 |
หน่วยงานก่อนหน้า | |
สำนักงานใหญ่ | อาคารมหาดไทยหลัก วอชิงตัน ดี.ซี. |
บุคลากร | ลูกจ้างเต็มเวลา 881 คน (ค.ศ. 2016) |
งบประมาณต่อปี | 204.6 ล้านดอลลาห์สหรัฐ (ค.ศ. 2016) |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | กระทรวงมหาดไทยสหรัฐ |
เว็บไซต์ | www.bsee.gov |
สำนักความปลอดภัยและการบังคับใช้ทางสิ่งแวดล้อม (อังกฤษ: Bureau of Safety and Environmental Enforcement: BSEE) เป็นหน่วยงานในกระทรวงมหาดไทยสหรัฐ[1] ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2011 เป็นหน่วยงานหลักซึ่งรับผิดชอบการปรับปรุงความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมพลังงานนอกชายฝั่ง ซึ่งหลัก ๆ คือ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน บริเวณไหล่ทวีปรอบนอกของสหรัฐ[2] หน่วยงานนี้ใช้อำนาจหน้าที่ด้านความปลอดภัยและการบังคับใช้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเดิมเป็นของสำนักงานบริหารจัดการแร่ (Minerals Management Service) อำนาจหน้าที่ดังกล่าวรวมถึงการสืบสวน สอบสวน เรียกพยานมาให้ถ้อยคำและแสดงพยานหลักฐาน กำหนดบทลงโทษ ระงับหรือยกเลิกกิจกรรม และกำกับดูแลความปลอดภัย การตอบสนอง และความพร้อมในการเคลื่อนย้าย
หน่วยงานย่อย
[แก้]สำนักงานโครงการควบคุมนอกชายฝั่ง (Office of Offshore Regulatory Programs: OORP) บริหารจัดการระเบียบ มาตรฐาน และโครงการตรวจสอบการปฏิบัติตามในการดำเนินงานเกี่ยวกับน้ำมัน ก๊าซ และแร่บริเวณไหล่ทวีปรอบนอก หน่วยงานในสังกัดสำนักงานนี้รับผิดชอบกฎระเบียบและเอกสารทางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับไหล่ทวีปรอบนอก รวมถึงโครงการที่ครอบคลุมการบริหารจัดการความปลอดภัย การวิจัยเพื่อป้องกันมลภาวะ การประเมินทางวิทยาการ นโยบายในการตรวจสอบ และการพัฒนาการฝึกอบรมทางวิทยาการของสำนักความปลอดภัยฯ[3]
กองความพร้อมในด้านการรั่วไหลของน้ำมัน (Oil Spill Preparedness Division: OPSD) สำนักความปลอดภัยฯ ดูแลการวางแผนและความพร้อมในด้านการรั่วไหลของน้ำมันสำหรับสถานที่ผลิตน้ำมันและก๊าซในน่านน้ำสหรัฐ (ดู ประมวลข้อบังคับส่วนกลาง ลักษณะ 30 ส่วนที่ 254) และหนึ่งในบทบาทหลักของสำนักความปลอดภัยฯ ก็คือ กองความพร้อมในด้านการรั่วไหลของน้ำมัน ซึ่งมีหน้าที่ครอบคลุมถึงการอนุมัติแผนตอบสนองด้านการรั่วไหลของน้ำมัน การตรวจสอบอุปกรณ์ตอบสนองต่อการรั่วไหลของน้ำมัน การวิจัยด้านการตอบสนองต่อการรั่วไหลของน้ำมัน การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ตอบสนองและคณะบริหารจัดการ ปัจจุบัน กองนี้บริหารจัดการสถานทดสอบการตอบสนองต่อการรั่วไหลแห่งชาติที่เรียกว่า โอห์มเซ็ตต์ (Ohmsett) ตั้งอยู่ในลีโอนาร์โด นิวเจอร์ซี[4]
กองการปฏิบัติตามด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Compliance Division: ECD) เฝ้าระวัง ตรวจสอบยืนยัน และบังคับให้อุตสาหกรรมนอกชายฝั่งเกิดการปฏิบัติตามมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมในการดำเนินงานบริเวณไหล่ทวีปรอบนอก กองนี้ดูแลให้เกิดการปฏิบัติตามรัฐบัญญัตินโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (National Environmental Policy Act) ในส่วนที่เกี่ยวกับปฏิบัติการของสำนักความปลอดภัยฯ ความรับผิดชอบอื่น ๆ รวมถึงการร่วมมือกับสำนักบริหารจัดการพลังงานมหาสมุทร (Bureau of Ocean Energy Management) และหน่วยงานอื่นทั้งระดับกลาง ระดับรัฐ และระดับท้องถิ่น และการให้บริการสู่สาธารณชนภายนอกในประเด็นการปฏิบัติตามด้านสิ่งแวดล้อม วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินงานในนามของกองนี้เป็นผู้ประสานงานระดับชาติให้แก่สำนักความปลอดภัยฯ ในโครงการสิ่งแวดล้อมหลายโครงการ เช่น โครงการคุณภาพอากาศ โครงการทรัพยากรทางโบราณคดีและวัฒนธรรม โครงการนิเวศวิทยาทางทะเล โครงการควบคุมขยะและตะกอนทางทะเล และโครงการปะการังเทียมที่เรียก ริกส์ทูรีฟส์ (Rigs-to-Reefs)[5]
กองสืบสวนความปลอดภัยและอุบัติการณ์ (Safety and Incident Investigation Division: SIID) รับผิดชอบการจัดทำนโยบายระดับชาติในด้านการสืบสวนอุบัติการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยที่เกิดขึ้นบริเวณไหล่ทวีปรอบนอก และจัดทำนโยบายระดับชาติในด้านการฝึกอบรวมผู้สืบสวน[6] กองนี้บริหารจัดการโครงการสืบสวนระดับชาติ ประสานการฝึกอบรมผู้สืบสวน และให้การสนับสนุนระดับภูมิภาคและระดับเขต อยู่ที่สำนักงานใหญ่ของสำนักความปลอดภัยฯ ในวอชิงตัน ดี.ซี.[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Salazar, Ken (May 19, 2010), Secretarial Order Nº 3299 (PDF), สืบค้นเมื่อ May 21, 2010[ลิงก์เสีย]
- ↑ "About Us | Bureau of Safety and Environmental Enforcement". www.bsee.gov (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-25. สืบค้นเมื่อ 2017-04-22.
- ↑ "Offshore Regulatory Programs | Bureau of Safety and Environmental Enforcement". www.bsee.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
- ↑ "Oil Spill Preparedness | Bureau of Safety and Environmental Enforcement". www.bsee.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
- ↑ "Environmental Focuses | Bureau of Safety and Environmental Enforcement". www.bsee.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
- ↑ Department of Interior (October 23, 2015). "Department Manual". Department of Interior. สืบค้นเมื่อ May 2, 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Incident Investigations | Bureau of Safety and Environmental Enforcement". www.bsee.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
หนังสือเพิ่มเติม
[แก้]- Committee on the Effectiveness of Safety and Environmental Management Systems for Outer Continental Shelf Oil and Gas (2012). Evaluating the effectiveness of offshore safety and environmental management systems. Washington, D.C: Transportation Research Board. ISBN 9780309223089.
- Hogue, Henry (2010). "Reorganization of the Minerals Management Service in the Aftermath of the Deepwater Horizon Oil Spill" (PDF). Federation of American Scientists Website. Congressional Research Service. สืบค้นเมื่อ 23 April 2017.
- National Academy of Engineering; National Research Council; Marine Board; Committee on Options for Implementing the Requirement of Best Available and Safest Technologies for Offshore Oil and Gas Operations (2013). Best available and safest technologies for offshore oil and gas operations : options for implementation. Washington, D.C.: National Academies Press. ISBN 9780309294270.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Study Team of the National Academy of Public Administration. "Bureau of Safety and Environmental Enforcement: Strategic Organizational Assessment" (PDF). National Academy of Public Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 June 2017. สืบค้นเมื่อ 23 April 2017.