ข้ามไปเนื้อหา

สัจนิยมโดยตรงและสัจนิยมโดยอ้อม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลักสัจนิยมโดยตรงเสนอว่า เรารับรู้โลกโดยตรง

คำถามว่า ระหว่าง สัจนิยมโดยตรง[1] (อังกฤษ: Direct realism หรือ naive realism) หรือว่า สัจนิยมโดยอ้อม[1] (อังกฤษ: Indirect realism หรือ representational realism) ความคิดหรือหลักปรัชญาประเภทไหนตรงกับความเป็นจริงในโลก เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในปรัชญาสัญชาน (philosophy of perception) หรือจิตปรัชญา (philosophy of mind) จากข้อโต้แย้งกันในเรื่องธรรมชาติของประสบการณ์ความรู้สึก (conscious experience) [2][3] เป็นปัญหาเกี่ยวกับญาณวิทยาว่า โลกที่เรารับรู้นั้นเป็นตัวโลกเองจริง ๆ (คือสิ่งที่เรารับรู้เป็นจริงอย่างนั้นเลย) หรือว่า เป็นเพียงแต่แบบภายใน (หรือแบบจำลอง) ที่สร้างขึ้นโดยกระบวนการประสาทในสมอง (คือสิ่งที่เรารับรู้เป็นเพียงแต่แบบจำลองของความจริงที่ระบบประสาทสร้างขึ้น)

สัจนิยมสามัญ

[แก้]

สัจนิยมสามัญ[1] (อังกฤษ: Naive realism) เป็นสัจนิยมโดยตรง ที่มีความคิดตรงข้ามกับสัจนิยมอาศัยตัวแทน (representative realism) ที่เป็นสัจนิยมโดยอ้อม[4] หลักสัจนิยมอาศัยตัวแทนเสนอประเด็นทางปรัชญาว่า ประสบการณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับโลกในใจของเรา ไม่ได้เป็นลักษณะจริง ๆ ของโลก แต่เป็นลักษณะของตัวแทนภายใน เป็นความเป็นจริงเสมือน (Virtual reality) เป็นก๊อปปี้ เป็นแบบของโลก

สัจนิยมโดยอ้อม

[แก้]

สัจนิยมโดยอ้อม โดยกว้าง ๆ แล้ว ก็เหมือนกับทฤษฎีการรับรู้ (หรือสัญชาน) ที่ยอมรับกันในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่แสดงว่า เราไม่รู้และไม่สามารถที่จะรู้โลกภายนอก ๆ อย่างที่มันเป็นจริง ๆ แต่สามารถเพียงแค่รู้ไอเดีย (รอยประทับทางใจ หรือชื่อ) และความเข้าใจ (คือการทำความเข้าใจโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่) ของเราที่เกี่ยวกับโลกเท่านั้น[5]

คำอธิบาย

[แก้]

การรู้โดยตัวแทนเป็นสมมุติฐานที่สำคัญในทฤษฎี Cognitivism ของจิตวิทยา คือนักสัจนิยมโดยตัวแทนย่อมปฏิเสธว่า "ความรู้โดยตรง" เป็นแบบความคิดที่ไม่ขัดแย้งกันในตัว เนื่องจากว่า ความรู้จะมีได้ก็ต้องอาศัยกระบวนการอย่างอื่นเท่านั้น คือความรู้เกี่ยวกับโลกของเรา ความจริงแล้วเป็นการแปลความหมายทางประสาทสัมผัส เป็นข้อมูลที่สืบมาจาก (แต่ไม่ใช่) โลกภายนอกที่มีอยู่จริง ๆ ทฤษฎีนัยตรงกันข้ามว่า เราสามารถรับรู้โลกภายนอกที่ไม่มีการจำกัดจากอวัยวะรับรู้ความรู้สึกของเรา และไม่มีการแปลการสื่อความหมาย ย่อมปรากฏว่าไม่คล้องจองกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่สามารถสังเกตเห็นได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ realism ว่า "สัจนิยม" และของ Naive realism ว่า "สัจนิยมสามัญ"
  2. Lehar, Steve. (2000) . The Function of Conscious Experience: An Analogical Paradigm of Perception and Behavior[ลิงก์เสีย], Consciousness and Cognition .
  3. Lehar, Steve. (2000) . Naive Realism in Contemporary Philosophy เก็บถาวร 2012-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Function of Conscious Experience .
  4. Lehar, Steve. Representationalism[ลิงก์เสีย]
  5. เช่น การได้ยินเป็นความสามารถในการรับรู้ (คือการสร้างรอยประทับใจ สร้างไอเดียเกี่ยวกับ) เสียงโดยการตรวจจับความสั่นสะเทือนทางอากาศ เราไม่สามารถรับรู้คลื่นเสียงที่เกิดจากการพูดได้โดยตรง แต่เราสามารถ "ได้ยิน" แปลความหมาย และเข้าใจภาษาพูดได้ เพราะสมองของเราเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นเสียงที่เป็นลักษณะทางกายภาพ ไปเป็นไอเดีย (คือแบบตัวแทนในใจของคลื่นเสียง)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

authors, compiled by David Chalmers

aimed at the general public, arguing for the representative theory of perception.

  • Harold I. Brown, "Direct Realism, Indirect Realism, and Epistemology". Philosophy and

Phenomenological Research, Vol. 52, No. 2. (Jun., 1992), pp. 341-363.

Perceive and How Do We Perceive It? (PDF file) ] เก็บถาวร 2014-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน