สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหพันธ์สมาคมนักประะดิษฐ์นานาชาติ (อีเฟีย)
ประเภทสาธารณะ
ก่อตั้งลอนดอน, สหราชอาณาจักร
(11 กรกฎาคม 1968; 55 ปีก่อน (1968-07-11))
ผู้ก่อตั้ง
  • Dr. Harald Romanus (สมาคมนักประดิษฐ์แห่งเดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี

เกาะบริเตนใหญ่ นอร์เวย์ สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์")

สำนักงานใหญ่,
Switzerland
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
สมาชิก95 ประเทศและเขตดินแดน [1]
เว็บไซต์www.ifia.com

สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ (อีเฟีย) เป็นองค์กรนอกภาครัฐไม่แสวงผลกำไร ก่อตั้งขึ้นที่เมืองลอนดอน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 โดยสมาคมนักประดิษฐ์เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี เกาะบริเตนใหญ่ นอร์เวย์ สวีเดน และสวิสเซอร์แลนด์ [2]

IFIA เป็นเพียงองค์กรเดียวที่รวบรวมสมาคมนักประดิษฐ์ทั่วโลก และเป็นโฆษกเฉพาะให้เหล่านักประดิษฐ์

การขึ้นทะเบียน[แก้]

อีเฟียได้รับการขึ้นทะเบียนในฐานะผู้ดำเนินการสำคัญ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สาธารณรัฐและรัฐเจนีวาInternational Geneva ซึ่งเป็นการรวมตัวพิเศษเฉพาะขององค์กรระหว่างประเทศ คณะผู้แทนถาวร เอ็นจีโอ และสำนักวิชาต่าง ๆ ได้ยอมรับให้IFIA เป็นหนึ่งในหุ้นส่วนสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา [3]

ประวัติของอีเฟีย[แก้]

อีเฟียเป็นองค์กรนอกภาครัฐระดับโลกของสมาคมและองค์กรนักประดิษฐ์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 เป้าหมายหลักคือการผนึกสัมพันธ์และสนับสนุนนักประดิษฐ์ในระดับนานาชาติ และแสดงความสนใจที่มีร่วมกัน ภารกิจขององค์กรคือการเผยแพร่วัฒนธรรมการประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อปกป้องสิทธิของนักประดิษฐ์และส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์และการประกอบธุรกิจ IFIA ก่อตั้งขึ้นที่เมืองลอนดอน ด้วยความร่วมมือของเหล่าตัวแทนประเทศทางยุโรปทั้ง 7 ประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี เกาะบริเตนใหญ่ นอร์เวย์ สวีเดน และสวิสเซอร์แลนด์ อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์กรสหประชาชาติโดยตรง และมีการร่วมมือกับการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ไวโพ) องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูนิโด) สำนักงานสิทธิบัตรยุโรป (อีโพ) และ สมาพันธ์ยุโรปเพื่อนวัตกรรม ( European Alliance for Innovation ; EAI)

กิจกรรมหลักของอีเฟีย[แก้]

  • พัฒนาสถานภาพของนักประดิษฐ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรนักประดิษฐ์
  • รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันและปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับนักประดิษฐ์ การประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อเผยแพร่ทั่วโลก
  • พินิจพิเคราะห์กฎหมายภายในประเทศและข้อตกลงระหว่างประเทศสม่ำเสมอ เพื่อปฏิรูปใหม่ ตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแวดวงนวัตกรรมและตามการพิจารณาสิทธิของนักประดิษฐ์
  • ปรับปรุงเงื่อนไขสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ IFIA
  • สร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประดิษฐ์และนวัตกรรม เกื้อหนุนโครงงานของนักประดิษฐ์ให้มีการพัฒนาไปเป็นธุรกิจ และเพิ่มคุณค่าของนักประดิษฐ์และสิ่งประดิษฐ์

เพื่อให้ตระหนักถึงกิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้น IFIA ได้จัดและสนับสนุนงานต่าง ๆ ได้แก่

  • ตีพิมพ์หนังสืออ้างอิง คู่มือ แบบสำรวจ และรายงานการค้นคว้า
  • จัดงานประชุม สัมมนา งานประชุมเชิงปฏิบัติการ งานประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และปาฐกถา
  • การแข่งขันและมอบรางวัลให้กับนักประดิษฐ์
  • งานนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับนักประดิษฐ์และสิ่งประดิษฐ์
  • ให้การสนับสนุนในการสร้างสมาคมนักประดิษฐ์
  • ให้คำปรึกษา
  • สร้างเครือข่ายนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ
  • ส่งเสริมการประดิษฐ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต

อีเฟียคืออะไร[แก้]

สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์นานาชาติ (อีเฟีย) มีสมาชิกกว่า 100 รัฐจาก 5 ทวีป วัตถุประสงค์หลักคือการสนับสนุนนักประดิษฐ์ ปกป้องสิทธิ และเชื่อมความสัมพันธ์ระดับนานาชาติอย่างเท่าเทียมกัน จากกิจกรรมแรกเริ่ม เป้าหมายหลักของอีเฟียคือการเผยแพร่วัฒนธรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อสวัสดิภาพสังคม ส่งเสริมสถานภาพนักประดิษฐ์ และเป็นสัญลักษณ์ความสนใจร่วมกันของเหล่านักประดิษฐ์นานาชาติ บริการที่อีเฟียให้กับสมาชิก ได้แก่ การจัดนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ด้วยความร่วมมือขององค์กรนานาชาติดังนั้นผู้จัดนิทรรศการและนักประดิษฐ์จะได้รับโอกาสอันดีเลิศในการแสดงสิ่งประดิษฐ์ของตน ได้รับข้อเสนอตกลงทางธุรกิจกับนักลงทุนและสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ อีเฟียยังจัดงานประชุมใหญ่ที่สมาชิกทุกคนสามารถเข้าร่วมและแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดในเรื่องการประดิษฐ์ได้ แหล่งเงินทุนของอีเฟียได้มาจากค่าธรรมเนียมสมาชิก เงินบริจาค เงินจากผู้สนับสนุน เงินอุดหนุนสาธารณะ หรือจากแหล่งอื่น ๆ ที่ได้รับอำนาจตามกฎหมาย (ดูตามระเบียบข้อบังคับของอีเฟีย) เงินทุนจะได้รับการจัดสรรและใช้จ่ายตามเป้าหมายทางสังคมของสมาพันธ์ และกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ที่จะทำให้สมาพันธ์บรรลุวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งขึ้น

สิ่งที่อีเฟียปฏิบัติ[แก้]

อีเฟียรวบรวมสมาคมนักประดิษฐ์ ศูนย์นวัตกรรม มหาวิทยาลัย มูลนิธิ สโมสร และบริษัทต่าง ๆ ให้มาร่วมกันเผยแพร่วัฒนธรรมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ นอกจากนั้น นักประดิษฐ์ยังได้รับข้อมูล การประสานงาน และโอกาสอันดีเยี่ยมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและขยายเครือข่าย สมาชิกอีเฟียจะได้รับโอกาสในการเข้าร่วมนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระหว่างประเทศ งานประชุม งานเสวนาต่าง ๆ เพื่อจัดงานระหว่างประเทศภายใต้การดูแลของอีเฟีย เพื่อเชื่อมโยงสถิติระหว่างประเทศในแวดวงธุรกิจ โรงเรียนและวิทยาลัย เพื่อรับประโยชน์จากเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ (เครือข่าย ยุโรป เอเชีย อาหรับ แอฟริกา อเมริกา ละตินอเมริกา เยาวชนและสตรี) และศูนย์การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เพื่อมีส่วนร่วมในกระบวนการ สร้างนโยบาย การแก้ต่าง และการนำเสนอนวัตกรรม และเพื่อใช้ตราโลโก้และตัวย่ออีเฟียในเว็บไซต์ โบรชัวร์ และแค็ตตาล็อกของสมาชิก อีกทั้งอีเฟียยังเผยแพร่ข่าวและกิจกรรมของสมาชิกผ่านทางเว็บไซต์ทางการ นิตยสารและจดหมายข่าวอิเล็คทรอนิกส์ ให้รางวัลแก่ผู้จัดกิจกรรม ผู้สนับสนุน และตัวแทนระดับประเทศและระหว่างประเทศ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการและงานสัมมนาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการทำธุรกิจและสิทธิบัตร แสดงตราโลโก้ของสมาชิกและรายละเอียดการติดต่อในฐานข้อมูลและเว็บไซต์ทางการ ตีพิมพ์หนังสืออ้างอิง คู่มือ แบบสำรวจ และรายงานการค้นคว้า และสนับสนุนการสร้างสมาคมนักประดิษฐ์และสิ่งประดิษฐ์ และเครือข่ายระดับภูมิภาคจากหลากหลายประเทศ

กิจกรรมแรกเริ่มของอีเฟีย[แก้]

ในช่วงแรกเริ่มของการพัฒนาอีเฟีย สมาคมต่าง ๆ จากประเทศแถบสแกนดิเนเวีย รวมทั้งเยอรมนี สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากิจกรรมภายในอีเฟีย กิจกรรมแรกเริ่มอีเฟียยังได้รับเกียรติให้ทำงานร่วมกันกับองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ไวโพ) อีเฟียยังได้โอกาสในการขยายกิจกรรมและรวบรวมสมาคมนักประดิษฐ์จากหลากหลายประเทศ ส่วนใหญ่มาจากประเทศกำลังพัฒนา ระหว่างช่วงแรกเริ่มของการก่อตั้งอีเฟีย ปัญหาสำคัญของระเบียบวาระอีเฟียคือความกลมกลืนของกฎหมายสิทธิบัตรในประเทศภายใต้ระบบ PCT ปัญหาเกี่ยวกับ “ระยะผ่อนผัน” สำหรับสิทธิบัตรและปัญหาเกี่ยวกับใบรับรองการประดิษฐ์คิดค้น ประมาณปี พ.ศ. 2518 ปัญหาหลักคือการพัฒนาโปรแกรมการศึกษาและการให้บริการนักประดิษฐ์ ประมาณปี พ.ศ. 2528 มุ่งเน้นเรื่องการขยายองค์กรอีเฟีย รวมไปถึงประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ มีการจัดสัมมนาหลายครั้งเพื่อถกปัญหาที่เกี่ยวข้องกับนักประดิษฐ์รุ่นใหม่และนักประดิษฐ์หญิง ระเบียบข้อบังคับอีเฟียด้รับการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547

ผู้ร่วมมือกับอีเฟีย[แก้]

วัตถุประสงค์ของอีเฟียคือการยกระดับสถานภาพของนักประดิษฐ์ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างสมาคมนักประดิษฐ์ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ อีเฟียได้รับตำแหน่งเป็น

  • ผู้สังเกตการณ์ที่องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก
  • ผู้สังเกตการณ์ (กลุ่มพิเศษ – เทคโนโลยี) ที่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา
  • สมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาในการควบคุมของสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป
  • สมาชิกของสาขาเอ็นจีโอที่มุ่งเน้นภายในสหประชาชาติเพื่อองค์กรนอกภาครัฐ ในฐานะที่ปรึกษาคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
  • หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของสมาพันธ์ยุโรปเพื่อนวัตกรรม

ประธานอีเฟีย (2557-2561)[แก้]

  • ด๊อกเตอร์ อาลีเรซา เรสทีจาร์ (Alireza RASTEGAR,Dr.Sc.)

ประธานกิตติมศักดิ์ อิเฟีย (2547 - ไม่กำหนดระยะเวลา)[แก้]

  • ด๊อกเตอร์ ฟารัก มอซซา (Farag MOUSSA,Dr.Sc.) จากสวิสเซอร์แลนด์ (พ.ศ. 2547 - ไม่กำหนดระยะเวลา)

ผู้บริหาร IFIA (พ.ศ. 2557 – 2559)[แก้]

  • ฮุสเซน (Husein HUJIC) จากบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา
  • ศาสตราจารย์ มิคเอล (Michał SZOTA) จากโปแลนด์
  • เลนนาร์ท (Lennart NILSON) จากสวีเดน

อดีตประธาน IFIA[แก้]

รายนามประธานอีเฟีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2511

  1. A.W.RICHARDSON,Dr.Sc. เกาะบริเตนใหญ่ พ.ศ. 2511 - 2514
  2. Harald A.R.ROMANUS จากสวีเดน พ.ศ. 2514 - 2517
  3. FreidrichBURMESTER,Dr.Sc. จากเยอรมนี พ.ศ. 2517 - 2520
  4. Leif NORDSTRAND จากนอร์เวย์ พ.ศ. 2520 - 2525
  5. L.L.WARE,Dr.Se. จากสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2525 - 2527
  6. Torfin ROSENVINGE JOHNSEN จากนอร์เวย์ พ.ศ. 2527 - 2528
  7. Bo Goran WALLIN จากสวีเดน พ.ศ. 2528 - 2530
  8. Clarence P.FLEDMANN จากสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2530 - 2533
  9. FaragMOUSSA,Dr.Sc. จากสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2530 - 2549
  10. AndrásVEDRES,Dr.Sc. จากฮังการี พ.ศ. 2549 – 2553 - 2557

สมาชิก[แก้]

ตามระเบียบข้อบังคับอีเฟีย “สมาชิกของสมาพันธ์เป็นทั้งสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียงสมาชิกที่ไม่มีสิทธิออกเสียง และสมาชิกกิตติมศักดิ์” กล่าวคือ สมาชิกอีเฟียสามารถเป็นสมาคม สถาบัน มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยหรือองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ในแวดวงการประดิษฐ์และนวัตกรรม สมาชิกอีเฟียมาจาก 95 ประเทศได้แก่

ตารางสมาชิก[แก้]

ตารางสมาชิกของอีเฟีย
ลำดับ ประเทศ ลำดับ ประเทศ ลำดับ ประเทศ
1 อาร์เจนตินา 39 ไอร์แลนด์ 77 สโลวาเกีย
2 อัฟกานิสถาน 40 อิรัก 78 สโลเวเนีย
3 ออสเตรีย 41 ญี่ปุ่น 79 สเปน
4 ออสเตรเลีย 42 คาซัคสถาน 80 ศรีลังกา
5 บาห์เรน 43 เคนยา 81 อัฟริกาใต้
6 บังคลาเทศ 44 สาธารณรัฐเกาหลี 82 ซูดาน
7 เบนิน 45 คูเวต 83 แทนซาเนีย
8 โบลิเวีย 46 ลัตเวีย 84 ตูนีเซีย
9 บอสเนียและเฮอเซโกวินา 47 เลบานอน 85 ตุรกี
10 บราซิล 48 ลิเบีย 86 ไทย
11 บัลกาเรีย 49 มาเก๊า 87 โตโก
12 บุรุนดี 50 มาซิโดเนีย 88 สหรัฐอาหรับเอมิเรต
13 คาเมรูน 51 มาเลเซีย 89 สหราชอาณาจักร
14 แคนาดา 52 มาลี 90 อุรุกวัย
15 จีน 53 มอริเตเนีย 91 สหรัฐอเมริกา
16 ชาด 54 มองโกเลีย 92 เวียดนาม
17 คองโก 55 โมรอคโค 93 เยเมน
18 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 56 เนปาล 94 ซิมบับเว
19 โกตดิวัวร์ 57 เนเธอร์แลนด์ 95 ยูเครน
20 โครเอเชีย 58 ไนเจอร์
21 คิวบา 59 ไนจีเรีย
22 ไซปรัส 60 นอร์เวย์
23 สาธารณรัฐเชค 61 ปากีสถาน
24 เดนมาร์ก 62 เปรู
25 สาธารณรัฐโดมินิกัน 63 ปาเลสไตน์
26 อียิปต์ 64 ฟิลลิปปินส์
27 เอลซาวาดอร์ 65 โปแลนด์
28 เอสโตเนีย 66 กาตาร์
29 ฟินแลนด์ 67 โรมาเนีย
30 ฝรั่งเศส 68 รัสเซีย
31 จอร์เจีย 69 ซาอุดิอารเบีย
32 เยอรมนี 70 เซเนกัล
33 ฮังการี 71 เซอร์เบีย
34 ฮ่องกง 72 สิงคโปร์
35 ไอซ์แลนด์ 73 สวีเดน
36 อินโดนีเซีย 74 สวิตเซอร์แลนด์
37 อินเดีย 75 ซีเรีย
38 อิหร่าน 76 ไต้หวัน

ความเป็นผู้นำ[แก้]

  • สมัชชา: คณะกรรมการสูงสุดของสมาพันธ์ ประกอบด้วยองค์กรสมาชิกที่มีความตื่นตัวสูงสุด
  • ประธานสมาพันธ์คือผู้อำนวยการบริหาร เลือกตั้งโดยสมัชชา มีอำนาจในตำแหน่ง 4 ปี
  • คณะผู้บริหารระดับสูงคือผู้วางนโยบายและผู้บริหารงาน เลือกตั้งโดยสมัชชา มีอำนาจในตำแหน่ง 2 ปี
  • ผู้อำนวยการและที่ปรึกษาประธานคือผู้ช่วยและผู้ร่วมงานใกล้ชิดของประธาน ได้รับการแต่งตั้งโดยประธาน มีอำนาจในตำแหน่ง 2 ปี

คณะผู้บริหารระดับสูงของอีเฟีย[แก้]

สมาชิกคณะผู้บริหารระดับสูงของ IFIA พ.ศ. 2557 - 2559

สมาชิกคณะกรรมการอีเฟีย
ลำดับ ประเทศ ประธาน
1 บอสเนียและเฮอเซโกวินา Mladan KARIC,M.Sc.
2 บราซิล Marcelo VIVACQUA,Dr.Sc.
3 จีน Zengpei XUAN,Dr.Sc.
4 โครเอเชีย Zoran BARISIC,M.Sc.
5 เดนมาร์ก Mrs. Vivi AEKJAER
6 เยอรมนี Winfried STURM
7 ไอซ์แลนด์ Mrs. Elinora Inga SIGURDARDOTTIR
8 อินเดีย Aynampudi SUBBARAO,Dr.Sc.
9 อิหร่าน Hossein VAEZI
10 อิรัก Hazim Jabbar Al-DARAJI,Prof.
11 สาธารณรัฐเกาหลี Shin KYOUNG-HO
12 ไนเจอร์ Idrissa Hassane SOULAY,Dr.SC.
13 ไนจีเรีย Joel Shaka MOMODU
14 ฟิลิปปินส์ Billy MALANG,Dr.Sc.
15 โปแลนด์ Ms,Agnieszka MIKOLAJSKA, Dr.Sc.Student
16 โปรตุเกส Fernando LOPES
17 รัสเซีย Vladimir PETRIASOV
18 สโลเวเนีย Ms.Ana HAFNER, Dr.Sc.
19 สวีเดน Cenneth LINDKVIST

References[แก้]

  1. [1]
  1. "IFIA Members". IFIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 2016-01-18.
  2. United Nations Office, Geneva (2001). International Geneva Yearbook 2001-2002: Organization and Activities of International Institutions in Geneva. United Nations Publications. p. 439. ISBN 92-1-000139-7.
  3. http://www.geneve-int.ch/international-federation-inventors-association-ifia-0
  1. UN NGO
  2. WIPO Observer list
  3. Unctad Observer list
  4. EPO Standing Advisory Committee before the European Patent Office (SACEPO) เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. EAI Assembly of Professional Societies (EAI) เก็บถาวร 2016-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. United Nation Office in Geneva (UNOG)

External links[แก้]