สวาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวาด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
วงศ์: Caesalpiniaceae
สกุล: Caesalpinia
สปีชีส์: C.  bonduc
ชื่อทวินาม
Caesalpinia bonduc
(L.) Roxb.
ชื่อพ้อง

Caesalpinia bonducella (L.) Fleming
Caesalpinia crista auct. Amer.
Guilandina bonduc L.
Guilandina bonducella L.[1]

ใบสวาด
เมล็ดสวาด

สวาด หรือภาษาถิ่นทางภาคใต้เรียกว่า หวาด หรือ ตามั้ด มะกาเลิง ชื่อวิทยาศาสตร์: Caesalpinia bonduc เป็นไม้เลื้อย พบทั่วไปในเขตร้อน ประเทศไทยพบมากตามป่าละเมาะใกล้ทะเล

ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านของเถาสวาดมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป เลื้อยพันต้นไม้อื่นโดยใช้หนามช่วยประคอง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ขนาดใหญ่ ยาว 30-50 ซม. มีดอกสีเหลือง เป็นช่อยาว 15-25 ซม. ออกดอกตรงกิ่งเหนือซอกใบขึ้นไปเล็กน้อย มีช่อเดี่ยวหรืออาจแตกแขนงบ้าง ก้านช่อยาวและมีหนาม ผลเป็นฝักรูปรี หรือขอบขนานแกมรูปรี มีขนยาวแหลมแข็งคล้ายหนามตามเปลือก แต่ละฝักมี 2 เมล็ด เมล็ดกลมเปลือกแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. สีเทาแกมเขียว ซึ่งเป็นสีที่เรียกกันว่าสีสวาด

ใบสวาดมีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้จุกเสียด ผลใช้แก้กระษัย ยอดบดกรองเอาแต่น้ำ แก้ไข้ ถ่ายพยาธิ รากดองกับเหล้าขาวใช้แก้พยาธิ [2]ในสมัยก่อน เด็ก ๆ นำมาใช้เล่นหมากเก็บ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Taxon: Caesalpinia bonduc (L.) Roxb". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 2006-10-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-10. สืบค้นเมื่อ 2010-12-06.
  2. มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 148