วิธีวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วิธีวิทยา (อังกฤษ: methodology) หมายถึง ขั้นตอนวิธี, กฎ, และการคาดการณ์อย่างมีหลักการ หรือชุดของสิ่งเหล่านั้น[1] วิธีวิทยา เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตรรกะของการแสวงหาความรู้ในศาสตร์ โดยเฉพาะการตรวจสอบศักยภาพและข้อจำกัดของเทคนิคหรือกระบวนการศึกษา (Grix, 2010) หรือระเบียบวิธีที่นักวิชาการในแต่ละสาขาใช้แสวงหาความรู้ (Guba & Lincoln, 1994) เช่น วิธีตั้งคำถามการวิจัย วิธีการหาหลักฐานข้อมุล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล วิธีวิทยาในศาสตร์มี 4 ประเภทหลักคือ การทดลองแบบควบคุม (experiment and manipulation) การทดลองแบบควบคุมที่ได้รับการดัดแปลง (modified experiment and manipulation) วิภาษวิธีและการสนทนา (dialectic and dialogue) และอรรถปริวรรตและวิภาษวิธี (hermeneutic and dialectic)

อ้างอิง[แก้]

  1. (พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต.ปรัชญาสังคมศาสตร์.หน้า34-35.พิมพ์ครั้งที่ 2.2559)