วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติความเป็นมา[แก้]

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยานั้นมีความเก่าแก่ และสร้างสมไว้ด้วยประสบการณ์นานไม่น้อยกว่าสี่ทศวรรษ โดยในช่วงแรก ๆ นั้นเรายังไม่มีการเรียนการสอนดนตรีกันอย่างจริงจัง เป็นเพียงแต่การรวมตัวของผู้มีใจรักดนตรี และมีความรู้เรื่องดนตรี โดยครู อาจารย์ที่มีความรู้ทางดนตรีเข้ามาฝึกหัด และรวมตัวเพื่อตั้งวงดนตรี โดยใช่เวลาว่างตอนพักกลางวัน หรือหลังเลิกเรียนฝึกซ้อมดนตรี กระทั้งเป็นวงดนตรีได้สำเร็จ ในระยะแรกก็รับบรรเลงเฉพาะงานของวิทยาลัย เมื่อมีประสบการณ์สูงขึ้นจึงให้บริการแก่ชุมชนภายนอก ผู้ที่ควบคุมวงทางด้านดนตรีไทยได้แก่ อาจารย์สงัด ภูเขาทอง ส่วนทางด้านดนตรีสากลก็มี อาจารย์บุญส่ง เฉลิมวัฒน์ เป็นผู้ควบคุมวง ท่านได้สร้างวงดนตรี “ชงโค” ให้เป็นที่ยอมรับของนักฟังเพลงประเภทสุนทราภรณ์ และนักเต้นรำเท้าไฟ แต่ปัจจุบันวง “ชงโค” ได้สลายตัวแล้ว ต่อมาปี พ.ศ.2513 ม.ล.ปิ่น มาลากุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นเล็งเห็นว่าในหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2503 ได้ ระบุว่า ต้องมีการเรียนการสอนดนตรี กอปรกับท่านต้องการให้มีการศึกษาค้นคว้าทางด้านดนตรีอย่างจริงจัง ท่านจึงมอบหมายให้ อาจารย์อวบ เหมะรัชตะ (ศึกษานิเทศก์) ไปศึกษาดูงานการผลิตครูดนตรี ณ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น เพื่อกลับมาร่างหลักสูตรจัดการการเรียนการสอนดนตรีโดยที่ อาจารย์วาสิษฐ์ จรัญยานนทร์ เข้าร่วมพิจราณาด้วย เมื่อร่างเสร็จก็ส่งให้ อาจารย์ ดร.กำธร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นผู้ตรวจสอบก่อนที่จะส่งให้กรมการฝึกหัดครูพิจารณาอนุมัติ และเมื่อปีการศึกษา 2513 วิทยาครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน) ก็ ได้เปิดสอนหลักสูตร ป.กศ ชั้นสูง โปรแกรมวิชาเอกดนตรีศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรก นับเป็นสถาบันการฝึกหัดครูแห่งแรกในประเทศไทย ที่ผลิตครูสอนดนตรีโดยตรง พ.ศ.2522 สถาบันแห่งนี้ก็ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร ครุศาสตร์บัณฑิต (คบ.) โปรแกรมวิชาเอกดนตรีศึกษา ปีการศึกษา 2536 โปรแกรมวิชาดนตรีได้เปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์ดนตรี ปีการศึกษา 2545 โปรแกรม วิชาดนตรีได้จัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตร และจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตขึ้นคาดว่าจะสามารถเปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาดนตรี ในปีการศึกษา 2546 ตลอกเวลากว่าสี่ทศวรรษที่สถาบัน แห่นี้ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนอย่ามีระบบ โปรแกรมวิชานอกจากจะผลิตบัณฑิตสาขาดนตรีแล้ว ทางโปรแกรมวิชาได้ทำหน้าที่ให้บริการชุมชนทั้งในด้านวิชาการ การแสดง และการเผยแพร่ศิลปวัฒธรรมทางด้านดนตรี โดยจัดอบรมสัมมนาทางด้านดนตรี และได้จัดทำโครงการเผยแพร่ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด

ทางด้านดนตรีโดยสัญจรไปตามต่างจังหวัดต่าง ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษา และเผยแพร่ชื่อเสียงของสถาบันทุกครั้ง ที่มีการตะเวนไปตามต่างจังหวัด โปรแกรมวิชาจะนำวงดนตรีชนิดต่าง ๆ ทั้ง ดนตรีไทย และดนตรีสากลไปแสดง เช่น วงเครื่องสายไทย วงปี่พาทย์ วงมโหรี วงโปงลาง วงแชมเบอร์ออเคสตร้า วงหัสดนตรี วงโยธวาทิต วงสตริงคอมโบ เป็นต้น และในโอกาสที่มีการแข่งขันประกวดดนตรีประเภทต่าง ๆ ทางโปรแกรมวิชาดนตรีก็จะจัดวงดนตรีส่งเข้าประกวดทั้งดนตรีไทย และสากลถึงขั้นได้รับถ้วยพระราชทานหลายครั้ง

ความกว้าหน้าและความสำเร็จดังกล่าวของโปรแกรมวิชาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จะมีไม่ได้หากไม่ได้รับความสบันสนุน และอุปการะจาก คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และเพื่อนร่วมงานทุกท่าน ในโอกาสนี้โปรแกรมวิชาดนตรีสากล ใคร่ขอกราบขอบพระคุณท่าน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วที่ให้การสนับสนุน และอุปการะโปรแกรมวิชาดนตรีสากลด้วยดีตลอดมา และหวังว่าท่านเหล่านั้นคงจะให้ความสบันสนุน และอุปการะโปรแกรมวิชาดนตรีสากลต่อไป

สิ่งสำคัญเหนืออื่นใด คือความสำเร็จทั้งปวงที่ได้รับนั้น นักศึกษาโปรแกรมวิชาดนตรีสากล และคณาจารย์โปรแกรมวิชาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้พลังใจและความเชื่อมั่น จากที่พวกเราเป็นลูกสุริยะ นั่นหมายถึง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยะวงศ์ จึงมีความตั้งใจที่จะพัฒนา และเชิดชูสถาบันของเราให้มีชื่อเสียงโดดเด่น ทั้งวงการศึกษา และวงการดนตรีตราบนานเท่านาน


หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต 2 สาขาวิชา
  • สาขาดนตรีตะวันตก (ดศ.บ. 4 ปี) แบ่งออกเป็น 7 กลุ่มวิชาเลือก
    • กลุ่มวิชาการประพันธ์เพลง - หลักการประพันธ์เพลงคลาสสิก
    • กลุ่มวิชาการแสดงดนตรีคลาสสิก - การปฏิบัติดนตรีคลาสสิก
    • กลุ่มวิชาวงดุริยางค์เครื่องลม - หลักการบรรเลงวงดุริยางค์เครื่องลมในรูปแบบนั่งบรรเลงและรูปแบบการเดินแถว หลักการควบคุมและอำนวยเพลง
    • กลุ่มวิชาการแสดงดนตรีแจ๊ส - การปฏิบัติดนตรีแจ๊ส
    • กลุ่มวิชาเทคโนโลยีดนตรี - การปฏิบัติการบันทึกเสียง ผลิตผลงานดนตรี
    • กลุ่มวิชาการแสดงดนตรีสมัยนิยม - การปฏิบัติดนตรีสมัยนิยม
    • กลุ่มวิชาการสอนดนตรี - กลวิธีการสอนบรรเลงดนตรี การสอนดนตรีสำหรับเด็ก จิตวิทยาการสอนดนตรี วัดและประเมินผลการสอนบรรเลงดนตรี
  • สาขาดนตรีไทย (ดศ.บ. 4 ปี)


หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 2 สาขาวิชา
  • สาขาดนตรีตะวันตกศึกษา (ค.บ. 4 ปี)
  • สาขาวิชาดนตรีไทยศึกษา (ค.บ. 4 ปี)


ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาดนตรี
  • อยู่ระหว่างการปรับปรุงหลักสูตร


ผู้บริหารปัจจุบัน[แก้]

คณบดีวิทยาลัยการดนตรีปัจจุบัน

รองศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา วิไลลักษณ์

รองคณบดีปัจจุบัน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุขนิษฐ์ สะสมสิน รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชาว์มนัส ประภักดี รองคณบดีฝ่ายแผนงานและวิจัย
  • อาจารย์วรินธร สีเสียดงาม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ


ผู้ช่วยคณบดีปัจจุบัน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย พุหิรัญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแผนงานและวิจัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิวรรษ์ ลิมปชัย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุธี จันทร์ศรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
  • ดร.ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาวิชาชีพดนตรี
หัวหน้าภาควิชาดนตรีตะวันตกปัจจุบัน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุขนิษฐ์ สะสมสิน หัวหน้าภาควิชาดนตรีตะวันตก
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชาญฤทธิ์ เริงรณอาษา รองหัวหน้าภาควิชาดนตรีตะวันตก
หัวหน้าภาควิชาดนตรีไทยปัจจุบัน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนาธิป เผ่าพันธ์ุ หัวหน้าภาควิชาดนตรีไทย
  • อาจารย์วงศ์วสันต์ วสันตสุรีย์ รองหัวหน้าภาควิชาดนตรีไทย
ประธานหลักสูตรปัจจุบัน
  • ดร.พิมลมาศ พร้อมสุขกุล ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
  • อาจารย์วรินธร สีเสียดงาม ประธานหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา
  • ดร.ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ ประธานหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีตะวันตก
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา วิไลลักษณ์ ประธานหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีไทยศึกษา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิติ ทัศนกุลวงศ์ ประธานหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีไทย


คณาจารย์ประจำวิทยาลัยการดนตรีปัจจุบัน[แก้]

ภาควิชาดนตรีตะวันตก
  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุขนิษฐ์ สะสมสิน
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชาญฤทธิ์ เริงรณอาษา
  3. อาจารย์วรินธร สีเสียดงาม
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร วัฒนบุญญา
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรวีร์ เทียนชัยอนันท์
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมลมาศ พร้อมสุขกุล
  7. รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนสิการ เหล่าวานิช
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย พุหิรัญ
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ บุญแจะ
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมภาษ สุขชนะ
  12. อาจารย์พูนสุข กุหลาบวงษ์
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนัง ปานช่วย
  14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน
  15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ
  16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พนัส ต้องการพานิช
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ รัตนประภาเมธีรัฐ
  18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐพล เฟื่องอักษร
  19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรีวันท์ วาทะวัฒนะ
  20. อาจารย์ภาคภูมิ เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์
  21. อาจารย์ศุภปรัช สันติธรรมารักษ์
  22. ดร.ชาลินี สุริยนเปล่งแสง
ภาควิชาดนตรีไทย
  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนาธิป เผ่าพันธุ์
  2. อาจารย์วงศ์วสันต์ วสันตสุรีย์
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ บัวทอง (ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม)
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัมรินทร์ แรงเพ็ชร
  5. รองศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา วิไลลักษณ์
  6. รองศาสตราจารย์ ดร. โดม สว่างอารมณ์
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ ชาญเลขา
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิติ ทัศนกุลวงศ์
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชาว์มนัส ประภักดี
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์ บ้านไกรทอง
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิชชาณัฐ ตู้จิณดา
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุธี จันทร์ศรี
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิวรรษ์ ลิมปชัย
  14. อาจารย์ตั้งปณิธาน อารีย์