ข้ามไปเนื้อหา

วิถีไนโกรสไตรเอทอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิถีไนโกรสไตรเอทอล
แสดงด้วยสีแดงในภาพ
แสดงด้วยสีน้ำเงินในภาพ เชื่อมต่อสับสแตนเชียไนกรา กับดอร์ซอลสไตรเอทัม
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

วิถีไนโกรสไตรเอทอล (อังกฤษ: nigrostriatal pathway) เป็นคู่วิถีโดพามีเนอร์จิกในสมองที่เชื่อมต่อสับสแตนเชียไนกรา พาส์คอมแพกตา (SNc) ในสมองส่วนกลางเข้ากับดอร์ซอลสไตรเอทัม (คือคอว์เดทนิวเคลียส กับ พูทาเมน) ในสมองส่วนหน้า เป็นหนึ่งในสี่วิถีโดพามีนของสมอง มีบทบาทสำคัญในการสร้างการขยับร่างกายในฐานะส่วนหนึ่งของระบบลูปมอเตอร์ของบาซัลแกงเกลีย เซลล์ประสาทโดพามีเนอร์จิกในวิถีจะหลั่งโดพามีนจากปลายอักซอนที่ไซแนปส์เข้าสู่เซลล์ประสาทแหลมตัวกลาง (medium spiny neurons; MSNs) หรือ เซลล์ประสาทแหลมส่งต่อ (spiny projection neurons; SPNs) ซึ่งเป็นกาบาเออร์จิก[1][2] ซึ่งอยู่ในสไตรเอทา

การเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทใน SNc เป็นหนึ่งในลักษณะทางพยาธิวิทยาหลักของโรคพาร์คินสัน[3] ส่งผลให้เกิดการผลิตโดพามีนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนำไปสู่อาการผิดปกติในการเคลื่อนไหวที่ลดลงของโรค รวมถึง ไฮโปคิเนเซีย, สั่น, แข็ง (rigidity), และ ความไม่มั่นคงในการยืน

อ้างอิง

[แก้]
  1. David Smith, A.; Paul Bolam, J. (1 กรกฎาคม 1990). "The neural network of the basal ganglia as revealed by the study of synaptic connections of identified neurones". Trends in Neurosciences. 13 (7): 259–265. doi:10.1016/0166-2236(90)90106-K. ISSN 0166-2236. PMID 1695400. S2CID 4018397.
  2. Tritsch, NX; Ding, JB; Sabatini, BL (ตุลาคม 2012). "Dopaminergic neurons inhibit striatal output through non-canonical release of GABA". Nature. 490 (7419): 262–6. Bibcode:2012Natur.490..262T. doi:10.1038/nature11466. PMC 3944587. PMID 23034651.
  3. Diaz, Jaime (6 ธันวาคม 2017). How Drugs Influence Behavior: A Neuro-Behavioral Approach (3rd ed.). Kendall Hunt Publishing. ISBN 978-1-5249-3587-0.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • NeuroNames ancil-491
  • Diagram. Genetic Science Learning Center. University of Utah.