วารันเจียน
วารันเจียน (อังกฤษ: Varangians หรือ Varyags; นอร์สเก่า: væringjar; ภาษากรีกยุคกลาง: Βάραγγοι, Βαριάγοι; ยูเครน: варя́ги) คือชนไวกิง[1][2] และชาวนอร์สที่เดินทางไปทางตะวันออกและทางใต้ไปยังบริเวณที่ในปัจจุบันคือรัสเซีย, เบลารุส และยูเครน ส่วนใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 10 แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนกล่าวว่าคำว่า "วารันเจียน" หมายถึงชนชาติพันธุ์ก็ได้ที่เป็นนักเดินทะเล พ่อค้า หรือโจรสลัด คำนี้ใช้ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับไวกิงและกองทหารสลาฟที่เดินทางระหว่างเมืองสำคัญทางการค้าและมักจะเข้าทำสงครามเมื่อมีโอกาส คำที่คล้ายคลึงกันในภาษารัสเซีย "เนเม็ต" (немец) ใช้สำหรับชาวต่างประเทศจากประเทศในยุโรปแต่ส่วนใหญ่หมายถึงเยอรมัน ในภาษารัสเซียสมัยใหม่คำนี้หมายถึงคนเยอรมัน
ตามหลักฐานบันทึกพงศาวดารของรุสเคียฟที่รวบรวมราว ค.ศ. 1113 กล่าวถึงกลุ่มวารันเจียนที่รวมทั้งชนสวีด, ชนรุส, ชนนอร์มัน, ชนแองเกิล และ ชนกอตแลนเดอร์[3] ชนวารันเจียนส่วนใหญ่ที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตะวันออกของบอลติก รัสเซีย และดินแดนทางตอนใต้มาจากบริเวณที่เป็นสวีเดนปัจจุบัน[4]
ชนวารันเจียนทำการค้าขาย โจรสลัด และทหารรับจ้าง และมักจะเดินทางทางน้ำ ไปจนถึงทะเลแคสเปียน และ คอนสแตนติโนเปิล[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Milner-Gulland, R. R. Atlas of Russia and the Soviet Union. Phaidon. p. 36. ISBN 0714825492.
- ↑ Schultze, Sydney (2000). Culture and Customs of Russia. Greenwood Publishing Group. p. 5. ISBN 0313311013.
- ↑ Duczko, Wladyslaw (2004). Viking Rus. BRILL. pp. 10–11. ISBN 9004138749.
- ↑ Forte, Angelo, Richard Oram, and Frederik Pedersen. Viking Empires. Cambridge Univ. Press, 2005. 13-14.
- ↑ Stephen Turnbull, The Walls of Constantinople, AD 324–1453, Osprey Publishing, ISBN 1-84176-759-X