ลิ้นงูเห่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิ้นงูเห่า
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Acanthaceae
สกุล: Clinacanthus
สปีชีส์: C.  siamensis
ชื่อทวินาม
Clinacanthus siamensis

ลิ้นงูเห่า ชื่อวิทยาศาสตร์: Clinacanthus siamensis เป็นไม้ล้มลุกกึ่งเลื้อยในวงศ์ Acanthaceae ไม่ค่อยแตกกิ่งแขนง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบบาง ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยช่อละ 12 – 20 ดอก ดอกย่อยในช่อบานไม่พร้อมกัน สีส้ม ปลายแยกเป็น 2 แฉก เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคตะวันออก กระจายพันธุ์ในเขตฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย

ลักษณะต้นคล้ายพญายอแต่ใบกว้างกว่า สีเขียวเข้มกว่า ช่อดอกโตกว่า ใช้เป็นยาได้เช่นเดียวกับพญายอ[1]ใช้เป็นไม้ประดับได้ด้วย

อ้างอิง[แก้]

  • ปิยะ เฉลิมกลิ่น จิรพันธุ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กทม. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. 2551 หน้า 41
  1. ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555. หน้า 334