ลำแพน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลำแพน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Lythraceae
สกุล: Sonneratia
สปีชีส์: S.  ovata
ชื่อทวินาม
Sonneratia ovata
Backer

ลำแพน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sonneratia ovata) วงศ์ Lythraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 4- 12 เมตร กิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปราะ รากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 15- 30 ซม. เหนือผิวดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่กว้าง ถึงรูปเกือบกลม ขนาด 3-8 ชนิดหนึ่ง 4-9 ซม. ปลายใบกลม กว้าง ฐานใบกลมสีเขียว เข้ม ก้านใบยาว 0.3-1.5 ซม. ลำต้นที่มีอายุมาก ใบมักจะบิดเบี้ยวไม่สมมาตร ดอก ออกดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อกระจุก ช่อละ 3 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 1-2 ซม. บางครั้งไม่มีก้านดอกย่อย เมื่อเป็นตาดอกวงกลีบเลี้ยง รูปไข่กว้าง ยาว 2-3 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงรูปถ้วย สีสันเด่นชัด กลีบเลี้ยงมักมี 6 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ยาวกว่าหลอดเล็กน้อย ด้านบนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ สีเหลืองอมเขียว และสีชมพูเรื่อ ๆ ที่โคนกลีบด้านใน กลีบดอกไม่ปรากฏ ผล เป็นผลมีเนื้อและมีเมล็ด ผลกลม ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ขนาด 3-4.5 x 2.5-3.5 ซม. กลีบเลี้ยงงอหุ้ม ติดผล ขึ้นในพื้นที่ที่มีความเค็มไม่มากนัก และดินค่อนข้างเหนียว น้ำท่วมถึงเป็นครั้งคราว

การใช้ประโยชน์[แก้]

ผลมีรสออกเปรี้ยว มีเมล็ดมาก ออกดอกและผลตลอดทั้งปี รับประทานได้ ผลสามารถนำมาทำขนมลำแพนกวนได้ โดยนำผลลำแพนที่ไม่แก่จัด เปลือกยังเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อแข็งไปปั่นให้แหลก นำไปกวนกับมะพร้าวขูด ใส่หัวกะทินิดหน่อย กวนจนเป็นสีน้ำตาลอ่อนจึงใส่น้ำตาล ขนมจะคล้ายพุทรากวนแต่สีอ่อนกว่า เนื้อเนียนกว่า เป็นขนมพื้นบ้านของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

อ้างอิง[แก้]

  • เส้นทางขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2553. หน้า 169 - 170