ข้ามไปเนื้อหา

ลานพรุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลานพรุ
ต้นลานพรุที่รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
วงศ์ย่อย: Coryphoideae
เผ่า: Corypheae
สกุล: Corypha
สปีชีส์: C.  utan
ชื่อทวินาม
Corypha utan
Lam.
ชื่อพ้อง[1]
ชื่อพ้อง
  • Borassus sylvestris Giseke nom. illeg.
  • Corypha elata Roxb.
  • Corypha gebang Mart.
  • Corypha gembanga (Blume) Blume
  • Corypha griffithiana Becc.
  • Corypha macrophylla Roster
  • Corypha macropoda Kurz
  • Corypha sylvestris Mart. nom. illeg.
  • Gembanga rotundifolia Blume
  • Livistona vidalii Becc.
  • Taliera elata (Roxb.) Wall.
  • Taliera gembanga Blume nom. illeg.
  • Taliera sylvestris Blume nom. illeg.

ลานพรุ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Corypha utan) เป็นปาล์มในวงศ์ย่อยลาน (Coryphoideae) กระจายพันธุ์ในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงออสเตรเลีย[2] ลักษณะเป็นปาล์มต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 0.8-1 เมตร กาบใบแยกจรดโคน ใบรูปพัดเรียงเวียน เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4-3 เมตร ใบแยก 80-100 แฉก แฉกลึกเกินกึ่งหนึ่งหรือเกือบจรดเส้นกลางใบ ก้านใบยาว 2.5-4 เมตร แกนก้านเป็นร่องลึก ขอบมีหนามสีดำยาวประมาณ 2 เซนติเมตร แฮสทูลาหรือปลายก้านจุดเชื่อมติดใบมีขอบหนาชัดเจนทั้งสองด้าน ช่อดอกออกที่ยอด สูงได้ถึง 5 เมตร แยกแขนงจำนวนมาก ใบประดับช่อแยกแขนงแรกมี 2 สัน ใบประดับช่อแขนงเป็นหลอด ช่อย่อยแบบช่อวงแถวเดี่ยว ดอกสมบูรณ์เพศ มีก้านดอกเทียมสั้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้ 6 อัน รังไข่มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว เมื่อออกดอกแล้วต้นจะตาย ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ผนังผลชั้นกลางสด มีเมล็ดเดียว[3] เนื้อในผลอ่อนรับประทานได้ น้ำหวานจากช่อดอกใช้ทำน้ำตาลสดหรือหมักเป็นน้ำตาลเมา แป้งในลำต้นนำมาใช้ได้เหมือนแป้งสาคู รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วงและแก้ไอ ใบนำมาสานทำของใช้[4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-04. สืบค้นเมื่อ June 11, 2014.
  2. "Corypha utan - Species Summary" (PDF). Sampled Red List Index for Plants. สืบค้นเมื่อ April 26, 2017.
  3. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 378, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
  4. "Corypha utan". Useful Tropical Plants. สืบค้นเมื่อ April 26, 2017.
  5. "Corypha utan". The IUCN Red List of Threatened Species. สืบค้นเมื่อ April 26, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]