ข้ามไปเนื้อหา

ร็อกเวลล์ (ไทป์เฟซ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ร็อกเวลล์)
ชนิดเชิง
การจัดหมู่แบบว็อกซ์-เอไทไพเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ฟาวดรีโมโนไทป์ คอร์ปอเรชั่น
วันที่เผยแพร่1934
ออกแบบมาจากStymie
Venus Egyptienne

ร็อกเวลล์ (Rockwell) เป็นไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ออกแบบโดยโมโนไทป์ คอร์ปอเรชั่น และวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2477[1][2] โครงการนี้ได้รับการดูแลโดยแฟรงก์ ฮินแมน เพียร์พอนต์ (|Frank Hinman Pierpont) ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของโมโนไทป์ ไทป์เฟซนี้โดดเด่นด้วยเชิงที่ปลายสุดของตัวพิมพ์ใหญ่ A ในขณะที่ตัวพิมพ์เล็ก a มีสองชั้น เนื่องจากน้ำหนักของลายเส้นคงที่ (นั่นคือ แทบไม่เห็นความแตกต่างของความหนา/บางในลายเส้น ดังนั้นรูปลักษณ์ตัวอักษรจึงมีความหนาเท่ากันทั้งหมด)[3] ผู้คนเน้นใช้ร็อกเวลล์ใช้สำหรับการแสดงผล แทนที่จะเป็นข้อความเนื้อหา

ร็อกเวลล์เป็นไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากเรขาคณิตที่มีโครงสร้างแบบโมโนไลน์ โดยลายเส้นทั้งหมดจะมีความหนาพอๆ กัน และตัวพิมพ์ใหญ่ O ดูละม้ายคล้ายวงกลม จึงให้ความรู้สึกคล้ายกับไทป์เฟซแบบไม่มีเชิงทั่วไปในยุคนั้น เช่น Akzidenz Grotesk, Franklin Gothic หรือ Futura[4] ร็อกเวลล์ได้รับอิทธิพลจากสไตล์ของเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากเรขาคณิตที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลานั้น รวมถึง Memphis และ Beton ที่มีมาก่อนหน้า และ Stymie และ City ที่คล้ายคลึงกันน้อยกว่า[5]

Bitstream เผยแพร่ไทป์เฟซชื่อ Geometric Slabserif 712 ที่มีลักษณะเหมือนกับร็อกเวลล์[6]

Vernon Adams ออกแบบไทป์เฟซ Rokkitt อันเป็นฟอนต์ที่เสรีและโอเพนซอร์ส โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากร็อกเวลล์[7][8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. W. Pincus Jaspert; W. Turner Berry; A.F. Johnson (1970) [1953]. Encyclopaedia of Type Faces (4th ed.). London: Blandford Press. p. 194. ISBN 0-7137-0191-9.
  2. Lucienne Roberts (1 November 2005). Drip-dry Shirts: The Evolution of the Graphic Designer. AVA Publishing. p. 32. ISBN 978-2-940373-08-6.
  3. "Type Styles". www.multimedia502.com. สืบค้นเมื่อ 2023-12-23.
  4. "Sentinel: historical background". Hoefler & Frere-Jones. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  5. Tam, Keith. "The revival of slab-serif typefaces in the 20th century" (PDF). University of Reading (MA thesis). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-13. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  6. "Geometric Slabserif 712 - Webfont & Desktop font « MyFonts". www.myfonts.com. สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
  7. "Rokkitt - Google Fonts". fonts.google.com. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
  8. "Rokkitt typeface". Font Squirrel. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.