ข้ามไปเนื้อหา

รักระหว่างรบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รักระหว่างรบ
ชื่อภาพยนตร์ของปี ค.ศ. 1932
ผู้ประพันธ์เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์
ศิลปินปกCleonike "Cleon" Damianakes[1]
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ประเภทสัจนิยม
พิมพ์1929 (Scribner)
ชนิดสื่อพิมพ์ (หนังสือปกหนา)
หน้า355

รักระหว่างรบ (อังกฤษ: A Farewell to Arms) เป็นนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติที่เขียนโดยเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ และได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955รักระหว่างรบ” เป็นเรื่องราวจากทัศนะของร้อยเอกของกองทัพอเมริกันเฟรเดอริค เฮนรีผู้ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถพยาบาลในกองทัพอิตาลีระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ชื่อของหนังสือ “A Farewell to Arms” มาจากโคลงที่เขียนโดยจอร์จ พีลกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษของคริสต์ศตวรรษที่ 16[2] กล่าวกันว่านวนิยายเรื่องนี้เขียนขึ้นที่บ้านของครอบครัวทางภรรยาในอาร์คันซอ[3] และที่บ้านของเพื่อนในแคนซัสขณะที่ภรรยาของเพื่อนกำลังรอคลอดลูก[4]

รักระหว่างรบ” เป็นงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญที่โมเดิร์นไลบรารีจัดให้เป็นลำดับที่เจ็ดสิบสี่ของนวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่องโดยโมเดิร์นไลบรารี (Modern Library 100 Best Novels) ในบรรดานวนิยายที่ถือว่าดีเด่นของคริสต์ศตวรรษที่ 20[5]

รักระหว่างรบ” ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยสองครั้ง ครั้งแรกโดยอาษา ขอจิตต์เมตต์ และครั้งที่สองโดยสายธาร

การดัดแปลง

[แก้]

รักระหว่างรบ” ได้รับการสร้างเป็นบทละครในปี ค.ศ. 1930 และภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 1932 และต่อมาในปี ค.ศ. 1957 ในปี ค.ศ. 2024 ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ นำแสดงโดย ทอม บลายธ์ และ โอลิเวีย คุก กำกับโดย ไมเคิล วินเทอร์บ็อททัม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cover stories: beautiful book-jacket designs – in pictures | Books | The Guardian Retrieved 2019-06-23.
  2. "George Peele: A Farewell to Arms (To Queen Elizabeth)". The DayPoems Poetry Collection. สืบค้นเมื่อ 2008-05-19.
  3. "Hemingway-Pfeiffer Home Page". Arkansas State University. สืบค้นเมื่อ 2007-01-30.
  4. http://www.kansascity.com/hemingway/story/217585.html
  5. "100 Best Novels". Random House. 1999. สืบค้นเมื่อ 2007-06-23. This ranking was by the Modern Library Editorial Board เก็บถาวร 2010-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of authors and critics.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]