ข้ามไปเนื้อหา

ระบบเตือนภัยล่วงหน้าและควบคุมทางอากาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าทางอากาศ Boeing E-3 Sentry ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าทางอากาศ Saab 340 ของกองทัพอากาศไทย

ระบบเตือนภัยล่วงหน้าและควบคุมทางอากาศ (อังกฤษ: Airborne early warning and control) หรือย่อเป็น AEW&C คือระบบเตือนภัยล่วงหน้าทางอากาศด้วยเรดาร์ ถูกออกแบบให้ตรวจจับและติดตามอากาศยาน, เรือ, ยวดยาน, มิสไซล์ หรือวัตถุอื่นใดที่เคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์เข้าใกล้จากระยะไกลมาก และสามารถพิสูจน์ฝ่ายของอากาศยานว่าเป็นมิตรหรือข้าศึกแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังมีความสามารถควบคุมบังคับบัญชาพื้นที่การรบในการปะทะทางอากาศ ด้วยการแจ้งเตือนการมีอยู่ของข้าศึกและชี้ตำแหน่งข้าศึกให้แก่เครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีของฝ่ายตนโดยตรงแบบเรียลไทม์ โดยไม่ต้องผ่านกองบัญชาการบนภาคพื้นดิน[1]

AEW&C คือระบบเรดาร์ลอยฟ้าซึ่งมีพิสัยตรวจจับหลายร้อยกิโลเมตร (ไกลกว่าเรดาร์ภาคพื้นดิน) จึงช่วยให้ฝ่ายตนสามารถมองเห็นภัยคุกคามล่วงหน้าเป็นระยะเวลาหลายนาที ทำให้ฝ่ายตนมีเวลาดำเนินมาตรการรับมือภัยคุกคาม การมีระบบนี้ทำให้เครื่องบินรบฝ่ายตนทราบข้อมูลข้าศึกแบบเรียลไทม์ (ต่างจากการรับแจ้งผ่านกองบัญชาการ ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลแบบเรียลไทม์) ไม่เท่านั้น เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าบางลำยังมีขีดความสามารถทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถปล่อยคลื่นก่อกวนระบบอาวุธและการสื่อสารของข้าศึก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Neufeld 1997, p. 276.