ข้ามไปเนื้อหา

ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
A scanning electron microscope image of a single human lymphocyte

ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (อังกฤษ: specific immune system) หรือ ระบบภูมิคุ้มแบบปรับตัว (adaptive), ระบบภูมิคุ้มกันแบบรับมา (acquired) เป็นระบบย่อยอย่างหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน และกระบวนการต่างๆ ที่ร่วมกันเพื่อกำจัดหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค อีกระบบหนึ่งที่มีคู่กันคือระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด

ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะมีความแตกต่างจากระบบภูมิคุ้มกันแบบดั้งเดิมหลายด้าน ด้านหนึ่งก็คือความจำเพาะ กล่าวคือระบบนี้จะสร้างภูมิคุ้มกันที่ทำงานอย่างจำเพาะเจาะจงกับเชื้อก่อโรคหรือแอนติเจนแต่ละชนิด นอกจากนี้ยังทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่ป้องกันได้เป็นเวลานานอีกด้วย เช่นคนที่เคยเป็นโรคติดเชื้อบางชนิด (เช่น โรคหัด) เมื่อหายแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดไปเรื่อยๆ ภูมิคุ้มกันแบบนี้อาจคงอยู่ได้ตลอดชีวิตหรือไม่ก็ได้

แอนติบอดีซึ่งสร้างจากเซลล์บีจะล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด และสามารถไปจับกับแอนติเจนแปลกปลอม ทำให้ยับยั้งการทำงานของแอนติเจนนั้นได้ เช่น ทำให้เชื้อก่อโรคซึ่งมีแอนติเจนนั้นๆ ไม่สามารถจับกับเซลล์ของร่างกายได้[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Alberts B, Johnson A, Lewis J, Raff M, Roberts K, Walters P (2002). Molecular Biology of the Cell (4th ed.). New York and London: Garland Science. ISBN 0-8153-3218-1.