ระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก
ประเภท | ความหลากหลายทางชีวภาพ, ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ |
---|---|
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
ยูอาร์แอล | www |
เชิงพาณิชย์ | ไม่ |
เปิดตัว | พ.ศ. 2544 |
สถานะปัจจุบัน | ดำเนินการ |
ระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก (อังกฤษ: Global Biodiversity Information Facility, GBIF) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นการสร้างข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพที่พร้อมใช้งานโดยบริการบนเว็บผ่านทางอินเทอร์เน็ต[1] ข้อมูลนี้จัดทําโดยสถาบันหลายแห่งจากทั่วโลก สถาปัตยกรรมข้อมูลของ GBIF ทําให้ข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้และค้นหาได้ผ่านเว็บท่าเดียว ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบของ GBIF ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลการกระจายของพืช สัตว์ เชื้อรา และจุลินทรีย์ทั่วโลก รวมถึงข้อมูลชื่อทางวิทยาศาสตร์
ภารกิจของ GBIF คือการอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกอย่างเสรีและเปิดกว้างเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน[1] โดยลําดับความสําคัญคือเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการทํางานผ่านพันธมิตรได้แก่ การระดมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพการพัฒนาเกณฑ์วิธีและมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจในบูรณภาพของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการทํางานร่วมกันการสร้างสถาปัตยกรรมสารสนเทศเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงประเภทข้อมูลที่หลากหลายจากแหล่งที่แตกต่างกัน ส่งเสริมการสร้างขีดความสามารถและเร่งการพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น[1][2]
GBIF มุ่งมั่นที่จะสร้างการเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างแหล่งข้อมูลดิจิทัลจากองค์กรชีวภาพทุกสาขาตั้งแต่เรื่องยีนไปจนถึงระบบนิเวศ และเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้กับประเด็นที่สําคัญต่อวิทยาศาสตร์ สังคม และความยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือกำหนดค่าพิกัดอ้างอิงทางภูมิศาสตร์และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ทํางานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ เช่น ความร่วมมือกับ บัญชีตรวจสอบชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิต (Catalogue of Life), มาตรฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Information Standards, TDWG), ความร่วมมือด้านแท่งรหัสของสิ่งมีชีวิตระหว่างประเทศ (Consortium for the Barcode of Life, CBOL), สารานุกรมแห่งชีวิต (EOL) และ GEOSS ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่มีในระบบของ GBIF เพิ่มขึ้นมากกว่า 1,150% ในทศวรรษที่ผ่านมา บางส่วนเกิดจากการมีส่วนร่วมของนักวิทยาศาสตร์พลเมือง[3][4]
ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ถึง 2557 GBIF ได้มอบรางวัลระดับโลกประจําปีในด้านสารสนเทศความหลากหลายทางชีวภาพ รางวัลเอ็บเบ นีลเซน (Ebbe Nielsen Prize) ซึ่งมีเงินรางวัลมูลค่า 30,000 ยูโร ใน พ.ศ. 2561 สํานักเลขาธิการ GBIF จัดให้มีรางวัลประจําปีอีกสองรางวัลคือ รางวัลจากการแข่งขันเอ็บเบ นีลเซนชาเลนจ์ (Ebbe Nielsen Challenge) และรางวัลนักวิจัยเยาวชน (Young Researchers Award)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "What is GBIF?". www.gbif.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ O'Brien, Colleen (31 กรกฎาคม 2017). "Open-source species location data supports global biodiversity analyses". Mongabay Environmental News.
- ↑ Heberling, J. Mason; Miller, Joseph T.; Noesgaard, Daniel; Weingart, Scott B.; Schigel, Dmitry (9 กุมภาพันธ์ 2021). "Data integration enables global biodiversity synthesis". Proceedings of the National Academy of Sciences. 118 (6): e2018093118. Bibcode:2021PNAS..11820180M. doi:10.1073/pnas.2018093118. PMC 8017944. PMID 33526679.
- ↑ "Big Data Accelerates Biodiversity Research - News - Carnegie Mellon University". www.cmu.edu (ภาษาอังกฤษ). Carnegie Mellon University. 26 มีนาคม 2021.
- ↑ "Ebbe Nielsen Challenge". www.gbif.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- GBIF taxon ID (P846) (ดูเพิ่มที่จำนวนการใช้)
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Images from GBIF
- เว็บไซต์ทางการ
- คำอธิบายอย่างย่อของ GBIF
- เครือข่าย GBIF
- ค้นหาผู้เผยแพร่ข้อมูลใน GBIF