ยูกิโกะ โอกาดะ
ยูกิโกะ โอกาดะ 岡田 有希子 | |
---|---|
โอกาดะในปี พ.ศ. 2527 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | คาโยะ ซาโต (佐藤佳代) |
รู้จักในชื่อ | ยุกโกะ |
เกิด | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2510 อิชิโนะมิยะ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 8 เมษายน พ.ศ. 2529 (18 ปี) ชินจูกุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
อาชีพ | นักร้อง, นักแสดง, นางแบบ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2526 2529 |
ค่ายเพลง | โพนีแคนยอน |
ยูกิโกะ โอกาดะ | |
---|---|
ลายมือชื่อ | |
ยูกิโกะ โอกาดะ (ญี่ปุ่น: 岡田 有希子; โรมาจิ: Okada Yukiko) หรือชื่อเดิม คาโยะ ซาโต (ญี่ปุ่น: 佐藤佳代; โรมาจิ: Satō Kayo, 22 สิงหาคม พ.ศ. 2510 – 8 เมษายน พ.ศ. 2529) เป็นไอดอลหญิงชาวญี่ปุ่น
โอกาดะเป็นศิลปินรุ่นเดียวกันกับมินาโกะ ฮนดะ, โยโกะ มินามิโนะ[1] และ โยโกะ คิกูจิ
ชีวิตในวัยเด็ก
[แก้]"ยูกิโกะ โอคาดะ" หรือชื่อเกิดคือ "คาโยะ ซาโต" เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ที่เมืองอิชิโนะมิยะ จังหวัดไอจิ ต่อมาครอบครัวของเธอได้ย้ายไปที่เมืองนาโงยะ
ในช่วงชีวิตวัยมัธยมต้นของโอกาดะ ความฝันของเธอคืออยากเป็นนักร้องไอดอลและสมัครเข้าร่วมการออดิชันทุกอย่าง แต่เธอถูกปฏิเสธทุกครั้งจนกระทั่งวันหนึ่งเธอก็ได้เข้าร่วมรายการประกวดร้องเพลงที่มีชื่อว่า "สตาร์ ทังโจ" ทางสถานีโทรทัศน์นิปปงทีวี โดยโอกาดะได้ร้องเพลง "มายบอยเฟรนด์" ของซาวาโกะ คิตาฮาระ และร้องเพลง "สโลว์โมชัน" ของอากินะ นากาโมริ ในรอบสุดท้ายซึ่งเธอได้รับรางวัลขนะเลิศในเดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2526 [2][3]
เข้าสู่วงการบันเทิง
[แก้]เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2527 โอกาดะได้เปิดตัวผลงานซิงเกิลแรก "เฟิสต์เดท" เพลงนี้เขียนโดย "มาริยะ ทาเกอูจิ" เธอมีชื่อเล่นว่า "ยุกโกะ" (ユッコ) ตั้งโดยแฟนคลับของเธอ ซึ่งเป็นชื่อย่อทั่วไปของชื่อ "ยูกิโกะ" ในภาษาญี่ปุ่น
ในปีนั้น โอกาดะ ได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่แห่งปี และได้รับรางวัล เจแปน เรคคอร์ด อวอร์ด ครั้งที่ 26 สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปี[1] สำหรับซิงเกิลที่ 3 ของเธอ "-ดรีมมิงเกิร์ล- โคอิ, ฮาจิเมมาชิเตะ" ซึ่งเขียนโดย ทาเกอูจิ[4][5]
โอกาดะรับบทนำในละครโทรทัศน์เรื่องแรกของเธอ ในเรื่อง Kinjirareta Mariko ( The Forbidden Mariko ) ในปี 1985 ต่อมาก็ได้ปล่อยซิงเกิลที่ 8 "คูจิบิรุ เน็ตเวิร์ก" ปี 1986 เขียนโดย เซโกะ มัตสึดะ และแต่งโดย รีวอิจิ ซากาโมโตะ ซึ่งซิงเกิลนี้ได้ขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตซิงเกิลรายสัปดาห์ของออริคอน ประจำวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986
การเสียชีวิตและผลกระทบ
[แก้]วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2529 โอกาดะถูกพบว่ามีบาดแผลที่ข้อมือในห้องอพาร์ตเมนต์ที่เต็มไปด้วยแก๊ส โดยสภาพของเธอนั้นหมอบอยู่ในตู้เสื้อผ้าและร้องไห้ เธอถูกค้นพบโดยทีมกู้ภัยที่เรียกโดยผู้จัดการส่วนตัวของเธอ หลังจากที่ชาวบ้านคนอื่นได้กลิ่นของก๊าซ
ในบทความปี พ.ศ. 2559 จากหนังสือพิมพ์ "อาซาฮีรายสัปดาห์", อดีตกรรมการผู้จัดการซันมิวสิค "โทกิโอะ ฟูกูดะ"[6] ได้เล่าเหตุการณ์นั้นว่า "ฮิเดโยชิ ไอซาวะ" ผู้ก่อตั้งสังกัดซันมิวสิค เรียกให้เขาไปรับตัวโอกาดะจากที่โรงพยาบาล เมื่อเขาพบเธอ เธอก็ร้องไห้เบาๆ จากนั้นเขาก็ถามเธอว่า "เธออยากจะไปไหนเหรอ? ไปบ้านของพ่อแม่ในนาโงยะ, อพาร์ทเมนต์หรือที่ทำงาน?" เธอตอบกลับว่า "ที่ทำงาน" หลังจากนั้น เธอถูกนำตัวส่งไปยังชั้นที่ 6 ของตึก จากนั้นไอซาวะก็เรียกฟูกูดะพาเขาก้าวออกไป[7]
ในขณะที่ผู้จัดการอาคารและทีมงานกำลังคุยกันว่า "เราจะหลีกเลี่ยงเรื่องอื้อฉาวของสื่อมวลชนได้อย่างไร?" โอกาดะก็วิ่งขึ้นไปที่บันไดถอดรองเท้าแล้วกระโดดลงมาจากตึกชั้นที่ 7 ทำให้เสียชีวิตในเวลา 12:15 น.[8][9]
โดยยังไม่ทราบสาเหตุของการฆ่าตัวตายของเธอ ถึงจะมีการคาดเดาว่าเป็นเพราะโอกาดะต้องการมีความสัมพันธ์กับ "โทรุ มิเนกิชิ" ที่เธอกับมิเนกิชิอายุห่างกัน 24 ปี ซึ่งสาเหตุที่ปฏิเสธเธอมาก่อน เนื่องจากโอกาดะได้เขียนในจดหมายว่า "ฉันนึกถึงใครบางคน"[10] เมื่อตอบกลับถึงสาเหตุที่เธอพยายามฆ่าตัวตายที่อพาร์ตเมนต์ของเธอและผู้จัดการของเธอพบบันทึกที่เขียนโดยโอกาดะ ซึ่งอธิบายถึงความปรารถนาที่อยากจะอยู่กับมิเนกิชิ บางส่วนของบันทึกเหล่านี้ลงท้ายด้วย: "ฉันอยากพบเขาอีกครั้ง" และ "หัวใจของฉันไม่มีที่จะไปแล้ว"[11]
แฟนคลับของเธอต่างตกใจและจิตใจแตกสลายกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของเธอ ส่งผลกระทบให้เกิดเหตุการณ์การฆ่าตัวตายเลียนแบบหรือ copycat suiside เป็นจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่น
ต่อมาไม่นาน เหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้รับการขนานนามว่า "ยุกโกะ ซินโดรม" (yukko syndrome) โดยมีการคาดว่าเมื่อ 10 วันก่อนหน้านั้นนักแสดงและไอดอลสาวที่มีชื่อว่า "ยาซูโกะ เอนโด" ที่เธอได้กระโดดจากดาดฟ้าเพื่อฆ่าตัวตายด้วยวัยเพียงแค่ 18 ปี[12][13]
ส่วนศพโอกาดะได้ถูกนำไปเผาทำพิธีกรรมทางศาสนา[13] และอัฐิของเธอถูกฝังไว้ในหลุมฝังศพที่วัดพุทธ โจมันจิ, นาโงยะ ประเทศญี่ปุ่น[1]
ผลงานเพลง
[แก้]ซิงเกิล
[แก้]- "First Date" (1984) Glico's Cafe Jelly jingle
- "Little Princess" (1984)
- "Dreaming Girl-Koi, Hajimemashite" (1984) Glico's "Special Chocolate" jingle
- "Futari Dake no Ceremony" (1985) Toshiba's "Let's Chat" jingle
- "Summer Beach" (1985) Glico's Cafe Jelly jingle
- "Kanashii Yokan" (1985)
- "Love Fair" (1985) Glico's Cecil Chocolate jingle
- "Kuchibiru Network" (1986) Kanebo's lipstick commercial
- "Hana no Image" (1986) [released posthumously]
- "Believe in You" (strings version 2002) [released posthumously]
อัลบั้ม
[แก้]- ญี่ปุ่น: シンデレラ; Cinderella)
- ญี่ปุ่น: 贈りもの; โรมาจิ: Okurimono; Gift (Compilation Album)
- Fairy
- ญี่ปุ่น: 十月の人魚; โรมาจิ: Jyūgatsu no Ningyo; October Mermaid
- ญี่ปุ่น: 贈りものII; โรมาจิ: Okurimono II; Gift II (Compilation Album)
- ญี่ปุ่น: ヴィーナス誕生; โรมาจิ: Venus Tanjō; Birth of Venus
- ญี่ปุ่น: 贈りものIII; โรมาจิ: Okurimono III; Gift III (Heritage, released posthumously) (Compilation Album)
- All Songs Request (posthumous singles collection)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "岡田有希子、没後30年 南野陽子が「"ゴミ箱"が私だった」と思い出語る" [Yukiko Okada, 30 years after her death; Yoko Minamino recalls, "Trash can was me"] (ภาษาญี่ปุ่น). Weekly Asahi (ตีพิมพ์ 15 April 2016). 8 April 2016. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
- ↑ Yukiko Okada | ไอดอลชื่อดังผู้จบชีวิตในวัยเพียง 18 เพราะความรัก ! (ประวัติศาสตร์ Jpop) Youtube สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2022
- ↑ Childhood Yukiko Okada pantip.com
- ↑ "伝説のアイドル・岡田有希子のソングブックアルバムが異例のヒット! 在りし日の姿が甦るトレーラー映像も大好評" [The songbook album of the legendary idol Yukiko Okada is an exceptional hit! The trailer video that revives the appearance of the past day is also very popular] (ภาษาญี่ปุ่น). M-ON! MUSIC. 24 October 2019. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
- ↑ "岡田有希子さん×竹内まりやコンピ盤10・16発売「心から嬉しく思います」" [Yukiko Okada x Mariya Takeuchi compilation album 10/16 released "I'm really happy"] (ภาษาญี่ปุ่น). ORICON MUSIC. 28 October 2019. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
- ↑ "サンミュージック波乱の50年 引きずった岡田有希子の死「お父さんの一言に救われた」" [50 years of Sun Music upheaval, Yukiko Okada's death, "I was saved by a word from her father"] (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon News. 11 November 2018. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
- ↑ "「愛情をください」と訴えた岡田有希子 死の直前、シクシク泣いて「事務所へ行きたい」" [Yukiko Okada who complained "Please love me" Just before her death, she cried and "I want to go to the office"] (ภาษาญี่ปุ่น). Weekly Asahi (ตีพิมพ์ 19 August 2016). 12 August 2016. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
- ↑ "Yukiko Okada"[ลิงก์เสีย]. ACA Music. Retrieved May 23, 2015.
- ↑ Yosha Research [ลิงก์เสีย]
- ↑ Okada Yukiko เก็บถาวร กรกฎาคม 22, 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ John Greenless, Paradox ò Japan Epidemic of suicides among young people, The Glasgow Herald – 11. Apr. 1987, trang 37
- ↑ Japanese Society Since 1945 by Edward R. Beauchamp, Taylor & Francis, 1998, ISBN 0-8153-2732-3, trang 97
- ↑ 13.0 13.1 William Wetherall, "Japanese youth and the Yukko Syndrome", Far Eastern Economic Review, July 17, 1986, available at The suicide of Okada Yukiko
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ยูกิโกะ โอคาดะ ที่ มายสเปซ
- ยูกิโกะ โอคาดะ เก็บถาวร 2016-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ ไฟนด์อะเกรฟ