มะแว้งต้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะแว้งต้น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Solanales
วงศ์: Solanaceae
สกุล: Solanum
สปีชีส์: S.  violaceum
ชื่อทวินาม
Solanum violaceum
Ortega 1798
ชื่อพ้อง
รายการ
  • Solanum agreste Roth
  • Solanum chinense Dunal
  • Solanum coccineum Dunal
  • Solanum cuneatum Moench
  • Solanum erosum Van Heurck & Müll.Arg.
  • Solanum ferox Jungh. ex Miq.
  • Solanum heynii Roem. & Schult.
  • Solanum himalense Dunal
  • Solanum indicum L.
  • Solanum indicum f. album C.Y.Wu & S.C.Huang
  • Solanum indicum var. recurvatum C.Y.Wu & S.C.Huang
  • Solanum junghuhnii Miq.
  • Solanum kurzii Brace ex Prain
  • Solanum lividum Willd. ex Dunal
  • Solanum nelsonii Zipp. ex Span.
  • Solanum nivalo-montanum C.Y.Wu & S.C.Huang
  • Solanum pinnatifidum Roth
  • Solanum pubescens Heyne ex Walp.
  • Solanum racemosum Noronha
  • Solanum sanitwongsei Craib
  • Solanum sodomeum Russ. ex Nees
  • Solanum vincentii Delile ex Dunal
  • Solanum virginianum Russ. ex Wall.

มะแว้งต้น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Solanum violaceum) เป็นพืชในสกุลมะเขือ กระจายพันธุ์ในอินเดีย จีน และอินโดจีน[2] ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1–1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่หรือขอบขนาน เรียงสลับกัน ขนาด 4–10 x 6–12 เซนติเมตร โคนใบป้านกว้าง ขอบใบหยักเว้าหรือเป็นแฉกมน ๆ ไม่สม่ำเสมอกัน ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง มีดอกย่อย 2–8 ดอก ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบเช่นกัน มีอับเรณูสีเหลือง มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลกลมสีเขียวขนาดราว 1 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีแดง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก[3]

การใช้ประโยชน์[แก้]

ตำรายาไทยระบุว่าผลมะแว้งต้นมีรสขมขื่นเปรี้ยว ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยให้เจริญอาหาร รากมะแว้งต้นมีรสขมขื่นเปรี้ยวเช่นกัน มีสรรพคุณแก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต กัดเสมหะ[3] นอกจากนี้ยังเข้ากับสมุนไพรอื่นเป็นยาประสะมะแว้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจในบัญชียาหลักแห่งชาติ[4]

ผลมะแว้งต้นรับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก แต่นิยมน้อยกว่ามะแว้งเครือ ลูกมะแว้งต้นมีวิตามินเอค่อนข้างสูง ชาวกะเหรี่ยงนำผลมาใส่แกงหรือน้ำพริก[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Solanum violaceum Ortega - Plants of the World Online - Kew Science". สืบค้นเมื่อ March 3, 2020.
  2. "Solanum violaceum Ortega". World Flora Online. สืบค้นเมื่อ March 3, 2020.
  3. 3.0 3.1 คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 550–551, พ.ศ. 2558, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  4. "บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ฉบับลงราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 19 มีนาคม 2562)". ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-02. สืบค้นเมื่อ March 3, 2020.
  5. ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มะแว้งต้น
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Solanum violaceum ที่วิกิสปีชีส์