มะเค็ด
มะเค็ด | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Gentianales |
วงศ์: | Gelsemiaceae |
สกุล: | Gelsemium |
สปีชีส์: | G. elegans |
ชื่อทวินาม | |
Gelsemium elegans (Gardner & Chapm.) Benth. |
มะเค็ด ก๊กม่วน เพชฌฆาตสีทอง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gelsemium elegans) เป็นพืชสกุล Gelsemium ลักษณะเป็นไม้เถาหรือไม้รอเลื้อย ใบเดี่ยวออกตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 1–5 เซนติเมตร ยาว 5–6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงตามปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 12 เซนติเมตร โคนช่อดอกและโคนดอกมีใบประดับเล็ก ๆ ดอกสีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้ม กลีบเลี้ยงรูปไข่ 5 กลีบ กว้าง 1–1.5 มิลลิเมตร ยาว 2–2.5 มิลลิเมตร กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดยาว 7–9 มิลลิเมตร ปลายแยก 5 กลีบ กว้าง 3–5 มิลลิเมตร ยาว 4–6 มิลลิเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 3–14 มิลลิเมตร รังไข่อยู่เหนือชั้นกลีบดอก มี 2 ช่อง ก้านเกสรตัวเมียยาว 8–12 มิลลิเมตร ผลแบบแห้งแตก รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 3–4 มิลลิเมตร ยาว 4–10 มิลลิเมตร ภายในมีเมล็ดรูปรีขนาดเล็กมาก 8–10 เมล็ด[1]
มะเค็ดกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2] ในประเทศไทยพบตามป่าดิบเขาและป่าดิบชื้น ความสูง 600–1500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล[3] น้ำยางของมะเค็ดมีสารแอลคาลอยด์พิษ เช่น เจลเซมีน เจลเซมิซีน เจลเซวิรีน คูมีนและคูมินีน[4][5] ทำให้สมองมึนงง รู้สึกสับสน กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง สั่นและชัก[6] ในค.ศ. 2012 มีรายงานผู้เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นหลังได้รับพิษชนิดนี้ในประเทศจีน[7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บันสิทธิ์, จารีย์ (1994). "การศึกษาลักษณะพฤกษศาสตร์ของพืชพิษบางชนิด" (PDF). วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 36 (4): 274. สืบค้นเมื่อ July 15, 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Gelsemium elegans". Useful Tropical Plants. สืบค้นเมื่อ July 15, 2021.
- ↑ "มะเค็ด (Gelsemium elegans (Gardner & Champ.) Benth.) - สารานุกรมพืช". พฤกษศาสตร์ป่าไม้ - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ July 15, 2021.
- ↑ Jin, G. L; Su, Y. P; Liu, M; Xu, Y; Yang, J; Liao, K. J; Yu, C. X (2014). "Medicinal plants of the genus Gelsemium (Gelsemiaceae, Gentianales)—A review of their phytochemistry, pharmacology, toxicology and traditional use". Journal of Ethnopharmacology. 152 (1): 33–52. doi:10.1016/j.jep.2014.01.003. PMID 24434844.
- ↑ Rujjanawate, C; Kanjanapothi, D; Panthong, A (2003). "Pharmacological effect and toxicity of alkaloids from Gelsemium elegans Benth". Journal of Ethnopharmacology. 89 (1): 91–5. doi:10.1016/s0378-8741(03)00267-8. PMID 14522437.
- ↑ "เพชฌฆาตสีทอง - พืชมีพิษ". โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ. สืบค้นเมื่อ July 15, 2021.
- ↑ "เศรษฐีจีนดับอนาถ! ถูกวางยาในซุปเนื้อแมว ขัดแย้งธุรกิจมืด". ไทยรัฐ. January 6, 2012. สืบค้นเมื่อ July 15, 2021.
- ↑ "China tycoon 'ate poisoned cat-meat stew'". BBC. January 4, 2012. สืบค้นเมื่อ July 15, 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มะเค็ด
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Gelsemium elegans ที่วิกิสปีชีส์