มหรรษิ มเหศ โยคี
มหรรษิ มเหศ โยคี | |
---|---|
มหรรษิเมื่อปี 1978 | |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | มเหศ ปรสาท วรรมา 12 มกราคม 1918 |
มรณภาพ | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 | (90 ปี)
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
ก่อตั้ง | ขบวนการการทำสมาธิแบบพ้นโลก โกลบอลคันทรีฟอร์เวิลด์พีช |
ปรัชญา | การทำสมาธิแบบพ้นโลก |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ครู | พรหมานันทะ สรัสวดี |
เกียรติยศ | มหรรษิ (มหาฤษี) |
มหรรษิ มเหศ โยคี (อักษรโรมัน: Maharishi Mahesh Yogi) หรือนามเมื่อเกิด มเหศ ปรสาท วรรมา (อักษรโรมัน: Mahesh Prasad Varma, 12 มกราคม 1918[2] – 5 กุมภาพันธ์ 2008) เป็นคุรุด้านโยคะยุคใหม่[3] ชาวอินเดีย เป็นที่รู้จักจากการพัฒนาและสร้างความนิยมให้แก่การทำสมาธิแบบพ้นโลก (Transcendental Meditation; TM) และเป็นคุรุผู้นำองค์การระดับโลกที่ถูกมองว่าเป็นขบวนการศาสนาใหม่ ไปจนถึงว่าไม่ใช่กลุ่มทางศาสนา[4][5][6] ท่านได้รับการเรียกขานให้เป็น มหรรษิ (มหาฤาษี)[1][7] และ โยคี[8][9]
ท่านจบการศึกษาด้านฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอลาหาบาดในปี 1942 และฝากตัวเข้าเป็นศิษย์ของสวามี พรหมานันทะ สรัสวดี (หรือที่รู้จักในชื่อ "คุรุเทพ") ผู้เป็นศังกราจารย์หรือผู้นำทางจิตวิญญาณของอารามชโยตีรมัฐในเทือกเขาหิมาลัยของอินเดีย มหรรษิเคยกล่าวถึงสวามีว่าเป็นผู้มีอิทธิผลต่อคำสอนของตนอย่างมาก ในปี 1955 มหรรษิเริ่มแนะนำหลักการทำสมาธิลึกแบบพ้นโลก (Transcendental Deep Meditation และต่อมาเรียกใหม่ว่า การทำสมาธิแบบพ้นโลก; Transcendental Meditation) สู่อินเดียและโลก รวมถึงมีการเดินทางสอนการทำสมาธิแบบนี้ครั้งแรกในรูปของเวิลด์ทัวร์ในปี 1958[10] ผู้ศรัทธาในท่านเรียกแทนท่านว่า สาธุคุณ (His Holiness)[11] และเนื่องมาจากการหัวเราะบ่อยครั้งมากเกินในการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ในช่วงแรก ๆ ทำให้มหรรษิบางครั้งถูกเรียกว่า "คุรุเส้นตื้น" ("giggling guru")[12][13]
มีการรายงานไว้ว่ามหรรษิได้ฝึกฝนผู้สอนการทำสมาธิแบบ TM ไปแล้วมากกว่า 40,000 คน, และสอนเทคนิกการทำสมาธินี้ให้แก่ผู้คนทั้วโลก "มากกว่าห้าล้านคน" รวมถึงยังก่อตั้งศูนย์ฝึกสอนการทำสมาธินี้หลายพันแห่ง วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และโรงเรียนกว่าหลายร้อยแห่ง[14][15] ในขณะที่บนเว็บไซต์ด้านการทำสมาธิ TM รายงานว่ามีผู้ศึกษาโปรแกรม TM-สิทธิ (TM-Sidhi) ไปมากกว่าหลายหมื่นคน ซึ่งมีสอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตอยู่ในหลายประเทศ เช่น อินเดีย แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐ และสหราชอาณาจักร[16] มหรรษิ ครอบครัว และคนใกล้ชิด ได้สร้างองค์กรการกุศล ไปจนถึงธุรกิจเพื่อผลกำไรมากมาย ซึ่งรวมถึงคลินิกทางการแพทย์, อาหารเสริมที่ขายทางไปรษณีย์ และฟาร์มออร์แกนิก มีการรายงานมูลค่าขององค์การหน่วยงานต่าง ๆ ของมหรรษิไว้ที่หลักล้านถึงพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และในปี 2008 องค์กรได้รายงานมูลค่าตนอยู่ที่ 300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[1]
ในปลายทศวรรษ 1960s ถึงต้นทศวรรษ 1970s มหรรษิกลายมาเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะคุรุของวงเดอะบีเทิลส์, เดอะบีชบอยส์ และเซเลบริตีอีกหลายคน ในปลายทศวรรษ 1970s มหรรษิได้ริเริ่มโครงการทีเอ็ม-สิทธิ (TM-Sidhi programme) ซึ่งมีเป้าหมายในพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจกับร่างกายผ่านเทคนิกอย่างการบินแบบโยคี[17] ในปี 1992 มหรรษิได้ก่อตั้งพรรคแนเชอรัลลอว์ ขึ้น และทำแคมเปญอยู่ในหลายประเทศ มหรรษิย้ายไปอาศัยใกล้กับวลอดรอพ ประเทศเนเธอร์นด์ ในปีเดียวกันนั้น[18] ในปี 2000 เขาได้สร้างโกลบอลคันทรีออฟเวิลด์พีช องค์การไม่แสวงผลกำไรขึ้น และในปี 2008 มหรรษิได้ประกาศเกษียณตนจากทุกกิจกรรมก่อนจะเงียบหายไปกระทั่งละสังขารในสามสัปดาห์ต่อมา[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Koppel, Lily (6 February 2008). "Maharishi Mahesh Yogi, Spiritual Leader, Dies". The New York Times.
- ↑ Yogi's passport. paulmason.info
- ↑ Chetan, Mahesh (5 March 2017). "10 Most Inspiring Yoga Gurus of India". Indian Yoga Association. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
- ↑ Beckford, James A. (1985). Cult controversies: the societal response to new religious movements. Tavistock Publications. p. 23. ISBN 978-0-422-79630-9.
- ↑ Parsons, Gerald (1994). The Growth of Religious Diversity: Traditions. The Open University/Methuen. p. 288. ISBN 978-0-415-08326-3.
- ↑ Chryssides, George D. (August 2000) "Defining the New Spirituality, CESNUR 14th International Conference, Riga, Latvia: "One possible suggestion is that religion demands exclusive allegiance: this would ipso facto exclude Scientology, TM and the Soka Gakkai simply on the grounds that they claim compatibility with whatever other religion the practitioner has been following. For example, TM is simply – as they state – a technique. Although it enables one to cope with life, it offers no goal beyond human existence (such as moksha), nor does it offer rites or passage or an ethic. Unlike certain other Hindu-derived movements, TM does not prescribe a dharma to its followers – that is to say a set of spiritual obligations deriving from one's essential nature."
- ↑ Weidmann, K.T. (1999). "Maharishi Mahesh Yogi". ใน von Dehsen, Christian (บ.ก.). Philosophers and Religious Leaders: An Encyclopedia of People Who Changed the World. Greenwood. p. 120. ISBN 978-1573561525.
- ↑ Mason (1994), p. 28
- ↑ Goldberg, Philip (2010). American Veda: from Emerson and the Beatles to yoga and meditation. Harmony Books, Crown Publishing/Random House. p. 362. ISBN 9780307719614.
- ↑ Oates, Robert M. (1976). Celebrating the dawn: Maharishi Mahesh Yogi and the TM technique. New York: G.P. Putnam's Sons. p. 40. ISBN 978-0-399-11815-9.
- ↑ Carlton, Jim (15 April 1991). "For $1,500 a Head, Maharishi Promises Mellower Inmates --- Transcendental Meditation Goes to Prison as Backers Try to Lock Up Contracts". The Wall Street Journal. New York, N.Y. p. A.1.
- ↑ Shankar, Jay (6 February 2008). "Maharishi Mahesh Yogi". Bloomberg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2012. สืบค้นเมื่อ 15 August 2010.
- ↑ Richardson, Mark (12 October 1993). "A leap of faith". The Ottawa Citizen. p. A.1.
- ↑ Hudson, Alexandra (6 February 2008). "Beatles Indian Guru Maharishi Mahesh Yogi". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2010.
- ↑ Page, Jeremy; Hoyle, Ben (6 February 2008). "Maharishi Mahesh Yogi Dies a Recluse". The Times. London.
- ↑ "Gifts of the Global Country of World Peace: Education Products Services". gifts.globalgoodnews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2010. สืบค้นเมื่อ 28 August 2010.
- ↑ Warren, Jenifer (27 October 1995). "Party Asks Voters to Put Their Faith in Meditation; Politics: Skeptics scoff at Natural Law Party's answer to nation's ills, but backers say they have more to offer". Los Angeles Times. p. 1.
- ↑ Koppel, Lily (8 October 2006). "Encounter: Outer Peace". The New York Times.
- ↑ Srinivasan, 2008. Hinduism For Dummies. John Wiley & Sons.
บรรณานุกรม
[แก้]- Coplin, J.R. (1990). Text and Context in the Communication of a Social Movement's Charisma, Ideology, and Consciousness: TM for India and the West (วิทยานิพนธ์ PhD). University of California, San Diego.
- Humes, C.A. (2005). "Maharishi Mahesh Yogi: Beyond the T.M. Technique". ใน Forsthoefel, Thomas A.; Humes, Cynthia Ann (บ.ก.). Gurus in America. SUNY Press. ISBN 0-7914-6573-X.
- Mason, Paul (1994). The Maharishi – The Biography of the Man Who Gave Transcendental Meditation to the World. Shaftsbury, Dorset: Element Books Ltd. ISBN 1-85230-571-1.
- Russell, Peter (1977). The T.M. Technique: An Introduction to Transcendental Meditation and the Teachings of Maharishi Mahesh Yogi. Routledge. ISBN 978-0-7100-8539-9.
- Wallace, Robert Keith (1986). The Physiology of Consciousness. Maharishi International University Press. ISBN 978-0-923569-02-0.
- Williamson, Lola (2010). Transcendent in America. New York University Press. ISBN 978-0-8147-9449-4.