ฟาเบิลเจิสกรันต์
ฟาเบิลเจิสกรันต์ | |
---|---|
ประเภท | หุ่นกระบอก สตอปโมชัน |
เค้าโครงจาก | เลน ฟัลเกอเนียร์ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | เนเธอร์แลนด์ |
จำนวนตอน | 1,640 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | ไตส์ คาโนฟสกี ลุก เดอ เลฟีตา |
ความยาวตอน | 4/5 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | เอ็นโอเอส (เนเธอร์แลนด์) เรเคร อา 2 (ฝรั่งเศส) RAI 1 / ทีเอ็มซ๊ (อิตาลี) NRK (นอร์เวย์) เอสวีที (สวีเดน) ไอทีวี (สหราชอาณาจักร) เอ็นเอชเค (ญี่ปุ่น) |
ออกอากาศ | 29 กันยายน ค.ศ. 1968 – 4 ตุลาคม ค.ศ. 1989 |
ฟาเบิลเจิสกรันต์ (ดัตช์: Fabeltjeskrant) หรือ เดอฟาเบิลเจิสกรันต์ (De Fabeltjeskrant แปลว่า "หนังสือพิมพ์นิทาน") เป็นซีรีส์โทรทัศน์สำหรับเด็กสัญชาติดัตช์ ซึ่งมีจุดเด่นด้านหุ่นกระบอกและสตอปโมชัน ซีรีส์นี้ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นใน ค.ศ. 1968 โดยเลน ฟัลเกอเนียร์ และผลิตโดยไตส์ คาโนฟสกี (ซีรีส์แรก) กับลุก เดอ เลฟีตา (ซีรีส์ที่สอง) ซีรีส์ชุดนี้จบลงใน ค.ศ. 1989 และได้รับการออกอากาศทางช่องเอ็นโอเอส, แอร์เตเอล 4 และแอร์เตเอล 8 ในประเทศเนเธอร์แลนด์[1] และทางช่องเฟแอร์เตในประเทศเบลเยียม ตลอดจนตั้งแต่ ค.ศ. 1973 ถึง 1975 ซีรีส์นี้ยังได้รับการจัดฉายในสหราชอาณาจักรทางไอทีวีโดยใช้ชื่อเดอะเดลีเฟเบิล[2]
เนื้อเรื่องย่อ
[แก้]ในแต่ละตอนจะมีการอิงเรื่องราวจากนิทานของฌ็อง เดอ ลา ฟงแตน, อีสป, ฟีดรัส และได้รับการออกแบบรายการโทรทัศน์โดยเลน ฟัลเกอเนียร์ ซึ่งตัวละครหลักคือ นกฮูก "เมอเนร์ เดอ เอยล์" ได้ทำการเสนอการอ่านนิทานแต่ละตอนให้แก่ตัวละครตัวอื่น ๆ บนต้นไม้ โดยมีสภาพแวดล้อมเป็นป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่ทำจากกระดาษนานาชนิดและออกอากาศตอนแรก ณ วันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1968 ทางช่องเอ็นโอเอส
ตัวละคร
[แก้]นามสกุล ของตัวละครทั้งหมดอิงจากสปีชีส์ของพวกมัน
- เมอเนร์ เดอ เอยล์ ("คุณนกฮูก") หรือ ยาโกบ เดอ เอยล์[3][4] เป็นนกฮูกและเป็นตัวละครหลักของซีรีส์ ส่วนในเวอร์ชันภาษาอังกฤษชื่อของมันคือ "มิสเตอร์อาวล์"[2]
- ตัวละครอื่น ๆ : ยึฟเฟรา โอยเยอฟาร์, โลวีเกอ เดอ โฟส, โกรกซ์ เดอ ราฟ (หรือเมอเนร์ เดอ ราฟ), บอร์ เดอ โวลฟ์, แอ็ด เบเฟอร์, วิลเลิม เบเฟอร์, ซุฟ เดอ ฮาส, สโตฟเฟิล เดอ สคิลด์ปัด, โมมเฟอร์ เดอ โมล, ตรืส เดอ เมียร์, แคร์ริต เดอ โปสต์เดยฟ์, ไมน์เดิร์ต แฮ็ต ปาร์ด, มือรา ฮัมสเตอร์, มาร์ตา ฮัมสเตอร์, วุฟดรัม, อีซาโดรา ปาราไดส์โฟเคิล, ดรุส เดอ เบร์, โยโดกึส เดอ มาร์โมต, ชีโก ลามา, ซาซา เซบรา, โยน มาราบู, เครตา โบนเตอกู, เติน สเตียร์, โอเลตา ฟึลเปกือลา, ฮาร์รี เลเปอลาร์, ปีต เดอ ปัด, ไตล์ สคาเฟยต์, แช็ฟเกอ สแค็ลม์, โรกึส เดอ ไฟรเยอ โฟเคิล, เปอไปน์ เดอ กาเตอร์, ติมเมอ เดอ โฮนด์, โปลนส์ เดอ กิกฟอร์ส, บลิงเกิร์ต เดอ บลีก, อาร์ตูร์ เดอ เลว, โฟลรา นัคเตอคาล, โจร์จ เด เวเซิล, สโตเกอบรันด์ เดอ มึค, มียา เดอ เมยเลอเซิล, เมาป์ เดอ เมยส์, มารียึส เดอ โบก, อีร์มา เดอ เกรเกิล, ออร์ม เดอ อาป, ตุเตอร์ เดอ โอลีฟันต์, กีร์เรอเกอ เดอ ตอร์เติลเดยฟ์, กูร์ เดอ ตอร์เติลเดยฟ์, ฟรียา โฟเริล, เกรตา 2, โฮนเจอ วุฟ, วาซา เดอ เบร์, เมลิส ดัส, ลามาร์ สนุสปุส, วุฟ แฮ็กตอร์, วิป เดอ เอกโฮร์น, คีส เดอ ฟลีค, อารี เดอ รัต, โบรีตา, กัส เดอ กราย และอาซา เดอ สปิน[5]
ในประเทศอื่น ๆ
[แก้]รายการนี้ได้รับการดัดแปลงในทวีปยุโรปหลายประเทศโดยมีชื่อเรื่องที่ต่างกัน:
- ฝรั่งเศส : เลอเปอตีเอโกเดอลาฟอแร[6] (ภาษาฝรั่งเศสหมายถึง เสียงสะท้อนเล็ก ๆ จากพงไพร)
- ฮังการี : ฟอบูลาชกอฮีแร็ก[7] (ภาษาฮังการีหมายถึง หนังสือพิมพ์นิทาน)
- อิสราเอล : ซีปูริมโป[8] (ภาษาฮีบรูหมายถึง เรื่องที่นี่)
- อิตาลี : อิลบอสโกเดย์แปร์เกะ[9][10] (ภาษาอิตาลีหมายถึง ต้นไม้แห่งคำถาม)
- นอร์เวย์ : ฟาเบลเนสบูก (ภาษานอร์เวย์หมายถึง หนังสือนิทาน)
- สวีเดน : ฟาเบลร์นัสแวลด์[11] (ภาษาสวีเดนหมายถึง โลกแห่งนิทาน)
- สหราชอาณาจักร : เดอะเดลีเฟเบิล
- เปรู : ลัสโกรนีกัสเดฟาบูลันเดีย (ภาษาสเปนหมายถึง บันทึกโลกนิทาน)[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ (ดัตช์) Infos on "Fabeltjesweb"
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Article on tvcream
- ↑ (ดัตช์) Meneer de Uil on "Fabeltjesweb"
- ↑ ดูเพิ่ม nl:Meneer de Uil
- ↑ (ดัตช์) List of the characters on "Fabeltjesweb"
- ↑ (ฝรั่งเศส) Article about "Le petit écho de la Forêt"
- ↑ ดูเพิ่ม: hu:Fabulácskahírek
- ↑ "מי ומה בפסטיבל 'צלילי ילדות'". habama. 9 September 2008. สืบค้นเมื่อ 18 December 2011.
בטלויזיה שיחק בשנות ה-70 בסידרה האהובה "הצריף של תמרי" ודובב סדרות מצויירות לילדים כמו: "נילס הולגרסן", "מסיפורי המלך בבר" ו"סיפורימפו".
- ↑ Article about "Il bosco dei perché" (อิตาลี)
- ↑ See also: it:Il bosco dei perché
- ↑ ดูเพิ่ม: sv:Fablernas värld
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- (ดัตช์) Fabeltjeskrant official site
- ฟาเบิลเจิสกรันต์ ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- (ดัตช์) Official video showing how an episode is made (WMV format)