พื้นไม้ลามิเนต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พื้นไม้ลามิเนต มีต้นกำเนิดจากประเทศในแถบยุโรป โดยมีประเทศเยอรมนีเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีการผลิต เป็นวัสดุปูพื้นที่มาทดแทนไม้ปาร์เก้ และไม้จริง โดยมีข้อดีกว่าด้วยคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่น 3 ข้อดังนี้

  • เวลาการติดตั้งที่รวดเร็วกว่า
  • ผิวหน้าสามารถทนทาน ต่อรอยขูดขีด แรงกดกระแทกได้ดีกว่า
  • สามารถเลือกสีผิวหน้าให้เป็นลวดลายที่ต้องการได้ ในขณะที่ไม้ปาร์เก้มีตาไม้จริง ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

คุณสมบัติ[แก้]

  • ผิวหน้ามีความทนทานต่อรอยขูดขีด
  • ผิวหน้าไม่ทำให้ลื่นล้ม
  • มีหลายสีให้เลือก ตามความชอบส่วนบุคคล
  • สามารถทนความร้อนได้ในระดับหนึ่ง ทนต่อสารเคมี และไม่ติดไฟ
  • พื้นไม่เก็บฝุ่นและเชื้อโรค ต่างจากพรม และกระเบื้อง
  • ทำความสะอาดได้ง่าย
  • เหมาะกับการใช้งานในร่ม ที่อยู่อาศัย ร้านค้า ห้องประชุม ทั้งนี้ควรเลือกรุ่นความแข็งแรงให้เหมาะสม

ความแข็งแกร่ง[แก้]

ความเชื่อที่ว่า พื้นไม้ลามิเนตยิ่งหนา ยิ่งแข็งแรงนั้นไม่ถูกต้องนัก โดยแท้จริงแล้วสามารถเทียบได้ดังนี้

  • ความหนาแน่นที่แกนกลาง แกนกลาง HDF ที่มีความหนาแน่นสูง จะทำให้สามารถรับแรงกระแทกได้ดี และการขยายตัวจากความชื้นน้อยลง สามารถเทียบความหนาแน่นได้โดยนำตัวอย่างที่ตัดแล้ว มาสังเกตเนื้อที่แกนกลางด้วยตาเปล่า
  • ค่า AC (Abrasion Classification) ข้อกำหนดการสึกถลอกของผิวหน้าพื้นไม้ลามิเนต ตามมาตรฐาน EN13329 มีค่าตั้งแต่ AC1 – AC5 โดยค่ายิ่งมากยิ่งแสดงถึงความคงทนมาก
  • ค่า IC (Impact Classification) ข้อกำหนดการทนแรงกระแทกลงบนผิวหน้าพื้นไม้ลามิเนต ตามมาตรฐาน EN13329 มีค่าตั้งแต่ IC1 – IC3 โดยค่ายิ่งมากยิ่งแสดงถึงความคงทนมาก

มาตรฐานการรับรองสากล[แก้]

เป็นสัญลักษณ์ที่บอกถึงการรับประกันคุณภาพของตัวพื้นไม้ที่เป็นสากลทั่วโลก ส่วนใหญ่มาจากสถาบันในยุโรป

  • EPLF[1] เป็นสมาคมพื้นไม้ลามิเนตแห่งสหภาพยุโรป มีหน้าที่ในการส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ และสร้างมาตรฐานสำหรับพื้นไม้ลามิเนต ผู้ที่เป็นสมาชิกสมาคมได้ต้องเป็นผู้ผลิตพื้นไม้ผู้มีคุณภาพ และมาตรฐานสูง เพราะเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดมาตรฐานพื้นไม้ลามิเนตของโลก
  • NALFA[2] เป็นสมาคมพื้นไม้ลามิเนตในทวีปอเมริกาเหนือ ก่อตั้งภายหลัง EPLF เป็นการรวมกลุ่มของผู้ผลิตในทวีปดังกล่าว
  • CELQ[3] เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงผู้ผลิตพื้นไม้ลามิเนตที่มีคุณภาพสูงมาก โดยเป็นสัญลักษณ์ที่มาแทน RAL เดิม โรงงานที่ได้สิทธิ์ประดับสัญลักษณ์นี้ต้องผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากสถาบันตรวจสอบอิสระ และต้องเป็นสมาชิกของ EPLF มาก่อนเท่านั้น
  • E1 เป็นค่าการทดสอบการแพร่ของฟลอมาดีไฮด์ (Formaldehyde Emission) ที่แกนกลาง สารฟลอมาดีไฮด์ (สารประกอบฟลอมารีน) เป็นสารก่อมะเร็ง มีโทษเมื่อได้รับเข้าไปในปริมาณที่เกินจำกัด พื้นไม้ลามิเนต E1 บอกถึงพื้นที่ไม่มีการสะสมของฟลอมารีนในปริมาณที่เป็นอันตราย
  • PEFC[4] เป็นองค์กรอิสระที่ตรวจสอบการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ ของโรงงานไม้ต่างๆ ว่ามีมาตรฐานการจัดการที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อม การตัดไม้ที่ไม่เกินทั้งปริมาณและขนาด และการปลูกทดแทนให้ต้นไม้ได้เติบโตให้ทันกับปริมาณที่ใช้

อ้างอิง[แก้]

  1. EPLF "[1]" (Public Domain Resources)
  2. NALFA "[2]" (Public Domain Resources)
  3. CELQ "[3] เก็บถาวร 2020-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" (Public Domain Resources)
  4. PEFC "[4]" (Public Domain Resources)