โคม่าจากการใช้ยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โคม่าจากการใช้ยา
การแทรกแซง

โคม่าจากการใช้ยา หรือ บาร์บิทูเรตโคม่า เป็นภาวะโคม่าชั่วคราวอย่างหนึ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยการให้ยาในกลุ่มบาร์บิทูเรตแก่ผู้ป่วย เช่น เพนโทบาร์บิทาล หรือไทโอเพนทาล มักถูกใช้เพื่อรักษาสภาพสมองระหว่างการผ่าตัดสมอง หรือเป็นวิธีท้ายๆ ในการรักษาผู้ป่วยชักต่อเนื่องบางรายที่ใช้ยากันชักไม่ได้ผล และในการรักษาภาวะความดันในกะโหลกขึ้นสูงตามหลังการบาดเจ็บต่อสมอง เป็นต้น

การทำโคม่าด้วยยามีผลข้างเคียงที่สำคัญหลายอย่าง ผู้ป่วยจะไม่สามารถหายใจเองได้และจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้จะลดลง อาจเกิดความดันเลือดต่ำซึ่งจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลงและอาจต้องใช้ยาเพิ่มความดันหลอดเลือด อาจเกิดโปแตสเซียมในเลือดต่ำ แผลกดทับ และการติดเชื้อที่บริเวณใส่สายสวนต่างๆ ได้

การทำโคม่าด้วยยานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการมิลวอกี ที่เคยเชื่อกันว่า[1]สามารถรักษาผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าระยะแสดงอาการได้

อ้างอิง[แก้]

  1. Jackson AC (2016). "Human Rabies: a 2016 Update". Curr Infect Dis Rep (Review). 18 (11): 38. doi:10.1007/s11908-016-0540-y. PMID 27730539.