ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเศวตอดุลยเดชพาหน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ''' เป็น[[ช้างเผือก]]ประจำรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุท หรือ[[บัวสายแดง]] <ref name="80พรรษา"/> ได้รับพระราชทานนามเต็มว่า
'''พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ''' เป็น[[ช้างเผือก]]ประจำรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุท หรือ[[บัวสายแดง]] <ref name="80พรรษา"/> ได้รับพระราชทานนามเต็มว่า <ref name="ช้างฯ">{{user:2T/ref/ช้างในชีวิตของผม}}</ref>


{{คำพูด|พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนามนาคบารมี<br>ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกทลาสนวิศุทธวงศ์<br>สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาต สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์<br>รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตรสารศักดิเลิศฟ้า ฯะ}} <ref name="ช้างฯ">{{user:2T/ref/ช้างในชีวิตของผม}}</ref>
{{คำพูด|พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนามนาคบารมี<br>ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกทลาสนวิศุทธวงศ์<br>สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาต สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์<br>รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตรสารศักดิเลิศฟ้า ฯะ}}


พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างพลายเผือกโท เกิดในป่าเขต[[จังหวัดกระบี่]] <ref>หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ในคอลัมน์ข้าวไกลนา หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ว่าเกิดที่[[จังหวัดกาญจนบุรี]]</ref>เมื่อประมาณ [[พ.ศ. 2494]] <ref name="80พรรษา">{{user:2T/ref/80พรรษามหามงคล}}</ref> ถูกคล้องได้ที่จังหวัดกระบี่เมื่อ [[พ.ศ. 2499]] โดยนายแปลก ฟุ้งเฟือง พร้อมกับช้างอื่นๆ อีก 5 เชือกคือ พังสาคร พลายทอง พลายเพียว พังวิไล และพังน้อย โดยในตอนนั้นพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ชื่อว่า "พลายแก้ว" <ref name="80พรรษา"/> มีความสูง 1.60 เมตร เมื่อพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ)ได้ตรวจสอบ[[คชลักษณ์]]แล้วพบว่าเป็นช้างสำคัญ จึงนำมาเลี้ยงไว้ที่[[สวนสัตว์ดุสิต]] เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างพลายเผือกโท เกิดในป่าเขต[[จังหวัดกระบี่]] <ref>หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ในคอลัมน์ข้าวไกลนา หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ว่าเกิดที่[[จังหวัดกาญจนบุรี]]</ref>เมื่อประมาณ [[พ.ศ. 2494]] <ref name="80พรรษา">{{user:2T/ref/80พรรษามหามงคล}}</ref> ถูกคล้องได้ที่จังหวัดกระบี่เมื่อ [[พ.ศ. 2499]] โดยนายแปลก ฟุ้งเฟือง พร้อมกับช้างอื่นๆ อีก 5 เชือกคือ พังสาคร พลายทอง พลายเพียว พังวิไล และพังน้อย โดยในตอนนั้นพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ชื่อว่า "พลายแก้ว" <ref name="80พรรษา"/> มีความสูง 1.60 เมตร เมื่อพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ)ได้ตรวจสอบ[[คชลักษณ์]]แล้วพบว่าเป็นช้างสำคัญ จึงนำมาเลี้ยงไว้ที่[[สวนสัตว์ดุสิต]] เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
[[หมวดหมู่:รัชกาลที่ 9]]
[[หมวดหมู่:รัชกาลที่ 9]]
[[หมวดหมู่:พ.ศ. 2503]]
[[หมวดหมู่:พ.ศ. 2503]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดกระบี่]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:27, 13 มกราคม 2551

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุท หรือบัวสายแดง [1] ได้รับพระราชทานนามเต็มว่า [2]

พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนามนาคบารมี
ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกทลาสนวิศุทธวงศ์
สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาต สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์
รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตรสารศักดิเลิศฟ้า ฯะ

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างพลายเผือกโท เกิดในป่าเขตจังหวัดกระบี่ [3]เมื่อประมาณ พ.ศ. 2494 [1] ถูกคล้องได้ที่จังหวัดกระบี่เมื่อ พ.ศ. 2499 โดยนายแปลก ฟุ้งเฟือง พร้อมกับช้างอื่นๆ อีก 5 เชือกคือ พังสาคร พลายทอง พลายเพียว พังวิไล และพังน้อย โดยในตอนนั้นพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ชื่อว่า "พลายแก้ว" [1] มีความสูง 1.60 เมตร เมื่อพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ)ได้ตรวจสอบคชลักษณ์แล้วพบว่าเป็นช้างสำคัญ จึงนำมาเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์ดุสิต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

พลโทบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยได้นำช้างพลายแก้วขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายพระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เพื่อประกอบพิธีขึ้นระวางเป็นช้างต้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กำหนดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกประจำรัชกาล ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เป็นปีที่ 13 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เติบโตขึ้นโดยการดูแลขององค์การสวนสัตว์ ที่สวนสัตว์ดุสิต และมีอาการดุร้ายมากขึ้นจนควาญช้างควบคุมไม่ได้ จึงต้องจับยืนมัดขาทั้งสี่ไว้กับเสา เป็นที่เกรงกลัวของบุคคลทั่วไป จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมีพระราชเสาวณีย์ โปรดเกล้าฯ ให้นำพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เข้าไปยืนโรงในโรงช้างต้น ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐานซึ่งอยู่ตรงกันข้ามถนน หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชบันทึกไว้ว่า

กว่าจะนำคุณพระจากเขาดินไปถึงประตูสวนจิตรลดา ซึ่งมองเห็นกันแค่นั้น ก็กินเวลาหลายชั่วโมง ต้องใช้คนเป็นจำนวนมากถือปลายเชือกที่ผูกไว้กับขาคุณพระทั้งสี่ขา คอยลากคอยดึง และดูเหมือนจะต้องใช้รถแทรกเตอร์เข้าช่วยขนาบข้าง เสี่ยงอันตรายกันมากอยู่ แต่ในที่สุดก็นำคุณพระไปยังประตูพระราชวังได้

พอได้ก้าวเท้าเข้าไปในบริเวณพระราชวัง คุณพระก็เปลี่ยนไปทันที จากความดุร้ายก็กลายเป็นความสงบเสงี่ยม เดินอย่างเรียบร้อยไปสู่โรงช้างต้น และเข้าอยู่อย่างสงบเรื่อยมา [4]

ปัจจุบัน พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ย้ายไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเคลื่อนย้ายคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เมื่อวันที่ 17-18 มีนาคม พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2547

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. ๘๐ พรรษา มหามงคล. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บันทึกสยาม, พ.ศ. 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-09-4848-3
  2. คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. ช้างในชีวิตของผม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000, พ.ศ. 2549. 112 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-690-514-7
  3. หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ในคอลัมน์ข้าวไกลนา หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ว่าเกิดที่จังหวัดกาญจนบุรี
  4. คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์, คอลัมน์ ข้าวไกลนา, 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519