ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมอร์ไลออน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
|image = Rear view of the Merlion statue at Merlion Park, Singapore, with Marina Bay Sands in the distance - 20140307.jpg
|image = Rear view of the Merlion statue at Merlion Park, Singapore, with Marina Bay Sands in the distance - 20140307.jpg
|image_size =
|image_size =
|caption = เมอร์ไลออนที่มองทางด้านหลัง ตึกที่อยู่ตรงข้ามคือ[[มารีนา เบย์ แซนด์ส]]
|caption = เมอร์ไลออนที่มองทางด้านหลัง ตึกที่อยู่ตรงข้ามคือ[[มารีนาเบย์แซนส์]]
|Mythology =
|Mythology =
|Grouping =
|Grouping =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:58, 27 มกราคม 2563

เมอร์ไลออน
เมอร์ไลออนที่มองทางด้านหลัง ตึกที่อยู่ตรงข้ามคือมารีนาเบย์แซนส์
ประเทศประเทศสิงคโปร์
รูปปั้นสิงโตทะเลซึ่งอยู่ห่างไปจากที่เดิมเป็นระยะทาง 120 เมตร ติดกับ One Fullerton

เมอร์ไลออน (อังกฤษ: Merlion; มลายู: Singa-Laut ซีงา-ลาอุต; จีน: 鱼尾狮; พินอิน: Yúwěishī หยูเหว่ยซือ) ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board - STB) ในปี 1964 – รูปปั้นนี้มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยู่บนยอดคลื่น ต่อมาไม่นานทั่วโลกก็ถือกันว่าสิงโตทะเลตัวนี้คือเครื่องหมายประจำชาติสิงคโปร์[1]

แต่เดิมรูปปั้นนี้ตั้งอยู่ที่สวนสิงโตทะเล (Merlion Park) ข้างสะพานเอสพลาเนด (Esplanade Bridge) แม่สิงโตและลูกสิงโตได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว มีการจัดพิธีติดตั้งสิงโตทะเลในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1972 โดยมีประธานในพิธีคือนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ณ เวลาดังกล่าว ซึ่งก็คือ นายลี กวน ยู

สิงโตตัวนี้สูง 8.6 เมตร มีน้ำหนัก 70 ตัน ทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ โดยช่างฝีมือชาวสิงคโปร์ผู้เสียชีวิตไปแล้วที่ชื่อนายลิมนังเซ็ง ส่วนรูปปั้นสิงโตทะเลตัวที่สองจะมีขนาดเล็กกว่า ขนาดสูง 2 เมตรและหนัก 3

ตัน ก็ถูกสร้างขึ้นโดยนายลิมเช่นกัน ตัวสิงโตทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ ผิวหนังทำจากแผ่นกระเบื้อง และตาทำจากถ้วยชาสีแดงขนาดเล็ก

ผู้ออกแบบคือนายฟราเซอร์ บรูนเนอร์ (Mr Fraser Brunner) เป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแวนคลีฟ หัวรูปปั้นเป็นสิงโตหมายถึงสิงโตที่เจ้าชายซางนิลาอุตามะเคยเห็นตอนที่พระองค์พบเกาะสิงคโปร์ในปี ค.ศ. ที่ 11 ตามบันทึกของชาวมลายู ส่วนหางที่เป็นปลาคือสัญลักษณ์ของเมืองโบราณเทมาเซ็ก (หมายความว่า "ทะเล" ในภาษาชวา) ซึ่งสิงคโปร์ถูกค้นพบมาแล้ว ก่อนที่เจ้าชายนิลาจะตั้งชื่อเกาะนี้ว่า "สิงคปุระ" (หมายความว่า "สิงโต" (สิงห์) และ "เมือง" (ปุระ) ในภาษาสันสกฤต) นอกจากนี้ยังหมายถึงจุดเริ่มต้นของสิงคโปร์ที่ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้านชาวประมง

อ้างอิง