ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทนายความที่ปรึกษา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: อิโมจิ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
ในประเทศไทย การเป็นทนายว่าความ จะต้องสอบใบอนุญาตว่าความ (ตั๋วทนาย) จากสภาทนายความก่อนแหละ โดยไม่จำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาระดับเนติบัณฑิต แต่จะต้องเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตสภา 😂 ทนายความต้องจบเนติบัณฑิตก่อนเท่านั้นแหละนะ
{{issues|สั้นมาก=yes|ต้องการอ้างอิง=yes}}

'''ทนายความ''ต่ละประเทศอาจมีศัพท์เรียกทนายแตกต่างกัน เช่น barrister-at-law หรือ attorneyหรือ solicitor ซึ่ง barrister-at-lawyer จะหมายถึงทนายความที่ว่าความในศาล ส่วน solicitor จะเป็นที่ปรึกษากฎหมายที่ไม่ได้ว่าความ ในสหรัฐอเมริกาจะเรียกทนายความว่า attorney หรือ lawyer ซึ่งว่าความได้ และเป็นทนายความเพียงประเภทเดียว บางครั้งมีผู้แปลคำว่า lawyer ว่านักกฎหมาย แต่ในประเทศไทย การเป็นทนายว่าความ จะต้องสอบใบอนุญาตว่าความ (ตั๋วทนาย) จากสภาทนายความก่อนแหละ โดยไม่จำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาระดับเนติบัณฑิต แต่จะต้องเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตสภา 😂 ทนายความต้องจบเนติบัณฑิตก่อนเท่านั้นแหละนะ


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:23, 17 พฤษภาคม 2560

ในประเทศไทย การเป็นทนายว่าความ จะต้องสอบใบอนุญาตว่าความ (ตั๋วทนาย) จากสภาทนายความก่อนแหละ โดยไม่จำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาระดับเนติบัณฑิต แต่จะต้องเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตสภา 😂 ทนายความต้องจบเนติบัณฑิตก่อนเท่านั้นแหละนะ

ดูเพิ่ม

ทนายความ นิยามอาชีพ

         ว่าความและให้คำปรึกษากฎหมายรวมทั้งจัดทำนิติกรรมสัญญาและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนคู่ความ

ลักษณะของงานที่ทำ

         ปฏิบัติงานทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย 

ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย และดำเนินการแทนคู่ความทั้งทางอาญา และแพ่ง ตรวจสอบเรื่องราวต่างๆ และค้นตัวบทกฎหมายที่จะนำมาใช้โดยการศึกษาประมวลกฎหมายพระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ คำพิพากษาของศาลสูงที่มีมาแล้ว และกฎข้อบังคับที่ตราขึ้นไว้ให้คำแนะนำแก่ลูกความถึงสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมายทำการแทนลูกความในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย และค้นหาบรรพต่างๆ ในประมวลกฎหมาย ว่าความและดำเนินกระบวนการพิจารณาใดๆ ในศาลแทนคู่ความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา มีบทบาทในการสร้างและรักษาความเป็นธรรมให้กับสังคมมีบทบาทในการคุ้มครอง ดูแลรักษาผลประโยชน์ของบุคคลและองค์กรธุรกิจเอกชนต่าง ๆ มีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำ ในการดำเนินการต่างๆ ให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย มีบทบาทเป็นคนกลางเพื่อ ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ด้วย อาจ X วชาญในงานกฎหมายสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ อาจเป็นทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายประจำองค์กร บรรษัทห้างหุ้นส่วน บริษัท นิติบุคคล คณะบุคคล หรือเอกชน สภาพการจ้างงาน อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีคนนิยมทำกันมาก เพราะเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ดีและเป็นอาชีพที่มีเกียรติ โดยผู้ที่เป็นทนายความสามารถทำงานมีเงินเดือนประจำ โดยมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตั้งแต่ 8,500 - 10,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความสามารถประสบการณ์ และประเภทของหน่วยงานที่ทำงาน หรือประกอบอาชีพทนายความอิสระรับว่าความทั่วไป โดยอาจได้รับค่าตอบแทนจากการว่าความร้อยละ 10 - 20 ของทุนทรัพย์ในคดีนั้นๆ หรืออาจจะได้รับค่าตอบแทนตามแต่จะตกลงกับลูกความ ซึ่งอาจจะได้รับค่าว่าความ 20,000-100,000 บาทขึ้นไปแล้วแต่งานที่รับ และขนาดของทุน-ทรัพย์ในแต่ละคดี สภาพการทำงาน

         ทำงานในสำนักงานมีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเช่นสำนักงานทั่วไป         มีอุปกรณ์ช่วยในการจัดการงานเอกสาร  เช่น  เครื่องพิมพ์ดีด  หรือคอมพิวเตอร์   บางครั้งต้องออกไปติดต่อประสานงานนอกสำนักงาน เช่น ศาล  สถานีตำรวจ สถานที่อื่นๆ เพื่อปฏิบัติภารกิจทนายความตามที่ได้รับมอบหมาย ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่การทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องปกติในอาชีพนี้ อาจจะต้องมาทำงานในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด
         การทำงานของทนายความ เป็นงานที่ต้องมีผู้ได้ประโยชน์  และผู้เสียประโยชน์ อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่ค่อนข้างเสี่ยงอันตรายอันเนื่องมาจากลักษณะงาน  การฟ้องร้องระหว่างคู่คดีอาจสร้างความไม่พอใจให้อีกฝ่าย  หรืองานในหน้าที่อาจจะทำให้ผู้อื่นเสียผลประโยชน์   ทำให้เกิดความโกรธแค้น และอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกายและชีวิตได้   ผู้เป็นทนายความควรที่จะจัดให้เกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย  มีความซื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่ไม่ใช้ความรู้ในอาชีพเอาเปรียบ  หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย 

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

         ผู้สนใจจะประกอบอาชีพนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในอาชีพนี้เป็นพื้นฐานเพราะงานว่าความเป็นงานที่ต้องมีความเสียสละ  ทุ่มเท  ใฝ่หาความรู้และมีวาทศิลป์  ผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพทนายความจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ 2. ต้องขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความ 3. มีสัญชาติไทย 4. อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ในวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาต 5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศีลธรรมอันดี และไม่เป็น ผู้ได้กระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต 6. ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 7. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในคดีที่ คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพ 8. ไม่เป็นบุคคลผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย 9. ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม 10. ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการ หรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อน สมรรถภาพในการประกอบอาชีพ 11. ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีเงินเดือนและตำแหน่งประจำเว้นแต่ข้าราชการการเมือง 12. ต้องซื่อตรงต่อลูกความ ผู้ร่วมงานอำนวยการความยุติธรรม ชุมชน ผู้ร่วม สำนักงาน และตนเอง ผู้ที่สนใจประกอบอาชีพทนายความ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้  : มีความสนใจในด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และต้องชอบที่จะท่องจำเพราะวิชานิติศาสตร์เป็นการเรียนที่ต้องท่องจำมาก เช่น กฎระเบียบ มาตราต่างๆ เป็นต้น

         ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า  ต้องสอบเข้ารับการคัดเลือกหรือเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์  ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี  จากสถาบันการศึกษาซึ่งสภาทนายความเห็นว่าสถาบันนั้นมีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับปริญญาตรี  หรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้   และเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา 
         เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าต้องเข้ารับการอบรมจากสภาทนายความโดยอบรมภาคทฤษฎีหลักสูตร  6  เดือน  และอบรมภาคปฏิบัติ หลักสูตร 6เดือน จึงสมัครเข้าสอบขอใบอนุญาตว่าความผ่านการทดสอบจะได้รับใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักรจากสภาทนายความ  

โอกาสในการมีงานทำ

         อาชีพทนายความ  ถือเป็นอาชีพที่สำคัญอีกอาชีพหนึ่ง   ซึ่งจะมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจ  และบุคคลเพราะอาชีพนี้จะมีความชำนาญทางกฎหมาย  ความต้องการของอาชีพนี้มีสูงขึ้นเรื่อยๆโดยดูได้จากคดีที่เกิดขึ้นที่กรมตำรวจ ล้วนแต่ต้องใช้ทนายความเข้ามาช่วยในคดีทั้งสิ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทนายความมีคดีว่าความมากขึ้นเนื่องจากจะมีคดีฟ้องร้องในเรื่องการค้างชำระหนี้มากขึ้นแต่รายได้จากการว่าความจะไม่ค่อยมากนักเนื่องจากฝ่ายจำเลยไม่สามารถชำระค่าเสียหายได้  จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจอย่างไร   ความต้องการแรงงานในอาชีพมีอยู่ตลอด  ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญความเก่งและชื่อเสียงของทนายความแต่ละคนด้วย นอกจากนี้ทนายความอิสระบางคนอาจจะรับทำงานสืบสวนให้บุคคลที่ต้องการให้สืบสวนหรือติดตามสิ่งของหรือบุคคลที่ต้องการค้นหา

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

         อาชีพทนายความนี้  นอกจากจะประกอบอาชีพเป็นทนายความแล้วยังสามารถเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของหน่วยงาน   เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของหน่วยงาน   เป็นพนักงานอัยการ   และก้าวไปสู่การเป็นผู้พิพากษาก็ได้   และนอกจากนี้อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีความชำนาญทางกฎหมายเป็นพิเศษ จึงเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับอาชีพอื่นได้มากมาย  เช่น  นักการเมือง   ทหารตำรวจ เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าที่การเงิน หรือครู อาจารย์เป็นต้น
         ทนายความที่มีความสามารถ  และมีความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างดี   อาจได้รับการว่าจ้างให้เป็นทนายความว่าความในต่างประเทศ  หรืออาจเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการเจรจาทางด้านกฎหมายหรือสิทธิประโยชน์ของประเทศ