ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สารภูมิต้านทาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bill-RUANG (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bill-RUANG (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
== ชนิดของแอนติบอดี ==
== ชนิดของแอนติบอดี ==
=== อิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ===
=== อิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ===
อิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) เป็นแอนติบอดีที่พบมากที่สุดใน[[ซีรั่ม (เลือด)|ซีรั่ม]] คือประมาณ 13 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร หรือคิดเป็นประมาณ 80% ของ Ig ทั้งหมดในซีรั่ม<ref name="สสวท"></ref><ref>Sadava, David. (2012). LIFE: The Science of Biology 10th ed.</ref> IgG จะอยู่ในรูป[[โมโนเมอร์]] (โครงสร้างรูปตัว Y) IgG ในมนุษย์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย เรียงตามปริมาณที่พบในซีรั่ม คือ IgG1, IgG2, IgG3 และ IgG4 ทั้ง 4 กลุ่มย่อยนี้มีลำดับกรดอะมิโนคล้ายกันประมาณ 90-95%<ref name="สสวท"></ref> แต่จะมีโครงสร้างแตกต่างกันบ้าง เช่น จำนวนของ[[พันธะไดซัลไฟด์]]ที่เชื่อมบริเวณข้อพับ (hinge region) ของเส้นหนักสองเส้น IgG ในระบบเลือดของแม่สามารถเข้าไปสู่[[ฟีตัส]]ในครรภ์ได้ผ่านทางรก จัดเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแบบรับมา (passive immunization) ให้แก่ทารก
อิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) เป็นแอนติบอดีที่พบมากที่สุดใน[[ซีรั่ม (เลือด)|ซีรั่ม]] คือประมาณ 13 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร หรือคิดเป็นประมาณ 80% ของ Ig ทั้งหมดในซีรั่ม<ref name="สสวท"></ref><ref>Sadava, David. (2012). LIFE: The Science of Biology 10th ed.</ref> IgG จะอยู่ในรูป[[โมโนเมอร์]] (โครงสร้างรูปตัว Y) IgG ในมนุษย์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย เรียงตามปริมาณที่พบในซีรั่ม คือ IgG1, IgG2, IgG3 และ IgG4 ทั้ง 4 กลุ่มย่อยนี้มีลำดับกรดอะมิโนคล้ายกันประมาณ 90-95%<ref name="สสวท"></ref> แต่จะมีโครงสร้างแตกต่างกันบ้าง เช่น จำนวนของ[[พันธะไดซัลไฟด์]]ที่เชื่อมบริเวณข้อพับ (hinge region) ของเส้นหนักสองเส้น IgG ในระบบเลือดของแม่สามารถเข้าไปสู่[[ฟีตัส]]ในครรภ์ได้ผ่านทาง[[รก]] จัดเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแบบรับมา (passive immunization) ให้แก่ทารก


{{โครงชีววิทยา}}
{{โครงชีววิทยา}}

== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[ระบบภูมิคุ้มกัน]]
* [[ระบบภูมิคุ้มกัน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:02, 7 เมษายน 2560

แอนติบอดี (อังกฤษ: antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (อังกฤษ: immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen)

การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเพปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป

โครงสร้าง

โครงสร้างโมเลกุลของแอนติบอดีอยู่ในรูปตัววาย (Y shape) ประกอบด้วยสายพอลีเพปไทด์ 4 เส้น คือ เส้นหนัก (heavy chain) เหมือนกัน 2 เส้น และเส้นเบา (light chain) เหมือนกัน 2 เส้น โดยเปรียบเทียบจากขนาดน้ำหนักโมเลกุล

บริเวณปลายทั้งสองของตัว Y (ปลาย N-terminal) จะเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกับแอนติเจน เรียกว่า antigen binding site ลำดับกรดอะมิโนของบริเวณนี้จึงมีความหลากหลายสูง โดยจะแตกต่างกันไปตามความจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ทำให้เรียกบริเวณปลายทั้งสองนี้ว่าบริเวณแปรผัน (variable region) ถัดลงมาจากบริเวณแปรผันจนถึงโคนของตัว Y (ปลาย C-terminal) นั้นเรียกว่า บริเวณคงที่ (constant region) ซึ่งมีลำดับของกรดอะมิโนค่อนข้างแน่นอน บริเวณนี้จะแสดงลักษณะการทำงานของแอนติบอดี รวมถึงบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็นคลาสใด เช่น IgG, IgA และ IgD จะประกอบด้วยสายโปรตีนเส้นหนักที่มี 4 โดเมน ส่วน IgM และ IgE จะประกอบด้วยสายโปรตีนเส้นหนักที่มี 5 โดเมน[1]

ชนิดของแอนติบอดี

อิมมูโนโกลบูลินจี (IgG)

อิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) เป็นแอนติบอดีที่พบมากที่สุดในซีรั่ม คือประมาณ 13 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร หรือคิดเป็นประมาณ 80% ของ Ig ทั้งหมดในซีรั่ม[1][2] IgG จะอยู่ในรูปโมโนเมอร์ (โครงสร้างรูปตัว Y) IgG ในมนุษย์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย เรียงตามปริมาณที่พบในซีรั่ม คือ IgG1, IgG2, IgG3 และ IgG4 ทั้ง 4 กลุ่มย่อยนี้มีลำดับกรดอะมิโนคล้ายกันประมาณ 90-95%[1] แต่จะมีโครงสร้างแตกต่างกันบ้าง เช่น จำนวนของพันธะไดซัลไฟด์ที่เชื่อมบริเวณข้อพับ (hinge region) ของเส้นหนักสองเส้น IgG ในระบบเลือดของแม่สามารถเข้าไปสู่ฟีตัสในครรภ์ได้ผ่านทางรก จัดเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแบบรับมา (passive immunization) ให้แก่ทารก


ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, พื้นฐานชีววิทยา, 2558
  2. Sadava, David. (2012). LIFE: The Science of Biology 10th ed.