ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำสรรพนาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:




3.วิภาคสรรพนาม หรือ สรรพนามชี้ซ้ำ มีคำว่า บ้าง ต่าง กัน เช่น ต่างคนต่างชอบ ขอฉันเล่นบ้าง เราคนนั้นไปเที่ยวกัน
3.วิภาคสรรพนาม หรือ สรรพนามชี้ซ้ำ มีคำว่า บ้าง ต่าง กัน เช่น ต่างคนต่างชอบ ขอฉันเล่นบ้าง เราไปเที่ยวกัน





รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:14, 10 ธันวาคม 2557

ใบความรู้เรื่อง คำสรรพนาม คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้คำนามซ้ำกันไปมาในการพูดหรือเขียน คำสรรพนาม แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่

1.บุรุษสรรพนาม หรือ สรรพนามใช้แทนบุคคล มี 3 ประเภท ได้แก่
	สรรพนามบุรุษที่ 1 เป็นคำที่ใช้แทนตัวผู้พูดหรือผู้เขียน เช่น ฉัน ผม ข้าพเจ้า ดิฉัน
	สรรพนามบุรุษที่ 2 เป็นคำที่ใช้แทนตัวผู้ฟัง หรือผู้อ่าน เช่น ท่าน เธอ คุณ แก
	สรรพนามบุรุษที่ 3 เป็นคำใช้แทนผู้ที่ถูกกล่าวถึง เช่น เขา มัน พระองค์


2.ปฤจฉาสรรพนาม (อ่านว่า ปะ−ริด – ฉา – สับ – พะ – นาม) หรือ สรรพนามแสดงคำถาม เป็นคำแทนคำนามที่ใช้เป็นคำถาม ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ไหน เช่น ใครมาหาป้า เธอซื้ออะไรมา


3.วิภาคสรรพนาม หรือ สรรพนามชี้ซ้ำ มีคำว่า บ้าง ต่าง กัน เช่น ต่างคนต่างชอบ ขอฉันเล่นบ้าง เราไปเที่ยวกัน


4.อนิยมสรรพนาม (อ่านว่า อะ – นิ – ยะ – มะ – สับ – พะ – นาม) หรือ สรรพนามบอกความไม่เจาะจง จะมีคำว่า ใดๆ ใครๆ สิ่งใด ผู้ใด เช่น ใครๆ ก็มาเที่ยวทะเล ใดๆในโลกนี้ล้วนอนิจจัง


5.นิยมสรรพนาม (อ่านว่า นิ – ยะ – มะ – สับ – พะ – นาม) หรือ สรรพนามบอกการชี้ระยะ จะมีคำว่า นี่ นี้ นั่น นั้น โน่น โน้น บอกความใกล้ ไกลออกไปตามลำดับหรือแยกออกจากกัน เช่น นี่ของฉัน นั่นของเธอ โน่นของเขา


6.ประพันธสรรพนาม หรือ สรรพนามเชื่อมประโยค จะมีคำว่า ที่ ซึ่ง อัน ทำหน้าที่แทนคำนามข้างหน้า และเชื่อมคำนามนั้นกับประโยคที่ตามมา เช่น ฉันกินขนมที่คุณแม่ซื้อให้ เพชรที่สวยงามย่อมมีราคาสูง

  • คำว่า ใคร ไหน อะไร ที่เป็น ปฤจฉาสรรพนามต้องเป็นคำที่ใช้แทนคำนามและไม่ได้วางอยู่หลังคำนามถ้าเรานำคำว่า ไหน อะไร วางไว้หลังคำนาม คำดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์ เช่น ผู้หญิงคนไหนเป็นดารา*
  • คำว่า นี่ นี้ นั่น นั้น โน่น โน้น ที่เป็นนิยมสรรพนามจะต้องเป็นคำที่ใช้แทนคำนามเท่านั้น ไม่ได้วางอยู่หลังคำนามเพราะถ้า หากวางอยู่หลังคำนามคำดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์*