ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้เยาว์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9: บรรทัด 9:


== กฎหมายไทย ==
== กฎหมายไทย ==

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ไม่ได้มีนิยามคำว่าผู้เยาว์ไว้ อย่างไรก็ตาม มาตรา 19 และ 20 ได้กำหนดเหตุพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะไว้ดังนี้

"มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์"
"มาตรา ๒๐ ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔๘"

ดังนั้น บุคคลจึงบรรลุนิติภาวะและไม่เป็นผู้เยาว์ได้เมื่ออายุครบยี่สิบปี หรือสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย

ผู้เยาว์จะถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ไว้ โดยหากผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นโดยปกติก็คือบิดามารดาของผู้เยาว์นั่นเอง ส่วนปู่ย่าตายาย ญาติ หรือผู้ปกครองตามความเป็นจริงนั้นไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมและไม่มีอำนาจให้ความยินยอมผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม เว้นแต่บิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองและศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ปู่ย่าตายาย ญาติ หรือบุคคลอื่นเป็นผู้ปกครองตามกฎหมาย

คำว่านิติกรรมตกเป็นโมฆียะ หมายถึงนิติกรรมนั้นสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้างโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือโดยตัวผู้เยาว์เองเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว และเมื่อถูกบอกล้างแล้วจะถือว่าตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรกโดยให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่มีการทำนิติกรรมดังกล่าวมาก่อนเลย

อย่างไรก็ตาม ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมบางอย่างได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอม และไม่ตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ
ก. ทำนิติกรรมเพียงเพื่อจะได้สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เป็นคุณต่อผู้เยาว์ฝ่ายเดียว เช่น รับการให้โดยสเน่หา
ข. ทำนิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น สมรส
ค. ทำนิติกรรมซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร เช่น ทำนิติกรรมซื้อขายอาหารที่โรงอาหารในโรงเรียน
ง. ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
จ. จำหน่ายทรัพย์สินตามที่ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาต
ฉ. กระทำการใด ๆ อันเกี่ยวพันกับประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน ตามที่ผู้แทนโดยชอบธรรมยินยอม
[[หมวดหมู่:กฎหมายบุคคล]]
[[หมวดหมู่:กฎหมายบุคคล]]
[[หมวดหมู่:กฎหมายครอบครัว]]
[[หมวดหมู่:กฎหมายครอบครัว]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:17, 27 มิถุนายน 2556

ผู้เยาว์ (อังกฤษ: minor) หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หลายประเทศมักไม่นิยามคำว่า "ผู้เยาว์" ไว้อย่างเด็ดขาด อายุสำหรับความรับผิดทางอาญา อายุอย่างต่ำที่จะให้ความยินยอมในการมีเพศสัมพันธ์ อายุที่จะต้องผ่านการศึกษาภาคบังคับ อายุที่สามารถทำนิติกรรมด้วยตนเองได้ เป็นต้น อาจแตกต่างกันไป

ในหลายประเทศรวมถึงออสเตรเลีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ บราซิล โครเอเชียและโคลัมเบีย ผู้เยาว์หมายถึงบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ส่วนในสหรัฐอเมริกาซึ่งกำหนดอายุบรรลุนิติภาวะไว้แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ผู้เยาว์มักหมายถึงผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่ในบางรัฐอาจหมายถึงผู้มีอายุต่ำกว่า 21 ปีในบางกรณี (เช่นการพนัน การเป็นเจ้าของปืน และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ในทางอาญาคำว่าผู้เยาว์มักกำหนดไว้แตกต่างกันไป ผู้เยาว์อาจถูกดำเนินคดีและได้รับโทษในฐานะเป็นเยาวชน หรืออาจได้รับโทษเหมือนผู้ใหญ่ในความผิดร้ายแรงอย่างยิ่งเช่นฆาตกรรม

ในญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทย และเกาหลีใต้ ผู้เยาว์หมายถึงบุคคลผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี กฎหมายนิวซีแลนด์ก็กำหนดอายุของผู้บรรลุนิติภาวะไว้ 20 ปีเช่นกันแต่ผู้เยาว์ในนิวซีแลนด์สามารถใช้สิทธิส่วนใหญ่ได้ก่อนหน้าที่จะบรรลุนิติภาวะ เช่นเข้าทำสัญญาและทำพินัยกรรมได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี

กฎหมายไทย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ไม่ได้มีนิยามคำว่าผู้เยาว์ไว้ อย่างไรก็ตาม มาตรา 19 และ 20 ได้กำหนดเหตุพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะไว้ดังนี้

"มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์"

"มาตรา ๒๐ ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔๘"

ดังนั้น บุคคลจึงบรรลุนิติภาวะและไม่เป็นผู้เยาว์ได้เมื่ออายุครบยี่สิบปี หรือสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย

ผู้เยาว์จะถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ไว้ โดยหากผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นโดยปกติก็คือบิดามารดาของผู้เยาว์นั่นเอง ส่วนปู่ย่าตายาย ญาติ หรือผู้ปกครองตามความเป็นจริงนั้นไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมและไม่มีอำนาจให้ความยินยอมผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม เว้นแต่บิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองและศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ปู่ย่าตายาย ญาติ หรือบุคคลอื่นเป็นผู้ปกครองตามกฎหมาย

คำว่านิติกรรมตกเป็นโมฆียะ หมายถึงนิติกรรมนั้นสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้างโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือโดยตัวผู้เยาว์เองเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว และเมื่อถูกบอกล้างแล้วจะถือว่าตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรกโดยให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่มีการทำนิติกรรมดังกล่าวมาก่อนเลย

อย่างไรก็ตาม ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมบางอย่างได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอม และไม่ตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ ก. ทำนิติกรรมเพียงเพื่อจะได้สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เป็นคุณต่อผู้เยาว์ฝ่ายเดียว เช่น รับการให้โดยสเน่หา ข. ทำนิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น สมรส ค. ทำนิติกรรมซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร เช่น ทำนิติกรรมซื้อขายอาหารที่โรงอาหารในโรงเรียน ง. ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์ จ. จำหน่ายทรัพย์สินตามที่ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาต ฉ. กระทำการใด ๆ อันเกี่ยวพันกับประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน ตามที่ผู้แทนโดยชอบธรรมยินยอม