ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SassoBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต: แก้ไขจาก tl:Kabuuang domestikong produkto ไปเป็น tl:Kabuuan ng Gawang Katutubo
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 64: บรรทัด 64:
{{Link GA|de}}
{{Link GA|de}}


[[af:Bruto binnelandse produk]]
[[an:Producto Interior Bruto]]
[[ar:ناتج محلي إجمالي]]
[[arz:انتاج محلى اجمالى]]
[[az:Ümumi Daxili Məhsul]]
[[bar:Bruttoinlandsprodukt]]
[[be:Валавы ўнутраны прадукт]]
[[be-x-old:Сукупны ўнутраны прадукт]]
[[bg:Брутен вътрешен продукт]]
[[bm:Bakrunba Sokɔnɔ Karajago]]
[[bn:মোট দেশজ উৎপাদন]]
[[br:Produadur diabarzh gros]]
[[bs:Bruto domaći proizvod]]
[[ca:Producte interior brut]]
[[cdo:Guók-nô̤i sĕng-sāng cūng-dĭk]]
[[cs:Hrubý domácí produkt]]
[[cy:Cynnyrch mewnwladol crynswth]]
[[da:BNI per indbygger]]
[[de:Bruttoinlandsprodukt]]
[[el:Ακαθάριστο Εγχώριο Προϊόν]]
[[en:Gross domestic product]]
[[eo:Malneta enlanda produkto]]
[[es:Producto interno bruto]]
[[et:Sisemajanduse kogutoodang]]
[[eu:Barne produktu gordin]]
[[fa:تولید ناخالص داخلی]]
[[fi:Bruttokansantuote]]
[[fr:Produit intérieur brut]]
[[ga:Olltáirgeacht intíre]]
[[gd:Làn-thoradh Dùthchail]]
[[gl:Produto Interior Bruto]]
[[got:𐌱𐍂𐌿𐍄𐍄𐍉𐌹𐌽𐌽𐌰𐌻𐌰𐌽𐌳𐌲𐌰𐍃𐌼𐌹𐌸𐍉𐌽𐍃]]
[[gv:Lane troar sthie]]
[[he:תוצר מקומי גולמי]]
[[hi:सकल घरेलू उत्पाद]]
[[hr:Bruto domaći proizvod]]
[[hu:Bruttó hazai termék]]
[[hy:Համախառն ներքին արդյունք]]
[[id:Produk domestik bruto]]
[[ilo:Dagup ti domestiko a produkto]]
[[io:Kuntara landala produkto]]
[[is:Landsframleiðsla]]
[[it:Prodotto interno lordo]]
[[ja:国内総生産]]
[[jv:Prodhuk domèstik bruto]]
[[ka:მთლიანი შიდა პროდუქტი]]
[[kk:Жалпы ішкі өнім]]
[[kn:ರಾಷ್ಟ್ರೀಯ ಉತ್ಪನ್ನ]]
[[ko:국내 총생산]]
[[krc:Бютеулюк ич продукт]]
[[ky:ИДП]]
[[la:Productus domesticus grossus]]
[[lo:ລວມຍອດຜະລິດຕະພັນພາຍໃນ]]
[[lt:Bendrasis vidaus produktas]]
[[lv:Iekšzemes kopprodukts]]
[[mk:Бруто домашен производ]]
[[ml:മൊത്ത ആഭ്യന്തര ഉത്പാദനം]]
[[mn:Дотоодын нийт бүтээгдэхүүн]]
[[mr:वार्षिक सकल उत्पन्न]]
[[ms:Keluaran dalam negara kasar]]
[[my:စုစုပေါင်း ပြည်တွင်းထုတ်လုပ်မှု]]
[[nds:Bruttobinnenlandprodukt]]
[[nl:Bruto binnenlands product]]
[[no:Bruttonasjonalprodukt]]
[[oc:Produch interior brut]]
[[pl:Produkt krajowy brutto]]
[[pt:Produto interno bruto]]
[[ro:Produs intern brut]]
[[ru:Валовой внутренний продукт]]
[[sah:Брутто ис оҥоhук]]
[[scn:Prudottu Nternu Lordu]]
[[sh:Bruto domaći proizvod]]
[[simple:Gross domestic product]]
[[sk:Hrubý domáci produkt]]
[[sl:Bruto domači proizvod]]
[[sq:Bruto prodhimi vendor]]
[[sr:Бруто домаћи производ]]
[[su:Produk doméstik bruto]]
[[sv:Bruttonationalprodukt]]
[[ta:மொத்த உள்நாட்டு உற்பத்தி]]
[[te:స్థూల దేశీయోత్పత్తి]]
[[tl:Kabuuan ng Gawang Katutubo]]
[[tl:Kabuuan ng Gawang Katutubo]]
[[tr:Gayrısafî yurtiçi hâsıla]]
[[udm:ВВП]]
[[ug:مىللى دارامەت]]
[[uk:Валовий внутрішній продукт]]
[[ur:خام ملکی پیداوار]]
[[vec:PIL]]
[[vi:Tổng sản phẩm nội địa]]
[[xmf:ედომუშამი დინოხოლენი პროდუქტი]]
[[yi:ברוטא אינלענדישער פראדוקט]]
[[yo:Gbogbo Ìpawó Orílẹ̀-èdè]]
[[zh:国内生产总值]]
[[zh-classical:國內生產總值]]
[[zh-min-nan:Kok-lāi chóng seng-sán]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:46, 9 มีนาคม 2556

เปรียบเทียบ ดัชนี GDP และ PPP

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (อังกฤษ: gross domestic product: GDP) หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่งถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม จีดีพี เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้

การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ สามารถวัดได้ 2 วิธี ได้แก่

1. การวัดรายจ่าย (Expenditure Approach) ที่จ่ายให้สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = รายจ่ายเพื่อบริโภค + รายจ่ายเพื่อการลงทุน + รายจ่ายของรัฐบาล + รายจ่ายสุทธิของต่างประเทศที่ซื้อสินค้าผลิตในประเทศ

หรือ GDP = Consumption + Investment + Government spending + (exports – imports)

2. การวัดรายได้ (Resource Cost - Income Approach) ที่ได้จากการขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = ค่าจ้างและเงินเดือนลูกจ้าง + รายได้เจ้าของธุรกิจส่วนตัว + กำไรของบริษัท (รายได้ผู้ถือหุ้น) + ดอกเบี้ย (รายได้เจ้าหนี้) + ค่าเช่า (รายได้เจ้าของสินทรัพย์) + ภาษีธุรกิจทางอ้อม + ค่าเสื่อมราคา + รายได้สุทธิของคนต่างชาติในประเทศ

หมายเหตุ: ภาษีทางอ้อมคือภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าหรือบริการโดยผู้ที่มีหน้าที่ชำระภาษีโดยตรง (ผู้เสียภาษีคนแรก) สามารถผลักภาระภาษีไปให้บุคคลอื่นได้ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เนื่องจากวิธีการวัด GDP ด้วยรายจ่ายเป็นวิธีที่พื้นฐานที่สุดในการวัดและเข้าใจ GDP ดังนั้น จะอธิบายตัวแปรในสมการที่คำนวณ GDP ด้วยการวัดรายจ่ายเท่านั้น ดังต่อไปนี้

GDP = C + I + G + NE หรือ C + I + G + (X - M)

Consumption (C) หมายถึง การบริโภคภาคเอกชน (Private consumption) ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลแทบทั้งหมดเช่น อาหาร ค่าเช่า ค่ายา แต่ไม่รวมการซื้อบ้านหลังใหม่

Investment (I) หมายถึง การลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุน เช่น การก่อสร้างเหมืองแร่ใหม่ การซื้อซอฟต์แวร์ การซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับโรงงาน เป็นต้น การใช้จ่ายโดยครัวเรือนเพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ถูกรวมไว้ในการลงทุนเช่นกัน ทว่า การซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินเช่น การซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ ไม่ถูกจัดว่าเป็นการลงทุนแต่เป็นการออม (Saving) จึงไม่ถูกรวมใน GDP เพราะเป็นเพียงการสับเปลี่ยนเอกสารทางกฎหมายเท่านั้น ซึ่งเงินนั้นไม่ได้ถูกแปลงให้กลายเป็นสินค้าหรือบริการ จึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่แท้จริง และถูกจัดให้เป็นรายจ่ายประเภทเงินโอน (Transfer payment)

หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสุทธิของภาคการเงินเท่านั้นที่ถูกมองว่าเป็นการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงถูกรวมไว้ใน GDP

Government Spending (G) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งรวมถึงเงินเดือนของข้าราชการ การซื้ออาวุธทางทหาร และค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ แต่ไม่รวมรายจ่ายประเภทโอนเงินอย่างเช่น สวัสดิการสังคมหรือผลประโยชน์จากการว่างงาน

Net Exports (NE) หมายถึง การส่งออกสุทธิ หรือการส่งออก (X) ลบด้วยการนำเข้า (M) นั่นเอง ที่ต้องลบการนำเข้าเพราะตัวเลขการบริโภคสินค้าและบริการที่ถูกนำเข้ามาบริโภคจะถูกรวมไว้ใน C, I, และ G แล้ว

สิ่งที่ไม่นับรวมใน GDP

  1. ไม่นับสินค้าก่อนสินค้าขั้นสุดท้าย (intermediate goods) เพราะจะทำให้เกิดการนับซ้ำ
  2. ไม่นับการซื้อขายสินค้ามือสอง เพราะไม่ได้เป็นการเพิ่มผลผลิตปัจจุบัน แต่นับค่าคอมมิชชั่นจากการขาย เพราะเป็นการให้บริการในช่วงเวลาปัจจุบัน
  3. ไม่นับรายการทางการเงินและการโอนเงิน เช่น การซื้อขายหุ้น น้าโอนเงินให้หลาน เพราะไม่เป็นการผลิต

ข้อจำกัดของ GDP

  1. ไม่นับการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในตลาด เช่น ในอดีตทำกับข้าวทานเองในบ้าน จึงไม่ถูกนับรวม แต่ปัจจุบันเนื่องจากไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไปทำให้ต้องทานข้าวนอกบ้าน จึงถูกนับรวม ซึ่งทำให้การเปรียบเทียบ GDP ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันให้มีความหมายลดลง
  2. ไม่รวมผลผลิตที่ไม่ถูกรายงาน (underground economy) เช่น เป็นการค้าขายที่เป็นเงินสดโดยไม่มีการแจ้งให้ทางการรับทราบ เช่น บ๋อยรับทิปเป็นเงินสด คนงานทำงานโดยรับเงินสดเพื่อเลี่ยงภาษี
  3. ไม่รวมการพักผ่อนและต้นทุนมนุษย์ GDP สนใจแต่ผลผลิต ไม่ใส่ใจว่าคนทำงานหนักหรือนานขนาดไหนในการสร้างผลผลิต
  4. ไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพสินค้าและการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
  5. ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการผลิต บริโภค และการกระทำด้านลบของคนและธรรมชาติ

อ้างอิง

  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. "หน่วยที่ 9 รายได้ประชาชาติและการวัดรายได้ประชาชาติ". เอกสารการสอนชุดวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 9-15. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553. หน้า 1–35. ISBN 974-614-549-5

ดูเพิ่ม

แม่แบบ:Link GA