ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเปล่งแสง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 12: บรรทัด 12:


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
*[http://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-1221762/Rangers-1-Unirea-Urziceni-4-Groundhog-day-Gers-humbled-Dan-Petrescus-men.html#ixzz0VeOYtGAi Figurative use: Rangers 1 Unirea-Urziceni 4 etc.]
* [http://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-1221762/Rangers-1-Unirea-Urziceni-4-Groundhog-day-Gers-humbled-Dan-Petrescus-men.html#ixzz0VeOYtGAi Figurative use: Rangers 1 Unirea-Urziceni 4 etc.]


[[หมวดหมู่:การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า]]
[[หมวดหมู่:การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:12, 31 มกราคม 2556

เครื่องโลหะร้อนเปล่งแสงในช่วงที่มองเห็นได้ รังสีความร้อนนี้ยังขยายไปในช่วงอินฟราเรด ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตามนุษย์และกล้องที่จับภาพนี้ แต่กล้องอินฟราเรดจะเห็น

การเปล่งแสง (อังกฤษ: incandescence) คือ การปลดปล่อยแสง ซึ่งเป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่มองเห็นได้ จากวัตถุร้อนเนื่องจากอุณหภูมิของมัน[1]

ในเชิงปฏิบัติ สสารในสถานะของแข็งหรือของเหลวเกือบทุกชนิดเริ่มเปล่งแสงที่อุณหภูมิประมาณ 798K (525°C) โดยมีสีแดงมัวมาก เพราะไม่มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นซึ่งทำให้เกิดแสงอันเป็นผลมาจากกระบวนการคายความร้อน ขีดจำกัดนี้เรียกว่า จุดเดรพเพอร์ การเปล่งแสงนั้นไม่ได้หายไปอย่างสิ้นเชิงในอุณหภูมิต่ำกว่านั้น เพียงแต่อ่อนเกินไปในสเปกตรัมที่มองเห็นได้กว่าที่จะสังเกตได้

การเปล่งแสงนั้นเกิดขึ้นในหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา ซึ่งไส้หลอดนั้นได้รับความร้อนจนถึงอุณหภูมิที่ส่วนหนึ่งของรังสีตกอยู่ในช่วงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ อย่างไรก็ดี รังสีส่วนใหญ่ปลดปล่อยในช่วงคลื่นอินฟราเรดของสเปกตรัม จึงทำให้หลอดไส้เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ค่อนข้างไร้ประสิทธิภาพ[2]

หลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่ได้ทำงานโดยหลักการเปล่งแสง แต่ใช้การปล่อยเนื่องจากความร้อนและการกระตุ้นของอะตอมเนื่องจากการชนกับอิเล็กตรอนพลังงานสูงแทน ในหลอดไส้ มีเพียงอิเล็กตรอนบนยอดแถบเท่านั้นที่สามารถชนได้ ขณะที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีวัสดุที่สามารถทนอุณหภูมิเช่นนั้นได้ซึ่งเหมาะที่จะใช้ในหลอดไฟ

อ้างอิง

  1. Dionysius Lardner (1833). Treatise on Heat. Longman, Rees, Orme, Brown, Green & Longman.
  2. William Elgin Wickenden (1910). Illumination and Photometry. McGraw-Hill.

แหล่งข้อมูลอื่น