ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาฝาก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: en:Dendrophthoe
สามินี (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
|genus_authority = [[Carl Friedrich Philipp von Martius|Mart.]]
|genus_authority = [[Carl Friedrich Philipp von Martius|Mart.]]
|}}
|}}
กาฝาก ({{ภาษาอังกฤษ|parasites}}) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ในวงศ์ Loranthaceae ในอันดับ Santalales มักอาศัยเกาะขึ้นกับพืชอื่น และแย่งอาหารจากพืชที่เกาะอยู่และ บางชนิดก็แย่งอาหารจากพวกกาฝากด้วยกันพืช กาฝากต้องพึ่งพาต้นไม้อื่นในการดำรงชีวิตอ เพราะมันไม่สามารถเกาะอยู่บนต้นไม้อื่นเฉยๆแบบกล้วยไม้ ว่านไก่แดง หรือนมตำเรีย ซึ่งเป็นพืชอิงอาศัย (epiphyte) แต่มันจะต้องแทงรากเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้อื่นนั้น เพื่อแย่งเอามาเป็นอาหารของมัน เพราะกาฝากเป็นพืชเบียน (parasite) บนคาคบไม้ จึงแตกต่างจากกล้วยไม้และพืชอิงอาศัยอื่นๆ
'''กาฝาก''' เป็นพืชดอกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิต มีรากเจาะเข้าไปในท่อน้ำท่ออาหารของพืชที่อาศัยอยู่ โดยขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่หลายชนิด เช่น หูกวาง มะ่ม่วง ประดู่ สน โพธิ์ โดยเมื่อกาฝากเพิ่มปริมาณ เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ต้นไม้ที่กาฝากอาศัยอยู่ตายไปในที่สุด

==ลักษณะต้น==
กาฝากเป็นพืชที่มีเนื้อไม้แข็ง มีใบเขียวชอุ่ม และผลัดใบตามฤดูกาล จากลักษณะของลำต้น กาฝากเป็นไม้พุ่มที่มีกิ่งก้านสาขามากมาย มีใบเป็นใบเดี่ยวที่ติดเรียงแบบตรงกันข้าม (opposite) ขอบใบเรียบ เนื้อใบเหนียวหนา บางชนิดมีใบกว้าง แต่บางชนิดมีใบแคบ พวกกาฝากจะมีรากชนิดหนึ่ง เรียกว่า รากเบียน (haustoria) ที่แทงทะลุเปลือกไม้เข้าไปถึงขั้นเยื่อสร้างความเจริญเติบโต (Cambium) ของพืชที่เกาะอาศัยอยู่ พืชกาฝากแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ

๑. พวกเบียนลำต้นเป็นพืชในวงศ์ลอแรนทาซิอี (Loranthaceae) ซึ่งมีหลายสกุล และมากมายหลายชนิด พบขึ้นทั่วไปตามต้นไม้ต่างๆ และมักเรียกชื่อตามต้นไม้ที่เกาะเบียนอยู่ เช่น กาฝาก มะม่วง กาฝากก่อตาหมู เป็นต้น

๒. พวกเบียนราก มีหลายวงศ์ เช่น
วงศ์ขนุนดิน (Balanophoraceae) อาศัยเกาะกินรากต้นไม้ป่าชนิดต่างๆ ตัวอย่างเช่น ขนุนดินลำต้นแยกแขนงสั้นๆ ชิดกันเป็นกระปุกใหญ่สีน้ำตาล ผิวขรุขระ ส่วน โหราเท้าสุนัข ซึ่งใช้เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งนั้น ลำต้นแยกแขนงค่อนข้างห่างกัน
วงศ์ดอกดิน (Orobanchaceae) อาศัยเกาะกินอาหารจากรากไผ่
วงศ์บัวผุด(Rafflesiaceae) ได้แก่ กระโถฤาษี ดอกตูม เป็นก้อนกลมๆ สีขาว เวลาบานจะเห็นภายในสีน้ำหมากประเหลือง กลิ่นไม่ชวนดม

==ลักษณะดอก==
ดอกกาฝากมีทั้งที่เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อที่ติดกันเป็นกลุ่ม(dichasium) ขึ้นอยู่กับชนิดของกาฝาก เมื่อนำดอกกาฝากมาพิจารณาดู จะเห็นว่า ดอกกาฝากมีกลีบเรียงเป็น 2 วงชั้น กลีบใน (petal) มี 2-3 กลีบ กลีบนอก (sepal) มี 2-3 กลีบเช่นกัน กลีบดอกอาจแยกกัน หรือติดกันที่โคนกลีบกลายเป็นหลอดก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของกาฝาก บางชนิดมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน จึงผสมเกสรกันเองได้ บางชนิดอาจอยู่คนละดอกและคนละต้น

==ลักษณะผล==
ผลของกาฝากมักมีสีขาว มีเปลือกเหนียว หรือแข็ง ภายในมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ซึ่งมีเมือกเหนียวๆห่อหุ้มไว้ เมือกเหนียวๆ นี้เองที่ทำให้เมล็ดกาฝากเกาะติดอยู่บนกิ่งไม้ได้นานๆและเหนียวแน่น จนกว่าจะงอกเป็นต้นกาฝากเล็กๆ มีรากเจาะดูด (haustoria) แทงเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้ได้

==การแพร่พันธุ์==
เมล็ดกาฝากไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้เอง ถ้าหากผลสุกจนแก่จัด จะร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน ถึงจะร่วงหล่นลงบนกิ่งไม้บ้าง แต่ผลนั้นยังมีเนื้อผลไม้หุ้มเมล็ดอยู่ จึงไม่มีวันที่เมล็ดกาฝากจะไปติดอยู่ตามกิ่งไม้ต่างๆได้เลย นอกจากจะอาศัยนกเท่านั้น เพราะนกจะกินผลกาฝากเข้าไปเป็นอาหาร แล้วถ่ายเมล็ดกาฝากออกมาพร้อมกับมูลของมัน นกที่ช่วยแพร่พันธุ์ให้กับต้นกาฝาก คือ นกกาฝาก (Flowerpeckers) เนื่องจากเมล็ดกาฝากมียางเหนียวๆหุ้มอยู่ จึงติดอยู่ที่ปากของนก ทำให้นกเกิดความรำคาญ ต้องเอาปากไปเช็ดกับกิ่งไม้ที่มันเกาะ จนเมล็ดกาฝากติดอยู่กับกิ่งไม้ แล้วงอกงามเป็นต้นกาฝากเกาะกินต้นไม้นั้นในเวลาต่อมา ในขณะที่นกเหล่านี้สอดจะงอยปากเข้าไปดูดกินน้ำหวานในกรวยดอกกาฝาก ละอองเกสรตัวผู้จะติดตามปากและขนบริเวณหน้าผากของนก เมื่อนกเหล่านี้สอดจะงอยปากเข้าไปดูดกินน้ำหวานในดอกกาฝากดอกอื่น ละอองเกสรตัวผู้จึงร่วงหล่นและผสมกับเกสรตัวเมียในดอกกาฝากดอกนั้น ทำให้กาฝากต้นนั้นติดผลได้ ในทางชีววิทยาถือว่าเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างนกกับต้นกาฝากแบบชั่วคราว (mutualism without continuous contact)<ref>http://boonanimal.blogspot.com/2009/05/blog-post.html </ref>
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}



[[หมวดหมู่:วงศ์กาฝาก]]
[[หมวดหมู่:วงศ์กาฝาก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:05, 11 กันยายน 2555

กาฝาก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Santalales
วงศ์: Loranthaceae
สกุล: Dendrophthoe
Mart.

กาฝาก (อังกฤษ: parasites) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ในวงศ์ Loranthaceae ในอันดับ Santalales มักอาศัยเกาะขึ้นกับพืชอื่น และแย่งอาหารจากพืชที่เกาะอยู่และ บางชนิดก็แย่งอาหารจากพวกกาฝากด้วยกันพืช กาฝากต้องพึ่งพาต้นไม้อื่นในการดำรงชีวิตอ เพราะมันไม่สามารถเกาะอยู่บนต้นไม้อื่นเฉยๆแบบกล้วยไม้ ว่านไก่แดง หรือนมตำเรีย ซึ่งเป็นพืชอิงอาศัย (epiphyte) แต่มันจะต้องแทงรากเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้อื่นนั้น เพื่อแย่งเอามาเป็นอาหารของมัน เพราะกาฝากเป็นพืชเบียน (parasite) บนคาคบไม้ จึงแตกต่างจากกล้วยไม้และพืชอิงอาศัยอื่นๆ

ลักษณะต้น

กาฝากเป็นพืชที่มีเนื้อไม้แข็ง มีใบเขียวชอุ่ม และผลัดใบตามฤดูกาล จากลักษณะของลำต้น กาฝากเป็นไม้พุ่มที่มีกิ่งก้านสาขามากมาย มีใบเป็นใบเดี่ยวที่ติดเรียงแบบตรงกันข้าม (opposite) ขอบใบเรียบ เนื้อใบเหนียวหนา บางชนิดมีใบกว้าง แต่บางชนิดมีใบแคบ พวกกาฝากจะมีรากชนิดหนึ่ง เรียกว่า รากเบียน (haustoria) ที่แทงทะลุเปลือกไม้เข้าไปถึงขั้นเยื่อสร้างความเจริญเติบโต (Cambium) ของพืชที่เกาะอาศัยอยู่ พืชกาฝากแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ

๑. พวกเบียนลำต้นเป็นพืชในวงศ์ลอแรนทาซิอี (Loranthaceae) ซึ่งมีหลายสกุล และมากมายหลายชนิด พบขึ้นทั่วไปตามต้นไม้ต่างๆ และมักเรียกชื่อตามต้นไม้ที่เกาะเบียนอยู่ เช่น กาฝาก มะม่วง กาฝากก่อตาหมู เป็นต้น

๒. พวกเบียนราก มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ขนุนดิน (Balanophoraceae) อาศัยเกาะกินรากต้นไม้ป่าชนิดต่างๆ ตัวอย่างเช่น ขนุนดินลำต้นแยกแขนงสั้นๆ ชิดกันเป็นกระปุกใหญ่สีน้ำตาล ผิวขรุขระ ส่วน โหราเท้าสุนัข ซึ่งใช้เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งนั้น ลำต้นแยกแขนงค่อนข้างห่างกัน วงศ์ดอกดิน (Orobanchaceae) อาศัยเกาะกินอาหารจากรากไผ่ วงศ์บัวผุด(Rafflesiaceae) ได้แก่ กระโถฤาษี ดอกตูม เป็นก้อนกลมๆ สีขาว เวลาบานจะเห็นภายในสีน้ำหมากประเหลือง กลิ่นไม่ชวนดม

ลักษณะดอก

ดอกกาฝากมีทั้งที่เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อที่ติดกันเป็นกลุ่ม(dichasium) ขึ้นอยู่กับชนิดของกาฝาก เมื่อนำดอกกาฝากมาพิจารณาดู จะเห็นว่า ดอกกาฝากมีกลีบเรียงเป็น 2 วงชั้น กลีบใน (petal) มี 2-3 กลีบ กลีบนอก (sepal) มี 2-3 กลีบเช่นกัน กลีบดอกอาจแยกกัน หรือติดกันที่โคนกลีบกลายเป็นหลอดก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของกาฝาก บางชนิดมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน จึงผสมเกสรกันเองได้ บางชนิดอาจอยู่คนละดอกและคนละต้น

ลักษณะผล

ผลของกาฝากมักมีสีขาว มีเปลือกเหนียว หรือแข็ง ภายในมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ซึ่งมีเมือกเหนียวๆห่อหุ้มไว้ เมือกเหนียวๆ นี้เองที่ทำให้เมล็ดกาฝากเกาะติดอยู่บนกิ่งไม้ได้นานๆและเหนียวแน่น จนกว่าจะงอกเป็นต้นกาฝากเล็กๆ มีรากเจาะดูด (haustoria) แทงเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้ได้

การแพร่พันธุ์

เมล็ดกาฝากไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้เอง ถ้าหากผลสุกจนแก่จัด จะร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน ถึงจะร่วงหล่นลงบนกิ่งไม้บ้าง แต่ผลนั้นยังมีเนื้อผลไม้หุ้มเมล็ดอยู่ จึงไม่มีวันที่เมล็ดกาฝากจะไปติดอยู่ตามกิ่งไม้ต่างๆได้เลย นอกจากจะอาศัยนกเท่านั้น เพราะนกจะกินผลกาฝากเข้าไปเป็นอาหาร แล้วถ่ายเมล็ดกาฝากออกมาพร้อมกับมูลของมัน นกที่ช่วยแพร่พันธุ์ให้กับต้นกาฝาก คือ นกกาฝาก (Flowerpeckers) เนื่องจากเมล็ดกาฝากมียางเหนียวๆหุ้มอยู่ จึงติดอยู่ที่ปากของนก ทำให้นกเกิดความรำคาญ ต้องเอาปากไปเช็ดกับกิ่งไม้ที่มันเกาะ จนเมล็ดกาฝากติดอยู่กับกิ่งไม้ แล้วงอกงามเป็นต้นกาฝากเกาะกินต้นไม้นั้นในเวลาต่อมา ในขณะที่นกเหล่านี้สอดจะงอยปากเข้าไปดูดกินน้ำหวานในกรวยดอกกาฝาก ละอองเกสรตัวผู้จะติดตามปากและขนบริเวณหน้าผากของนก เมื่อนกเหล่านี้สอดจะงอยปากเข้าไปดูดกินน้ำหวานในดอกกาฝากดอกอื่น ละอองเกสรตัวผู้จึงร่วงหล่นและผสมกับเกสรตัวเมียในดอกกาฝากดอกนั้น ทำให้กาฝากต้นนั้นติดผลได้ ในทางชีววิทยาถือว่าเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างนกกับต้นกาฝากแบบชั่วคราว (mutualism without continuous contact)[1]


อ้างอิง