ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปราสาทโฮเอินชวังเกา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ro:Castelul Hohenschwangau
Alexbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: hr:Dvorac Hohenschwangau
บรรทัด 70: บรรทัด 70:
[[fr:Château de Hohenschwangau]]
[[fr:Château de Hohenschwangau]]
[[gl:Castelo de Hohenschwangau]]
[[gl:Castelo de Hohenschwangau]]
[[hr:Dvorac Hohenschwangau]]
[[it:Castello di Hohenschwangau]]
[[it:Castello di Hohenschwangau]]
[[ja:ホーエンシュヴァンガウ城]]
[[ja:ホーエンシュヴァンガウ城]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:44, 27 สิงหาคม 2555

ดูความหมายอื่นๆ ของการเลือกใช้คำเรียกได้ที่ การเรียกชื่อปราสาท, วัง หรือ คฤหาสน์
ปราสาทโฮเฮ็นชวานเกา
Schloss Hohenschwangau (เยอรมัน)
Hohenschwangau Castle (อังกฤษ)
ปราสาทโฮเฮ็นชวานเกา
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระราชวัง
สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค
เมืองระหว่างโฮเฮ็นชวานเกาและฟึสเสน
ประเทศประเทศเยอรมนี
พิกัดแม่แบบ:Coor dms
เริ่มสร้างค.ศ. 1833 - ค.ศ. 1837 (ไม่เสร็จ)
ผู้สร้างพระเจ้าแม็กซิมิลเลียนที่ 2 แห่งบาวาเรีย
เว็บไซต์
ปราสาทโฮเฮ็นชวานเกา

ปราสาทโฮเฮ็นชวานเกา (Schloss Hohenschwangau) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านชวานเกาใกล้เมืองฟึสเส็นทางตอนใต้ของแคว้นบาวาเรียในประเทศเยอรมนี เป็นปราสาทที่พระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรียประทับเมื่อยังทรงพระเยาว์

ตัวปราสาทสร้างบนซากปราสาทชวานสไตน์เดิมซึ่งกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปราสาทเดิมสร้างโดยครอบครัวของอัศวิน หลังจากการยุบเลิกระบบอัศวินในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปราสาทก็เปลี่ยนมือหลายครั้ง และตัวปราสาทก็เสื่อมโทรมลงจนเหลือแต่ทรากเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19

ในปี ค.ศ. 1829 มงกุฏราชกุมารแม็กซิมิลเลียนแห่งบาวาเรียผู้ต่อมาเป็นพระเจ้าแม็กซิมิลเลียนที่ 2 แห่งบาวาเรียทรงพบว่าปราสาทนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่มีสิ่งแวดล้อมเป็นที่ต้องตา ทรงถูกพระทัยจึงได้ซึ้อปราสาทเมื่อปี ค.ศ. 1832 ปีหนึ่งต่อมาการก่อสร้างปราสาทใหม่ก็เริ่มขึ้นและสร้างต่อมาจนถึง ค.ศ. 1837 โดยมีสถาปนิกโดเมนนิโค ควากลิโอเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างปราสาทให้เป็นแบบฟื้นฟูกอธิค

ปราสาทโฮเฮ็นชวานเกาสร้างเป็นพระราชวังฤดูร้อนและล่าสัตว์ของพระเจ้าแม็กซิมิลเลียน, เจ้าหญิงมารีแห่งปรัสเซียพระชายา และพระโอรสสององค์ -- เจ้าชายลุดวิกและ เจ้าชายอ็อตโต พระเจ้าแม็กซิมิลเลียนและพระชายาประทับอยู่ในตัวปราสาทใหญ่ และพระโอรสในส่วนที่ต่อเติม

เมื่อพระเจ้าแม็กซิมิลเลียนที่ 2 สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1864 พระราชโอรสเจ้าชายลุดวิกก็ขึ้นครองต่อเป็นพระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย ทรงย้ายจากส่วนที่ต่อเติมไปอยู่ในห้องบรรทมของพระบิดาและมารดา ในเมื่อลุดวิกไม่ทรงมีครอบครัว เจ้าหญิงมารีแห่งปรัสเซียพระมารดาจึงทรงประทับอยู่ที่ปราสาทได้ พระเจ้าลุดวิกทรงโปรดการพำนักอยู่ที่โฮเฮ็นชวานเกาโดยเฉพาะเมื่อทรงเริ่มสร้างปราสาทนอยชวานชไตน์บนเนินเหนือโฮเฮ็นชวานเกาไม่ไกลเท่าใดนัก

เมื่อพระเจ้าลุดวิกที่ 2 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1886 พระราชินีมารีแห่งปรัสเซียทรงเป็นผู้เดียวที่อาศัยอยู่ในโฮเฮ็นชวานเกาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1889 ต่อมาพระปิตุลาของลุดวิกเจ้าชายลุทโพลด์แห่งบาวาเรียก็มาประทับอยู่บนชั้นสาม และทรงเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตั้งไฟฟ้าและลิฟต์ในปราสาทในปี ค.ศ. 1905 เมื่อเจ้าชายลุทโพลด์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1912 วังก็กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ในปีต่อมา

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1และสงครามโลกครั้งที่ 2ปราสาทได้รับความเสียหาย ในปี ค.ศ. 1923 รัฐบาลบาวาเรียยอมรับสิทธิในการพำนักอาศัยในปราสาทของอดีตราชวงศ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1933 ถึงปี ค.ศ. 1939 มกุฎราชกุมารรูพเพร็คแห่งบาวาเรีย (Crown Prince Rupprecht of Bavaria) และครอบครัวใช้ปราสาทเป็นวังฤดูร้อนและเป็นที่โปรดปรานของผู้สืบต่อมา

ปีหนึ่งๆ จะมีผู้เข้าเยี่ยมชมปราสาทโฮเฮ็นชวานเกาประมาณปีละ 300,000 คน

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปราสาทโฮเฮ็นชวานเกา