ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กินนร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Modernkoro (คุย | ส่วนร่วม)
Modernkoro (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 3: บรรทัด 3:


'''กินรี''' (ตัวเมีย) และ '''กินร''' (ตัวผู้) เป็น[[สัตว์ในป่าหิมพานต์]] ร่างกายท่อนบนเป็น[[มนุษย์]] ท่อนล่างเป็น[[นก]] มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่า[[หิมพานต์]] เชิง[[เขาไกรลาศ]] นับเป็น[[สัตว์]]ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน
'''กินรี''' (ตัวเมีย) และ '''กินร''' (ตัวผู้) เป็น[[สัตว์ในป่าหิมพานต์]] ร่างกายท่อนบนเป็น[[มนุษย์]] ท่อนล่างเป็น[[นก]] มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่า[[หิมพานต์]] เชิง[[เขาไกรลาศ]] นับเป็น[[สัตว์]]ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน

==ตำนาน==
กินรีมีต้นกำเนิดที่แท้จริงเป็นมาอย่างไรนั้นยังไม่พบตำราไหนกล่าวไว้ชัดเจน แต่ในเทวะประวัติของพระพุธกล่าวไว้ว่า เมื่อท้าวอิลราชประพาสป่าแล้วหลงเข้าไปในเขตหวงห้ามของพระศิวะนั้น ท้าวอิลราช และบริวารถูกสาปให้แปลงเพศเป็นหญิงทั้งหมด ต่อมานางอิลา คือ ท้าวอิลราชถูกสาป และบริวารที่มาเล่นน้ำอยู่ใกล้อาศรมของพระพุธ เมื่อพระพุธเห็นนางเข้าก็ชอบ รับนางเป็นชายา และเสกให้บริวารของนางกลายเป็น กินรี โดยบอกว่าจะหาผลาหารให้กิน และจะหากิมบุรุษให้เป็นสามี แสดงว่า กิมบุรุษ หรือ กินนร และกินรีมีต้นกำเนิดมาจากการเศกของพระพุธ

ในหนังสือของ พี.ธอมัส กล่าวว่าที่เชิงเขาเมรุเป็นที่อยู่ของคนธรรพ์ กินร และสิทธิ์ และว่าคนธรรพ์กับกินนรเป็นเชื้อสายเดียวกัน ส่วนในภัลลาติชาดก กล่าวว่า กินนรมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี และธรรมดากินนรนั้นย่อมกลัวน้ำเป็นที่สุด ซึ่งน่าจะขัดแย้งกับอุปนิสัยกินนรในเรื่องพระสุธน เพราะนางมโนห์ราชอบไปเล่นน้ำที่สระกลางป่าหิมพานต์ จึงถูกพานบุญดักจับตัวได้


== ศิลปะ ==
== ศิลปะ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:39, 25 มกราคม 2553

รูปหล่อโลหะของ กินร และ กินรื ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
รูปหล่อโลหะของ กินร และ กินรื ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

กินรี (ตัวเมีย) และ กินร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาศ นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน

ตำนาน

กินรีมีต้นกำเนิดที่แท้จริงเป็นมาอย่างไรนั้นยังไม่พบตำราไหนกล่าวไว้ชัดเจน แต่ในเทวะประวัติของพระพุธกล่าวไว้ว่า เมื่อท้าวอิลราชประพาสป่าแล้วหลงเข้าไปในเขตหวงห้ามของพระศิวะนั้น ท้าวอิลราช และบริวารถูกสาปให้แปลงเพศเป็นหญิงทั้งหมด ต่อมานางอิลา คือ ท้าวอิลราชถูกสาป และบริวารที่มาเล่นน้ำอยู่ใกล้อาศรมของพระพุธ เมื่อพระพุธเห็นนางเข้าก็ชอบ รับนางเป็นชายา และเสกให้บริวารของนางกลายเป็น กินรี โดยบอกว่าจะหาผลาหารให้กิน และจะหากิมบุรุษให้เป็นสามี แสดงว่า กิมบุรุษ หรือ กินนร และกินรีมีต้นกำเนิดมาจากการเศกของพระพุธ

ในหนังสือของ พี.ธอมัส กล่าวว่าที่เชิงเขาเมรุเป็นที่อยู่ของคนธรรพ์ กินร และสิทธิ์ และว่าคนธรรพ์กับกินนรเป็นเชื้อสายเดียวกัน ส่วนในภัลลาติชาดก กล่าวว่า กินนรมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี และธรรมดากินนรนั้นย่อมกลัวน้ำเป็นที่สุด ซึ่งน่าจะขัดแย้งกับอุปนิสัยกินนรในเรื่องพระสุธน เพราะนางมโนห์ราชอบไปเล่นน้ำที่สระกลางป่าหิมพานต์ จึงถูกพานบุญดักจับตัวได้

ศิลปะ

จิตรกรรม

ในงานจิตรกรรมไทยนิยมวาดภาพกินร และกินรีไว้ในที่ต่างๆ ในฉากของป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ยังมีการปั้นรูปกินรและกินรีประดับไว้ในสถานที่สำคัญด้วย

นาฏกรรม

ระบำกินรีร่อนออกบูชายัญ

นางกินรี มีในวรรณกรรมของไทยหลายเรื่อง เรื่องที่แพร่หลายที่สุด คือวรรณกรรมเรื่อง พระสุธน-มโนราห์ ซึ่งตัวนางเอกเป็นนางกินรี มาจากป่าหิมพานต์และถูกจับได้เมื่อลงมาเล่นน้ำในสระ จนต้องกลายเป็นพระมเหสีของพระสุธนผู้เป็นมนุษย์ และถูกกลั่นแกล้งให้ถูกเผาทั้งเป็น แต่นางใช้อุบายหลอกขอปีกหางที่ถูกยึดไว้และบินหนีรอดมาได้ ภายหลังพระสุธนออกติดตามไปยังป่าหิมพานต์และได้พบกันในที่สุด นาฏกรรมในเรื่องนี้มีหลายชุดที่มีชื่อเสียงเป็นที่แพร่หลายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ชุด มโนราห์บูชายัญ , ระบำกินรีร่อน และระบำไกรลาศสำเริง

ระบำกินรีร่อนออกบูชายัญ เป็นระบำชุดหนึ่งที่ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ ได้ประดิษฐ์ท่ารำให้มีลีลาอ่อนช้อย งดงาม กับทั้งสอดแทรกความร่าเริงของเหล่ากินรี ที่โผผินบินมาเริงระบำกันอย่างสนุกสนาน โดยให้เข้ากับท่วงทำนองและจังหวะเพลง บางครั้งรำก่อนมโนราห์บูชายัญ หรือบางครั้งก็รำต่อท้ายมโนราห์บูชายัญ

อ้างอิง