ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิชา มหาคุณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
นายวิชา มหาคุณ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 ตามประกาศ[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] ฉบับที่ 19 ]ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และได้รับโปรดเกล้าฯเป็นสมาชิก[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550]]โดยได้รับการคัดเลือกให้เป็นรองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 3 ประธานอนุกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 3 ว่าด้วยองค์กรอิสระและศาล
นายวิชา มหาคุณ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 ตามประกาศ[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] ฉบับที่ 19 ]ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และได้รับโปรดเกล้าฯเป็นสมาชิก[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550]]โดยได้รับการคัดเลือกให้เป็นรองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 3 ประธานอนุกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 3 ว่าด้วยองค์กรอิสระและศาล


นายวิชา มหาคุณ เคยได้รับรางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น จากสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน รางวัลคนไทยตัวอย่าง จากมูลนิธิธารน้ำใจ และรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชนดีเด่น จากสำนักงานส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ รวมทั้งได้รับการคัดเลือกให้เป็นตุลาการทำหน้าที่ไต่สวนคดีเด็กที่ได้รับภัยจากสงคราม ณ เมืองcolchester ประเทศอังกฤษ
นายวิชา มหาคุณ เคยได้รับรางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น จากสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน รางวัลคนไทยตัวอย่าง จากมูลนิธิธารน้ำใจ และรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชนดีเด่น จากสำนักงานส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ รวมทั้งได้รับการคัดเลือกให้เป็นตุลาการทำหน้าที่ไต่สวนคดีเด็กที่ได้รับภัยจากสงคราม ณ เมืองcolchester ประเทศอังกฤษ และในวันที่ 29 กรกฎาคม 2552 ได้รับรางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งชาติ จากสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


นายวิชามีผลงานด้านวิชาการ เป็นตำราหลายเล่ม เช่น กฎหมายล้มละลาย ฉบับสมบูรณ์ การตีความกฎหมาย(เขียนร่วมกับศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร) การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย และกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ความรู้กฎหมายด้วยการเขียนหนังสือชุดกฎหมายสนุก สนุก เช่น คดีตัวอย่าง คดีข้ามศตวรรษ และกฎหมายกับความรัก ตลอดจนหนังสือความรู้เพื่อชุมชน เช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น รวมทั้งมีผลงานที่มีชื่อเสียงต่อสาธารณชน คือ งานด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน ด้านบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ติดยาเสพติด โดยเป็นประธานมูลนิธิยุวพุทธพัฒนา ประธานมูลนิธิสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา ในพระอุปถัมป์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนากระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัว ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ประธานมูลนิธิกองทุนเยาวชนพัฒนา ประธานสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นต้น
นายวิชามีผลงานด้านวิชาการ เป็นตำราหลายเล่ม เช่น กฎหมายล้มละลาย ฉบับสมบูรณ์ การตีความกฎหมาย(เขียนร่วมกับศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร) การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย และกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ความรู้กฎหมายด้วยการเขียนหนังสือชุดกฎหมายสนุก สนุก เช่น คดีตัวอย่าง คดีข้ามศตวรรษ และกฎหมายกับความรัก ตลอดจนหนังสือความรู้เพื่อชุมชน เช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น รวมทั้งมีผลงานที่มีชื่อเสียงต่อสาธารณชน คือ งานด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน ด้านบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ติดยาเสพติด โดยเป็นประธานมูลนิธิยุวพุทธพัฒนา ประธานมูลนิธิสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา ในพระอุปถัมป์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนากระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัว ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ประธานมูลนิธิกองทุนเยาวชนพัฒนา ประธานสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นต้น

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:13, 31 กรกฎาคม 2552

ไฟล์:วิชา มหาคุณ.jpg

นายวิชา มหาคุณ (เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2489) กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อดีตประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา

นายวิชา จบการศึกษาปริญญาตรีและโท จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนติบัณฑิตไทย ปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่41ประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 11 (สถาบันพระปกเกล้า) นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ แห่ง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยได้รับทุน จากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ให้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "การเผยแพร่ความรู้กฎหมายไปสู่ชนบท"ณ ศูนย์ศึกษาเมืองเบลลาจิโอ ประเทศอิตาลี กับได้รับทุนจากองค์การอนุเคราะห์เด็กแห่งนอรเวย์ ให้ศึกษาวิจัยเรื่อง "การทารุณกรรมเด็ก" รวมทั้งได้รับทุนฝึกอบรมด้านบำบัดผู้ติดยาเสพติด ณ นครนิวยอร์ก จากองค์การเดท็อป แห่ง สหรัฐอเมริกา

นายวิชา เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาได้โอนไปรับราชการเป็น พนักงานอัยการ ตำแหน่งสุดท้ายก่อนไปเป็นตุลาการ คือ อัยการจังหวัดผู้ช่วยจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนตำแหน่งในทางตุลาการเคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดแพร่ ผู้พิพากษาประจำกระทรวงช่วยทำงานทำเนียบนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เลขานุการส่วนตัวนายกรัฐมนตรี(นายธานินทร์ กรัยวิเชียร)ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดอุบลราชธานี ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอุบลราชธานี เลขานุการศาลฎีกา ขณะดำรงตำแหน่งเลขานุการศาลฎีกาได้ถูกคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้ออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ. 2535 ด้วยข้อหาขัดคำสั่งรัฐมนตรี เมื่อครั้งเกิดกรณี "วิกฤตตุลาการ" แต่ได้ทูลเกล้าถวายฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโดยมีพระราชกระแสว่า ไม่สมควรออกจากราชการ รัฐมนตรีจึงมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งที่ให้ออกจากราชการ ดังนั้นนายวิชาจึงยังคงดำรงตำแหน่งตุลาการเช่นเดิม ต่อมาจึงได้รับโปรดเกล้า ฯให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค1 รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค2และภาค1ตามลำดับ กับได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ สองสมัย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาวชิรมงกุฎ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก [กรณีวิกฤตตุลาการ นายวิชาได้บันทึกไว้ในหนังสือชื่อ บันทึกประวัติศาสตร์ 100ปี กระทรวงยุติธรรม"การต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระแห่งอำนาจตุลาการ กรกฎาคม 2534-มีนาคม 2535"]

นายวิชา มหาคุณ ดำรงตำแหน่งสุดท้ายในราชการศาลยุติธรรม คือ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา ก่อนจะถูกเสนอชื่อจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง และได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับเลือกเป็น กกต.เพราะได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 [1]

นายวิชา มหาคุณ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ]ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และได้รับโปรดเกล้าฯเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550โดยได้รับการคัดเลือกให้เป็นรองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 3 ประธานอนุกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 3 ว่าด้วยองค์กรอิสระและศาล

นายวิชา มหาคุณ เคยได้รับรางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น จากสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน รางวัลคนไทยตัวอย่าง จากมูลนิธิธารน้ำใจ และรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชนดีเด่น จากสำนักงานส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ รวมทั้งได้รับการคัดเลือกให้เป็นตุลาการทำหน้าที่ไต่สวนคดีเด็กที่ได้รับภัยจากสงคราม ณ เมืองcolchester ประเทศอังกฤษ และในวันที่ 29 กรกฎาคม 2552 ได้รับรางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งชาติ จากสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายวิชามีผลงานด้านวิชาการ เป็นตำราหลายเล่ม เช่น กฎหมายล้มละลาย ฉบับสมบูรณ์ การตีความกฎหมาย(เขียนร่วมกับศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร) การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย และกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ความรู้กฎหมายด้วยการเขียนหนังสือชุดกฎหมายสนุก สนุก เช่น คดีตัวอย่าง คดีข้ามศตวรรษ และกฎหมายกับความรัก ตลอดจนหนังสือความรู้เพื่อชุมชน เช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น รวมทั้งมีผลงานที่มีชื่อเสียงต่อสาธารณชน คือ งานด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน ด้านบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ติดยาเสพติด โดยเป็นประธานมูลนิธิยุวพุทธพัฒนา ประธานมูลนิธิสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา ในพระอุปถัมป์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนากระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัว ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ประธานมูลนิธิกองทุนเยาวชนพัฒนา ประธานสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นต้น

อ้างอิง