ผู้ใช้:ธิดารัตน์ โฉมแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปอเทือง[แก้]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ปอเทือง (Crotalaria juncea) เป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามากสูงประมาณ 180 - 300 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดียวยาวรี ช่อดอกเป็นแบบราซีม (racemes) ซึ่งอยู่ปลายกิ่งก้านสาขา ประกอบด้วยดอกย่อย 8 -20 ดอก ดอกสีเหลืองมีการผสมข้ามฝักเป็นทรงกระบอกยาว 3 - 6 เซนติเมตร กว้าง 1 - 2 เซนติเมตร หนึ่งฝักมีประมาณ 6 เมล็ด เมื่อเขย่าฝักแก่จะมีเสียงดังเนื่องจากเมล็ดกระทบกันเมล็ดมีรูปร่างคล้ายหัวใจสีน้ำตาลหรือดำ เมล็ดหนึ่งกิโลกรัมจะมีเมล็ดจำนวน 40,000 - 50,000 เมล็ด หรือหนึ่งลิตรจะมีประมาณ 34,481 เมล็ด วิธีปลูก 1) ปลูกแบบหว่านเป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดเวลาและแรงงาน โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้หว่านลงไปในแปลงให้ทั่วในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร 2) ปลูกแบบโรยเป็นแถว โดยใช้เมล็ดโรยลงในแถว ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร เมื่อโรยเมล็ดลงในแถวแล้วกลบเมล็ดด้วยดินบาง ๆ ใช้อัตราเมล็ด 3 - 4 กิโลกรัม/ไร่ 3) ปลูกแบบหยอดหลุม วิธีนี้ล่าช้าและไม่สะดวกในทางปฏิบัติอีกทั้งสื้นเปลืองแรงงาน ไม่เป็นที่นิยมใช้ในกรณีที่มีเมล็ดพันธุ์จำกัดมาก ใช้ระยะปลูก 50*100 เซนติเมตรหยดเมล็ด 2 - 3 เมล็ด/หลุม ใช้อัตราเมล็ด 1 - 3 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากปอเทืองออกดอกช่วงอายุประมาณ 50 - 60 วัน ก็ไถกลบ การไถกลบควรจะไถ ขณะที่มีความชื้นอยู่ในดินพอสมควร การใช้ประโยชน์ ปลูกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในสภาพื้นที่ดอน โดยปลูกในรูปแบบของพืชหมุนเวียน โดยหว่านหรือโรยเมล็ด ก่อนการปลูกพืชหลัก เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย เป็นต้น อย่างน้อย 2.0 - 2.5 เดือน แล้วไถกลบปอเทืองที่อายุประมาณ 50 - 60 วัน ในขณะที่ดินยังมีความชื้นแล้วทิ้งไว้ 7 - 10 วัน ก่อนปลูกพืชหลัก หรืออาจปลูกในรูปแบบของพืชแซม โดยปลูกระหว่างแถวพืชหลัก ปลูกหลังจากพืชหลักประมาณ 1 - 2 สัปดาห์

[[1]]

  • ถิ่นกำเนิด : ทวีปแอฟริกา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

  1. ลำต้น

ลำต้นปอเทือง เป็นพืชล้มลุกปีเดียว ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เรียวสูง ลำต้นแตกกิ่งน้อยถึงปานกลาง ขนาดลำต้นประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 1.5- 3 เมตร เปลือกลำต้นบาง มีสีเขียว สามารถลอกเป็นเส้นได้ แก่นหรือเนื้อไม้ เป็นไม้เนื้ออ่อน เปราะหักง่าย สามารถใช้ทำเยื่อกระดาษได้ดี

  1. ใบ

ปอเทือง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกใบเยื้องสลับกันตามความสูงของลำต้น ใบมีก้านใบสั้น ใบมีรูปยาวรี กว้างสุดที่กลางใบประมาณ 4-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่มีสีเขียวอมเทา โคนใบสอบเล็ก ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ มีเส้นใบแตกออกจากเส้นกลางใบตรงข้ามกัน ทำให้มองดูแผ่นใบมีลายแถบ

  1. อก

ปอเทืองออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกเป็นแบบราซีม บริเวณปลายยอดของกิ่ง แต่ละช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อย 8 -20 ดอก ดอกตูมมีสีเขียวอมเหลือง ดอกบานมีกลีบดอกสีเหลือง

  • ผล และเมล็ด

ผลปอเทือง เรียกเป็นฝัก ที่มีลักษณะทรงกระบอก ขนาดกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียวสด เมื่อแก่มีสีน้ำตาล ภายในฝักเป็นโพรงอากาศที่เมล็ดเมล็ดบรรจุอยู่ เมื่อเขย่าจะมีเสียงดังที่เกิดจากเมล็ดกระทบเปลือกฝัก แต่ละฝักมีประมาณ 6 เมล็ด โดยเมล็ดจะมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมดำ น้ำหนักเมล็ด 1 กิโลกรัม จะมีเมล็ดประมาณ 40,000 – 50,000 เมล็ด แต่หากใช้กระบอก 1 ลิตร ตวงตัก จะได้เมล็ดประมาณ 34,481 เมล็ด

ประโยชน์ปอเทือง[แก้]

1. ใช้ปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีไนโตรเจนสูง รวมถึงสารอาหารอื่นด้วย 2. ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดิน ป้องกันหน้าดินพังทลาย 3. ใช้ปลูกเป็นพืชอาหารสำหรับเลี้ยงโค กระบือ รวมถึงดอก และใบที่นำมาเลี้ยงหมูได้เช่นกัน 4. ใช้ปลูกเพื่อนำดอกมารับประทาน ทั้งรับประทานสด หรือลวกจิ้มน้ำพริก รวมถึงใช้ประกอบอาหารหลายเมนู อาทิ แกงอ่อม แกงเลียง ต้มยำ เป็นต้น 5. ลำต้นใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ 6. เปลือกลำต้นสามารถดึงลอกเป็นเส้นได้ และจัดเป็นเส้นใยที่มีความเหนียวสูง สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชือก ด้าย และอวน เป็นต้น


<https://guru.sanook.com> <http://puechkaset.comf>













ปอเทือง[1]

  1. แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้