ปูแมงมุมญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปูแมงมุมญี่ปุ่น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับฐาน: Brachyura
วงศ์ใหญ่: Majoidea
วงศ์: Inachidae
สกุล: Macrocheira
De Haan, 1839
สปีชีส์: M.  kaempferi
ชื่อทวินาม
Macrocheira kaempferi
(Temminck, 1836)
ชื่อพ้อง [1]
  • Maja kaempferi Temminck, 1836
  • Inachus kaempferi (Temminck, 1836)
  • Kaempferia kaempferi (Temminck, 1836)

ปูแมงมุมญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: タカアシガニโรมาจิทะกะอะชิงะนิ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าMacrocheira kaempferi, เป็นสายพันธุ์ปูทะเลที่สามารถพบได้ทั่วไปในน่านน้ำของประเทศญี่ปุ่น มันถูกจับเพื่อนำมาทำอาหารเนื่องจากเนื้อมีรสชาติดีและถือว่าเป็นอาหารอันโอชะของญี่ปุ่น[2]

ลักษณะ[แก้]

ชื่อของมันในภาษาญี่ปุ่นแปลว่าปูขายาวซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามลักษณะขาของมัน โดยปูแมงมุมญี่ปุ่นนี้มีขายาวที่สุดในสัตว์จำพวกสัตว์ขาปล้องโดยมีขนาดประมาณ5.5เมตร[3] ลำตัวของมันจะมีลักษณะกลมคล้ายหัวใจซึ่งจะกว้างประมาณ 30-40 ซ.ม.และยาวประมาณ 20 ซ.ม. นำหนักเฉลี่ยของพวกมันคือประมาณ 15-20 กิโลกรัม[4][5]ปูตัวเมียนั้นจะมีขาและก้ามสั้นกว่าปูตัวผู้[6] ลำตัวของมันจะมีสีส้มและมีจุดสีขาวๆแต้มเป็นจุดหรือลายตามลำตัว[7]พวกมันมีรูปร่างที่ดุดันน่ากลัวแต่มีนิสัยอ่อนโยนและไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์[7]กระดองของมันสามารถใช้ในการป้องกันตัวจากนักล่าจำพวกหมึกยักษ์ได้ดีอีกทั้งกระดองของพวกมันมีปุ่มมีหนามและบางครั้งก็ถูกปกคลุมด้วยฟองน้ำหรือสาหร่ายทำให้นักล่าไม่ทันสังเกต[8]

ที่อยู่อาศัย[แก้]

ปูแมงมุมญี่ปุ่นสามารถพบได้บริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของ เกาะฮนชู, อ่าวโตเกียวไล่ลงไปทางใต้จนถึงประเทศไต้หวัน[6]ตัวเต็มวัยนั้นจะพบได้ที่ความลึก 50-600เมตร[6] พวกมันชอบทะเลลึกที่เป็นพื้นทรายหรือดินโคลน[9]โดยปกติพวกมันจะอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิ 10-13 องศา[10]

รูปภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Peter K. L. Ng, Danièle Guinot & Peter J. F. Davie (2008). "Systema Brachyurorum: Part I. An annotated checklist of extant Brachyuran crabs of the world" (PDF). Raffles Bulletin of Zoology. 17: 1–286. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-06.
  2. Riebel, W. (2011). "Macrocheira kaempferi". Animal Diversity Web. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.
  3. An ugly giant crab of Japan Popular science, 1920, 96 (6) : 42.
  4. Maurice Burton & Robert Burton (2002). "Spider crab". International Wildlife Encyclopedia (3rd ed.). Marshall Cavendish. pp. 2475–2476. ISBN 978-0-7614-7266-7.
  5. G. F. Mees (1957). "Over het belang van Temminck's "Discours Préliminaire" voor de zoologische nomenclatuur" [On the importance of Temminck's "Discours Préliminaire" for zoological nomenclature]. Zoologische Mededelingen (ภาษาดัตช์). 35 (15): 205–227. on dit, que ce Crustacé est redouté des habitants par les blessures graves, qu'il est en état de faire au moyen de ses fortes serres
  6. 6.0 6.1 6.2 "Macrocheira kaempferi". Crabs of Japan. Marine Species Identification Portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-04. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
  7. 7.0 7.1 "Japanese Spider Crabs Arrive at Aquarium". Oregon Coast Aquarium. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-11. สืบค้นเมื่อ 2017-07-12.
  9. "Japanese Spider Crab". Georgia Aquarium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 6 June 2013.
  10. "Japanese Spider Crab Care Manual" (PDF). AZA Aquatic Invertebrate Taxon Advisory Group. Silver Spring, MD: Association of Zoos and Aquariums. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 February 2016.