ปลาเบี้ยว
ปลาเบี้ยว | |
---|---|
B. dinema เป็นชนิดที่พบในอินโดนีเซีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Siluriformes |
วงศ์: | Siluridae |
สกุล: | Belodontichthys Bleeker, 1857 |
ชนิด | |
|
ปลาเบี้ยว หรือ ปลาคางเบือน (อังกฤษ: Twisted-jaw catfish, Twisted-jaw sheatfish) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืด 2 ชนิดในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ซึ่งอยู่ในอันดับปลาหนัง ใช้ชื่อสกุลว่า Belodontichthy (/เบล-โอ-ดอนท์-อิค-ธีส/; "Belo" เป็นภาษากรีกหมายถึง "ทุกทิศทาง", "odon" หมายถึง "ฟัน" และ "ichthyos" หมายถึง "ปลา" มีความหมายรวมหมายถึง "ปลาที่มีฟันทุกทิศทาง"[1])
มีรูปร่างโดยรวมคือ ปากกว้างและเชิดขึ้นอันเป็นที่มาของชื่อ ภายในมีฟันแหลมคม ตาโตอยู่ตอนกลางของหัว ใกล้มุมปากมีหนวด 1 คู่ยาวจนถึงครีบอก ครีบหลังเล็กมาก มีก้านครีบแขนง 3 หรือ 4 ก้าน ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กเว้าตื้น ตัวมีสีเงินวาวหรือเหลือบสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง นัยน์ตามีเยื่อไขมันบาง ๆ คลุม อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ กินอาหาร จำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์อยุ่เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น [2] พบเพียง 2 ชนิด คือ
- Belodontichthys truncatus พบในภูมิภาคอินโดจีน มีความยาวได้ 60 เซนติเมตร
- Belodontichthys dinema มีลักษณะคล้ายชนิดแรก เว้นแต่มีครีบหู ช่วงหัว และปลายปากที่สั้นกว่า และพบได้ในแหลมมลายูจนถึงเกาะสุมาตราและบอร์เนียว เป็นปลาที่เพิ่งถูกอนุกรมวิธานแยกออกจากชนิดแรกเมื่อไม่นานมานี้ มีความเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร[3]
เป็นปลาที่นิยมบริโภค โดยเฉพาะในชนิด B. truncatus พบชุกชุมในทะเลสาบเขมร โดยนำมาบริโภคสดและแปรรูปเป็นปลาแห้ง อีกทั้งยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หน้า 76-79, เจ้าปลาหน้าเบี้ยว (เรื่องจากทางบ้าน) โดย บุญภัทธ บุญวังแร่. "Wild Ambition". นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 46 ปีที่ 4: เมษายน 2014
- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 2. ISBN 974-00-8738-8
- ↑ Fishbase.org
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Belodontichthys ที่วิกิสปีชีส์