ข้ามไปเนื้อหา

ปลาดุมชี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาดุมชี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Nandidae
สกุล: Nandus
สปีชีส์: N.  oxyrhynchus
ชื่อทวินาม
Nandus oxyrhynchus
Ng, Vidthayanon & Ng, 1996

ปลาดุมชี ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nandus oxyrhynchus อยู่ในวงศ์ปลาเสือดำ (Nandidae) มีรูปร่างคล้ายปลากะพงทั่วไป แต่มีส่วนหน้ายื่นยาวกว่า ปากกว้างสามารถยืดออกไปได้มาก ลำตัวมีลายสีด่างคล้ำ เนื่องจากต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม มีลายพาดสีดำที่ลูกตาไปจนถึงโคนครีบหลัง กลางหัวมีแถบสีจาง ครีบสีคล้ำ ครีบก้นใสและมีจุดสีคล้ำ มีความยาวประมาณ 6 เซนติเมตร-10 เซนติเมตร

เป็นปลาที่เพิ่งถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1996 มักอาศัยอยู่นิ่ง ๆ ตามใบไม้ใต้น้ำหรือกองหินเพื่อดักล่าเหยื่อที่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลาขนาดเล็ก และแมลง พบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำหนาแน่นในภาคกลางและภาคอีสานของประเทศ

เป็นปลาที่มักตายอยู่บ่อย ๆ เมื่อจับขึ้นมาพ้นน้ำ หรือขี้ตื่นตกใจ จึงได้ชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาเสียจิต" หรือ "ปลาบ่มีจิต" ที่นครสวรรค์นิยมเรียกว่า "ปลาเสือปรือ" หรือ "ปลาเสือดำ"

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งมีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาเสือลายเมฆ" [1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาน้ำจืด. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2547. 195 หน้า. หน้า 44. ISBN 9744841486

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]